คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานผลการดำเนินการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (พม่า ลาว และกัมพูชา) ตามนโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบของ 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง และกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมส่งเสริมบริการสุขภาพ จากการรวบรวมข้อมูลโดยศูนย์ปฏิบัติการจัดระบบการทำงานของคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา (ศจต.) ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม -11 ตุลาคม 2547 โดยสรุป ดังนี้
1. ผลการดำเนินการจดทะเบียนนายจ้างและคนต่างด้าวเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2547
1) กรณีนายจ้างพาคนต่างด้าวไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนนายจ้างกับกรมการจัดหางาน (1) นายจ้างที่มาขอจดทะเบียน จำนวน 13,730 คน (2) คนต่างด้าวที่นายจ้างพาไปจดทะเบียนไว้แล้ว จำนวน 82,819 คน
2) กรณีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2546 และใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 25 กันยายน 2547 แต่คนต่างด้าวไม่ได้ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือนายจ้างไม่ได้จดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน (1) น่ายจ้างที่มาขอจดทะเบียน จำนวน 1,447 คน (2) คนต่างด้าวที่มาขอจดทะเบียน (ยื่นแบบ ท.ต. 1) จำนวน 4,499 คน
2. ผลการจดทะเบียนนายจ้าง (Demand Side or Labour Demand) และจดทะเบียนคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา (Supply Side) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2547
1) ผลการจดทะเบียนนายจ้าง (Demand Side or Labour Demand) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 ระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2547 และวันที่ 14 กันยายน 2547 ระหว่างวันที่ 14-25 กันยายน 2547 มีนายจ้างรวมทั้งสิ้น 246,553 ราย มาขอจดทะเบียนและแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Labour Demand) รวมทั้งสิ้น 1,591,222 คน จำแนกเป็นสัญชาติพม่ามากที่สุด 1,130,303 คน (71%) รองลงมาเป็นสัญชาติกัมพูชา 244,744 คน (15%) และสัญชาติลาว 216,175 คน (14%) ตามลำดับ
2) ผลการจดทะเบียนคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา (Supply Side) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 (ระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2547) และวันที่ 14 กันยายน 2547 (ระหว่างวันที่ 1425 กันยายน 2547) มีคนต่างด้าวฯ ยื่นขอจดทะเบียน (Supply Side) ทั้งสิ้น 1,273,573 คน คิดเป็น 80% ของความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จำแนกเป็นสัญชาติพม่ามากที่สุด 909,161 คน (71.4%) รองลงมาเป็นสัญชาติกัมพูชา 182,405 คน (14.3%) และสัญชาติลาว 182,007 คน (14.3%) ตามลำดับ
ในจำนวนนี้เป็นคนต่างด้าว ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด - 14 ปี ประมาณ 86,603 คน คิดเป็น 6.8% และคนต่างด้าวที่มีอายุอยู่ในวัยทำงาน 15 ปีขึ้นไป (Labour Supply) ประมาณ 1,186,970 คน คิดเป็น 93.2% ของคนต่างด้าวที่มาจดทะเบียน (Supply Side) หรือคิดเป็น 74.6% ของความต้องการจ้างแรงงาน (Labour Demand)
3. ผลการดำเนินการภายหลังการจดทะเบียนนายจ้างและจดทะเบียนคนต่างด้าวฯ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 11 ตุลาคม 2547 สรุปรายกิจกรรมได้ ดังนี้
1) การพิจารณาจัดสรรจำนวนการจ้างแรงงานต่างด้าว (Quota) ดำเนินการโดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน มีผลการดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้
(1) นายจ้างได้รับแจ้งผลการพิจารณาจัดสรรจำนวนที่อนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าว (Quota) แล้วจำนวน 226,182 ราย (91.7%) จากนายจ้างที่จดทะเบียนไว้ทั้งสิ้น 246,553 ราย คงเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ 20,371 ราย (8.3%)
(2) แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการจัดสรรให้นายจ้างแล้ว จำนวน 1,384,013 คน (87.0%) จากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างแจ้งความต้องการจ้างทั้งสิ้นจำนวน 1,591,222 คน คงเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ 207,209 คน (13.0%)
2) การจัดทำประวัติคนต่างด้าว ดำเนินการโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีการดำเนินการถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ และออกเอกสารรับรองทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) ให้แก่คนต่างด้าวแล้วจำนวน 1,131,616 คน (89.2%) จากจำนวนคนต่างด้าวที่มาจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,269,074 คน
