คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและสถานการณ์โรคไข้หวัดนกตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกเสนอและอนุมัติในหลักการให้ขยายกลุ่มเป้าหมายที่จะให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมครบวงจร รวมทั้งให้ขยายวงเงินและระยะเวลาการดำเนินการให้ความช่วยเหลือออกไปได้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและข้อเท็จจริง
ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ครั้งที่ 18/2547 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2547 สรุปสถานการณ์ล่าสุด ดังนี้
1. ในสัตว์ปีก ระหว่างวันที่ 1-16 ตุลาคม 2547 มีจำนวนตำบลที่เฝ้าระวังโรค จำนวน 642 ตำบลใน 53 จังหวัด เป็นพื้นที่พบโรคและอยู่ระหว่างการควบคุมโรค 188 ตำบล ใน 37 จังหวัด
2. ในคน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 17 ตุลาคม 2547 ยังไม่พบมีผู้ป่วยเพิ่มแต่อย่างใด (มีผู้ป่วยยืนยัน 4 ราย เสียชีวิต 3 ราย จากจังหวัดปราจีนบุรี 1 ราย . กำแพงเพชร 2 ราย และเพชรบูรณ์ 1 ราย)
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อเสนอจากคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ เรื่องกรอบระยะเวลาในการปรับวิธีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ซึ่งมีหัวข้อพิจารณา ดังนี้
1. จากการศึกษาทาง GIS แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งมีความสัมพันธ์กับพื้นที่การเกิดโรคในสัตว์ปีกและในคน
2. มีความเป็นไปได้สูงที่เป็ดไล่ทุ่งจะเป็นพาหนะนำโรคจากนกอพยพมาสู่ปศุสัตว์ เนื่องจากมีโอกาสสัมผัสกับนกธรรมชาติ เช่น ใช้แหล่งน้ำร่วมกัน
3. การศึกษานกเป็ดน้ำทางตอนใต้ของจีนพบว่าเชื้อไข้หวัดนกจะพบสูงสุดในช่วงเดือนธ.ค.- ม.ค ของทุกปี
4. การเลี้ยงเป็ดแบบไล่ทุ่งจึงควรปรับเข้าระบบการเลี้ยงระบบฟาร์มทั้งหมดภายใน 3 เดือน ก่อนที่จะเป็นระยะเสี่ยงที่สุดเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกปศุสัตว์
ทั้งนี้ จากการพิจารณาคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์สำรวจข้อมูลการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งให้ชัดเจนรวมทั้งให้คิดแผนการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการปรับระบบการเลี้ยง และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิชาการศึกษาระยะเวลาในการอนุโลมให้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเพื่อความปลอดภัย โดยกรมปศุสัตว์ต้องพิจารณาศึกษาระยะเวลาในการอนุโลมให้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งใหม่โดยอนุโลมให้ ภายใน 3-4 เดือน แต่ไม่ควรเกินเดือนธันวาคม 2547 เพราะถ้านานกว่านี้อาจจะไม่สามารถควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกได้ ทั้งนี้ ให้มีการปรับระบบการเลี้ยงให้เร็วที่สุด
การพิจารณาร่างกรอบแผนยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก พ.ศ. 2547-2552 ซึ่งเสนอโดยคณะทำงานพัฒนายุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ทั้งนี้ เพื่อลดจำนวนพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนกและการป่วยตายของประชาชนลงครึ่งหนึ่งในแต่ละปีจนไม่มีการระบาดอีก ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การจัดการและการใช้ความรู้เรื่องไข้หวัดนก
2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคลากร
3. ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมเมื่อเกิดการระบาดของโรค
4. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและธุรกิจ
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการระบบปศุสัตว์ที่ปลอดโรคโดยให้คณะทำงานฯ รับทราบข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการฯ และนำไปจัดทำรายละเอียดมานำเสนอต่อไป
คณะกรรมการได้พิจารณาแผนปฏิบัติการป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่าจำนวนพวกนก ซึ่งเสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้เสนอยุทธศาสตร์ 3 ระยะ ในการติดตามเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 (ระยะสั้น) มีการตรวจค้นหาเชื้อโรคไข้หวัดนกในนกประจำถิ่น นกอพยพและนกสวยดำเนินการกับนกทุ่ง นกน้ำ นกลุยน้ำ นกบ้าน นกในเมือง นกสวยงาม นกป่า ฟาร์มนกเลี้ยง ตลาดค้านก และสวนสัตว์
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 (ระยะกลาง) ติดตามเฝ้าระวังเชื้อโรคไข้หวัดนกในนกธรรมชาติ และสร้างฐานข้อมูลเส้นทางนกอพยพ
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 (แผนระยะยาว) การวิจัยและพัฒนาการตรวจสอบและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกในธรรมชาติและนกเลี้ยงสวยงาม
โดยคณะกรรมการฯ ให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเฝ้าระวังและตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่ากับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และต้องไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงบประมาณสามารถพิจารณางบประมาณได้อย่างรวดเร็ว และการดำเนินงานต้องใช้หลักทางสถิติในการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลน่าเชื่อถือ และใช้อ้างอิงได้โดยในการนี้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านวิชาการไปหารือ รวมทั้งเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาแล้วนำเสนอคณะกรรมการฯ ต่อไป
คณะกรรมการฯ รับทราบรายงานของกระทรวงสาธารณสุขว่าในวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2547 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ WHO จัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคเพื่อความร่วมมือและวางแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ในโอกาสนี้จะได้นำเสนอกรอบแผนยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกของคณะทำงานพัฒนายุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก บนเวทีดังกล่าวและขอความร่วมมือจากประเทศที่เข้าร่วมประชุม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ครั้งที่ 18/2547 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2547 สรุปสถานการณ์ล่าสุด ดังนี้