3) การตรวจโรคและการประกันสุขภาพ โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มีผลการดำเนินการตรวจโรคและการประกันสุขภาพให้แก่คนต่างด้าวแล้ว จำนวน 364,369 คน คิดเป็น 32.2% ของจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับเอกสารรับรองทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) แล้วทั้งสิ้น 1,131,616 คน
4) การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (Work Permit) โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน มีนายจ้างจำนวน 73,845 ราย และคนต่างด้าวได้รับการพิจารณาอนุญาตให้ทำงานแล้วจำนวน 231,342 คน คิดเป็น 63.5% ของจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจโรคและการประกันสุขภาพแล้วทั้งสิ้น 364,369 คน
4. ปัญหาของการดำเนินการ
1) ปัญหาจากหน่วยงานของรัฐ
(1) การมอบอำนาจจากส่วนกลางให้จังหวัดพิจารณาจัดสรรจำนวน (โควตา)
ประเด็นปัญหา บางจังหวัดได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการจ้างแรงงานต่างด้าว ทำให้นายจ้างที่มีความพร้อมในการนำแรงงานต่างด้าวมาขอรับใบอนุญาตทำงานไม่ได้รับการจัดสรรจำนวน (โควตา) หรือได้รับการจัดสรรจำนวน (โควตา) คนต่างด้าวเพียงบางส่วนไม่สามารถนำคนต่างด้าวมาขอใบอนุญาตทำงานได้ตามจำนวนแจ้งไว้
แนวทางการแก้ไข ได้แจ้งให้จังหวัดทบทวนหลักเกณฑ์ในการจัดสรรจำนวน(โควตา) ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงแล้ว ขณะนี้ จังหวัดได้ดำเนินการทบทวนหลักเกณฑ์ในการจัดสรรจำนวน (โควตา) แล้ว เช่น จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
(3) การพิมพ์ลายนิ้วมือของตำรวจล่าช้า
ประเด็นปัญหา เนื่องจากในแต่ละวันมีคนต่างด้าวมาถ่ายรูปจำนวนมาก แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด และบางแห่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มาดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือ ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น ทำให้นายจ้างต้องเสียเวลาในการนำแรงงานต่างด้าวไปพิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานีตำรวจ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ
แนวทางการแก้ไข กรมการจัดหางานได้ซักซ้อมความเข้าใจในขั้นตอนการจดทะเบียนคนต่างด้าวปี 2547 ให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้ว
2) ปัญหาจากนายจ้าง
ประเด็นปัญหา นายจ้างไม่นำแรงงานต่างด้าวไปขอรับใบอนุญาตทำงาน เนื่องจากต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องการเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานเต็มจำนวน 1 ปี เป็นเงิน1,800 บาท จึงหลีกเลี่ยงลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าวโดยไม่ขอใบอนุญาตทำงานไปพลางก่อน รอจนใกล้ถึงวันสิ้นสุดการอนุญาต คือ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 จึงจะนำแรงงานต่างด้าวไปขอรับใบอนุญาตทำงาน ทำให้เหลือเวลาการอนุญาตน้อยลงมีผลให้การจ่ายเงินค่าธรรมเนียมลดลงไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตลอดทั้งปี
แนวทางแก้ไข คณะอนุกรรมการปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงาน จะดำเนินการ กวดขัน จับกุม และดำเนินคดี กับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ไม่มาขอรับใบอนุญาตอย่างจริงจังโดยเฉพาะช่วงหลังวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 จะดำเนินการอย่างเข้มข้น
5. ความก้าวหน้าในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU)
1) ประเทศลาว เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 เจ้าหน้าที่ไทยได้ประชุมกับเจ้าหน้าที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตกลงกันว่าการพิสูจน์สัญชาติฝ่ายลาวจะจัดเจ้าหน้าที่เดินทางเข้ามาสัมภาษณ์แรงงานลาวในประเทศไทย มีการกำหนดขั้นตอน ระยะเวลา การจัดเตรียมเอกสาร แบบฟอร์มสำหรับการพิสูจน์สัญชาติ จะเริ่มทดลองที่กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2547 โดยฝ่ายลาวขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการเป็นเวลา 3 เดือน จำนวน 4,267,281 บาท หลังจากนั้นฝ่ายลาวจะนำเงินค่าธรรมเนียมที่เก็บได้มาใช้จ่ายในการดำเนินการต่อไป
2) ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 26 ตุลาคม 2547 จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และในวันที่ 27 ตุลาคม 2547 จะประชุมระดับรัฐมนตรี ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการ
3) ประเทศพม่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังติดต่อประสานงาน และในวันที่ 22 ตุลาคม 2547 เจ้าหน้าที่สถานทูตพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือรายละเอียดในการปฏิบัติ
6. การอนุญาตให้เข้ามาทำงานแบบมาเช้า-กลับเย็น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดของเอกสารที่จะใช้และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้มีการดำเนินการที่ถูกต้องและสอดคล้องกับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ผลการดำเนินการจดทะเบียนนายจ้างและคนต่างด้าวเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2547
1) กรณีนายจ้างพาคนต่างด้าวไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนนายจ้างกับกรมการจัดหางาน (1) นายจ้างที่มาขอจดทะเบียน จำนวน 13,730 คน (2) คนต่างด้าวที่นายจ้างพาไปจดทะเบียนไว้แล้ว จำนวน 82,819 คน
2) กรณีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2546 และใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 25 กันยายน 2547 แต่คนต่างด้าวไม่ได้ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือนายจ้างไม่ได้จดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน (1) น่ายจ้างที่มาขอจดทะเบียน จำนวน 1,447 คน (2) คนต่างด้าวที่มาขอจดทะเบียน (ยื่นแบบ ท.ต. 1) จำนวน 4,499 คน
2. ผลการจดทะเบียนนายจ้าง (Demand Side or Labour Demand) และจดทะเบียนคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา (Supply Side) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2547
1) ผลการจดทะเบียนนายจ้าง (Demand Side or Labour Demand) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 ระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2547 และวันที่ 14 กันยายน 2547 ระหว่างวันที่ 14-25 กันยายน 2547 มีนายจ้างรวมทั้งสิ้น 246,553 ราย มาขอจดทะเบียนและแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Labour Demand) รวมทั้งสิ้น 1,591,222 คน จำแนกเป็นสัญชาติพม่ามากที่สุด 1,130,303 คน (71%) รองลงมาเป็นสัญชาติกัมพูชา 244,744 คน (15%) และสัญชาติลาว 216,175 คน (14%) ตามลำดับ
2) ผลการจดทะเบียนคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา (Supply Side) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 (ระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2547) และวันที่ 14 กันยายน 2547 (ระหว่างวันที่ 1425 กันยายน 2547) มีคนต่างด้าวฯ ยื่นขอจดทะเบียน (Supply Side) ทั้งสิ้น 1,273,573 คน คิดเป็น 80% ของความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จำแนกเป็นสัญชาติพม่ามากที่สุด 909,161 คน (71.4%) รองลงมาเป็นสัญชาติกัมพูชา 182,405 คน (14.3%) และสัญชาติลาว 182,007 คน (14.3%) ตามลำดับ
ในจำนวนนี้เป็นคนต่างด้าว ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด - 14 ปี ประมาณ 86,603 คน คิดเป็น 6.8% และคนต่างด้าวที่มีอายุอยู่ในวัยทำงาน 15 ปีขึ้นไป (Labour Supply) ประมาณ 1,186,970 คน คิดเป็น 93.2% ของคนต่างด้าวที่มาจดทะเบียน (Supply Side) หรือคิดเป็น 74.6% ของความต้องการจ้างแรงงาน (Labour Demand)
3. ผลการดำเนินการภายหลังการจดทะเบียนนายจ้างและจดทะเบียนคนต่างด้าวฯ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 11 ตุลาคม 2547 สรุปรายกิจกรรมได้ ดังนี้
1) การพิจารณาจัดสรรจำนวนการจ้างแรงงานต่างด้าว (Quota) ดำเนินการโดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน มีผลการดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้
(1) นายจ้างได้รับแจ้งผลการพิจารณาจัดสรรจำนวนที่อนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าว (Quota) แล้วจำนวน 226,182 ราย (91.7%) จากนายจ้างที่จดทะเบียนไว้ทั้งสิ้น 246,553 ราย คงเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ 20,371 ราย (8.3%)
(2) แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการจัดสรรให้นายจ้างแล้ว จำนวน 1,384,013 คน (87.0%) จากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างแจ้งความต้องการจ้างทั้งสิ้นจำนวน 1,591,222 คน คงเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ 207,209 คน (13.0%)
2) การจัดทำประวัติคนต่างด้าว ดำเนินการโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีการดำเนินการถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ และออกเอกสารรับรองทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) ให้แก่คนต่างด้าวแล้วจำนวน 1,131,616 คน (89.2%) จากจำนวนคนต่างด้าวที่มาจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,269,074 คน
3) การตรวจโรคและการประกันสุขภาพ โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มีผลการดำเนินการตรวจโรคและการประกันสุขภาพให้แก่คนต่างด้าวแล้ว จำนวน 364,369 คน คิดเป็น 32.2% ของจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับเอกสารรับรองทะเบียนประวัติ (ทร.38/1) แล้วทั้งสิ้น 1,131,616 คน
4) การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (Work Permit) โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน มีนายจ้างจำนวน 73,845 ราย และคนต่างด้าวได้รับการพิจารณาอนุญาตให้ทำงานแล้วจำนวน 231,342 คน คิดเป็น 63.5% ของจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจโรคและการประกันสุขภาพแล้วทั้งสิ้น 364,369 คน
4. ปัญหาของการดำเนินการ
1) ปัญหาจากหน่วยงานของรัฐ
(1) การมอบอำนาจจากส่วนกลางให้จังหวัดพิจารณาจัดสรรจำนวน (โควตา)
ประเด็นปัญหา บางจังหวัดได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการจ้างแรงงานต่างด้าว ทำให้นายจ้างที่มีความพร้อมในการนำแรงงานต่างด้าวมาขอรับใบอนุญาตทำงานไม่ได้รับการจัดสรรจำนวน (โควตา) หรือได้รับการจัดสรรจำนวน (โควตา) คนต่างด้าวเพียงบางส่วนไม่สามารถนำคนต่างด้าวมาขอใบอนุญาตทำงานได้ตามจำนวนแจ้งไว้
แนวทางการแก้ไข ได้แจ้งให้จังหวัดทบทวนหลักเกณฑ์ในการจัดสรรจำนวน(โควตา) ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงแล้ว ขณะนี้ จังหวัดได้ดำเนินการทบทวนหลักเกณฑ์ในการจัดสรรจำนวน (โควตา) แล้ว เช่น จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
(3) การพิมพ์ลายนิ้วมือของตำรวจล่าช้า
ประเด็นปัญหา เนื่องจากในแต่ละวันมีคนต่างด้าวมาถ่ายรูปจำนวนมาก แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด และบางแห่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มาดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือ ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/สำนักทะเบียนท้องถิ่น ทำให้นายจ้างต้องเสียเวลาในการนำแรงงานต่างด้าวไปพิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานีตำรวจ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ
แนวทางการแก้ไข กรมการจัดหางานได้ซักซ้อมความเข้าใจในขั้นตอนการจดทะเบียนคนต่างด้าวปี 2547 ให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้ว
2) ปัญหาจากนายจ้าง
ประเด็นปัญหา นายจ้างไม่นำแรงงานต่างด้าวไปขอรับใบอนุญาตทำงาน เนื่องจากต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องการเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานเต็มจำนวน 1 ปี เป็นเงิน1,800 บาท จึงหลีกเลี่ยงลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าวโดยไม่ขอใบอนุญาตทำงานไปพลางก่อน รอจนใกล้ถึงวันสิ้นสุดการอนุญาต คือ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 จึงจะนำแรงงานต่างด้าวไปขอรับใบอนุญาตทำงาน ทำให้เหลือเวลาการอนุญาตน้อยลงมีผลให้การจ่ายเงินค่าธรรมเนียมลดลงไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตลอดทั้งปี
แนวทางแก้ไข คณะอนุกรรมการปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงาน จะดำเนินการ กวดขัน จับกุม และดำเนินคดี กับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ไม่มาขอรับใบอนุญาตอย่างจริงจังโดยเฉพาะช่วงหลังวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 จะดำเนินการอย่างเข้มข้น
5. ความก้าวหน้าในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU)
1) ประเทศลาว เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 เจ้าหน้าที่ไทยได้ประชุมกับเจ้าหน้าที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตกลงกันว่าการพิสูจน์สัญชาติฝ่ายลาวจะจัดเจ้าหน้าที่เดินทางเข้ามาสัมภาษณ์แรงงานลาวในประเทศไทย มีการกำหนดขั้นตอน ระยะเวลา การจัดเตรียมเอกสาร แบบฟอร์มสำหรับการพิสูจน์สัญชาติ จะเริ่มทดลองที่กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2547 โดยฝ่ายลาวขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการเป็นเวลา 3 เดือน จำนวน 4,267,281 บาท หลังจากนั้นฝ่ายลาวจะนำเงินค่าธรรมเนียมที่เก็บได้มาใช้จ่ายในการดำเนินการต่อไป
2) ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 26 ตุลาคม 2547 จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และในวันที่ 27 ตุลาคม 2547 จะประชุมระดับรัฐมนตรี ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการ
3) ประเทศพม่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังติดต่อประสานงาน และในวันที่ 22 ตุลาคม 2547 เจ้าหน้าที่สถานทูตพม่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือรายละเอียดในการปฏิบัติ
6. การอนุญาตให้เข้ามาทำงานแบบมาเช้า-กลับเย็น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดของเอกสารที่จะใช้และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้มีการดำเนินการที่ถูกต้องและสอดคล้องกับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-