1. ในสัตว์ปีก ระหว่างวันที่ 1-16 ตุลาคม 2547 มีจำนวนตำบลที่เฝ้าระวังโรค จำนวน 642 ตำบลใน 53 จังหวัด เป็นพื้นที่พบโรคและอยู่ระหว่างการควบคุมโรค 188 ตำบล ใน 37 จังหวัด
2. ในคน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 17 ตุลาคม 2547 ยังไม่พบมีผู้ป่วยเพิ่มแต่อย่างใด (มีผู้ป่วยยืนยัน 4 ราย เสียชีวิต 3 ราย จากจังหวัดปราจีนบุรี 1 ราย . กำแพงเพชร 2 ราย และเพชรบูรณ์ 1 ราย)
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อเสนอจากคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ เรื่องกรอบระยะเวลาในการปรับวิธีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ซึ่งมีหัวข้อพิจารณา ดังนี้
1. จากการศึกษาทาง GIS แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งมีความสัมพันธ์กับพื้นที่การเกิดโรคในสัตว์ปีกและในคน
2. มีความเป็นไปได้สูงที่เป็ดไล่ทุ่งจะเป็นพาหนะนำโรคจากนกอพยพมาสู่ปศุสัตว์ เนื่องจากมีโอกาสสัมผัสกับนกธรรมชาติ เช่น ใช้แหล่งน้ำร่วมกัน
3. การศึกษานกเป็ดน้ำทางตอนใต้ของจีนพบว่าเชื้อไข้หวัดนกจะพบสูงสุดในช่วงเดือนธ.ค.- ม.ค ของทุกปี
4. การเลี้ยงเป็ดแบบไล่ทุ่งจึงควรปรับเข้าระบบการเลี้ยงระบบฟาร์มทั้งหมดภายใน 3 เดือน ก่อนที่จะเป็นระยะเสี่ยงที่สุดเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกปศุสัตว์
ทั้งนี้ จากการพิจารณาคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์สำรวจข้อมูลการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งให้ชัดเจนรวมทั้งให้คิดแผนการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการปรับระบบการเลี้ยง และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิชาการศึกษาระยะเวลาในการอนุโลมให้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเพื่อความปลอดภัย โดยกรมปศุสัตว์ต้องพิจารณาศึกษาระยะเวลาในการอนุโลมให้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งใหม่โดยอนุโลมให้ ภายใน 3-4 เดือน แต่ไม่ควรเกินเดือนธันวาคม 2547 เพราะถ้านานกว่านี้อาจจะไม่สามารถควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกได้ ทั้งนี้ ให้มีการปรับระบบการเลี้ยงให้เร็วที่สุด
การพิจารณาร่างกรอบแผนยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก พ.ศ. 2547-2552 ซึ่งเสนอโดยคณะทำงานพัฒนายุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ทั้งนี้ เพื่อลดจำนวนพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนกและการป่วยตายของประชาชนลงครึ่งหนึ่งในแต่ละปีจนไม่มีการระบาดอีก ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การจัดการและการใช้ความรู้เรื่องไข้หวัดนก
2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคลากร
3. ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมเมื่อเกิดการระบาดของโรค
4. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและธุรกิจ
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการระบบปศุสัตว์ที่ปลอดโรคโดยให้คณะทำงานฯ รับทราบข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการฯ และนำไปจัดทำรายละเอียดมานำเสนอต่อไป
คณะกรรมการได้พิจารณาแผนปฏิบัติการป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่าจำนวนพวกนก ซึ่งเสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้เสนอยุทธศาสตร์ 3 ระยะ ในการติดตามเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 (ระยะสั้น) มีการตรวจค้นหาเชื้อโรคไข้หวัดนกในนกประจำถิ่น นกอพยพและนกสวยดำเนินการกับนกทุ่ง นกน้ำ นกลุยน้ำ นกบ้าน นกในเมือง นกสวยงาม นกป่า ฟาร์มนกเลี้ยง ตลาดค้านก และสวนสัตว์
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 (ระยะกลาง) ติดตามเฝ้าระวังเชื้อโรคไข้หวัดนกในนกธรรมชาติ และสร้างฐานข้อมูลเส้นทางนกอพยพ
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 (แผนระยะยาว) การวิจัยและพัฒนาการตรวจสอบและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกในธรรมชาติและนกเลี้ยงสวยงาม
โดยคณะกรรมการฯ ให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเฝ้าระวังและตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกในสัตว์ป่ากับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และต้องไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงบประมาณสามารถพิจารณางบประมาณได้อย่างรวดเร็ว และการดำเนินงานต้องใช้หลักทางสถิติในการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลน่าเชื่อถือ และใช้อ้างอิงได้โดยในการนี้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านวิชาการไปหารือ รวมทั้งเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาแล้วนำเสนอคณะกรรมการฯ ต่อไป
คณะกรรมการฯ รับทราบรายงานของกระทรวงสาธารณสุขว่าในวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2547 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ WHO จัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคเพื่อความร่วมมือและวางแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ในโอกาสนี้จะได้นำเสนอกรอบแผนยุทธศาสตร์การป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกของคณะทำงานพัฒนายุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก บนเวทีดังกล่าวและขอความร่วมมือจากประเทศที่เข้าร่วมประชุม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-