คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้าง พื้นฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยเฉพาะในด้านความรวดเร็ว (Speed) ความเชื่อถือได้ (Reliability) ความคล่องตัว (Agility) และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานจะประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ ได้แก่
1.1 การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภูมิภาค (Regional Business Hub) มีเป้าหมายที่จะจูงใจให้ภาคธุรกิจจากต่างประเทศใช้กรุงเทพมหานครเป็นฐานการประกอบธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้สามารถเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างความทันสมัย และความสะดวกในบริการพื้นฐานสำหรับภาคธุรกิจ
1) เร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเส้นทางที่มีความพร้อมในการดำเนินงาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ให้สนับสนุนกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่เป็นลำดับแรกและอาจพิจารณาถึงความเหมาะสมในการรวมกิจการรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้อยู่ภายใต้ระบบริหารจัดการเดียวกัน (Single Management)
2) ย้ายกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการจราจร โดยเฉพาะกิจกรรมการขนส่งตู้สินค้าของ ท่าเรือกรุงเทพ โดยควรศึกษาการย้ายกิจกรรมการขนส่งทางทะเลทั้งหมดบริเวณท่าเรือกรุงเทพ ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่ธุรกิจแห่งใหม่ (New Financial District) ซึ่งจะเป็นพื้นที่ธุรกิจริมแม่น้ำแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร (waterfront Business Center)
3) เตรียมการขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานในระยะต่อไป เพื่อให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรองรับผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศยานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเป็นศูนย์กลางในการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค
1.2 การพัฒนา Transshipment Corridor มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและ สิ่งอำนวยความสะดวกเชื่อมโยงการขนส่งบนเส้นทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานคร และท่าเรือแหลมฉบัง
1.3 การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง
1) เพื่อให้ท่าเรือแหลมฉบังสามารถเป็น Transshipment Hub ของภูมิภาคจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจให้ประเทศเพื่อนบ้านใช้ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นประตูการส่งออกสินค้าทางทะเล (Gateway) ควรพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือแหลมฉบังกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และประตูการค้าชายแดนเชื่อมโยงในทิศทางเหนือ - ใต้ และตะวันออก - ตะวันตก ควบคู่กับการพัฒนาศูนย์ Logistics บนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองดังกล่าว เพื่อรวบรวม/กระจายสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า
2) พัฒนาเพิ่มมาตรฐานโครงข่ายทางหลวงชนบท และทางหลวงแผ่นดินให้เชื่อมโยงเข้าสู่ศูนย์ Logistics เพื่อรวบรวมสินค้าจากแหล่งผลิตในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมชุมชน ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าก่อนการส่งออก ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ตลอดจนให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งพิจารณามาตรการทางภาษีหรือเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อใช้ในการบำรุงรักษาโครงข่ายถนนและสะพานให้มีคุณภาพมาตรฐาน และพัฒนาเพิ่มความปลอดภัยโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดและทางหลวงชนบทที่เชื่อมโยงระหว่างชุมชน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.1 โครงข่ายรถไฟ เร่งรัดพัฒนาเพิ่มความจุของโครงข่ายรถไฟในเส้นทางที่สำคัญ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารและสินค้ากับระบบการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนพิจารณาศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบรางรถไฟขนาดมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารในอนาคต
2.2 โครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เพิ่มการลงทุนด้านโทรศัพท์พื้นฐาน Fixed Lines) ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในชนบทสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง (Universal Services) และใช้เป็นช่องทางเชื่อมต่อกับแหล่งตลาดทั้งภายในและต่างประเทศผ่านระบบ Internet
2.3 พลังงาน เร่งรัดการสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานของประเทศและพิจารณาการใช้พลังงานทางเลือกที่เหมาะสม (Fuel Option) เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งพลังงานเพียงแหล่งเดียว รวมทั้งเพิ่มการลงทุนด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศในระยะยาว รวมทั้งกำหนดมาตรการด้านการประหยัดพลังงานและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานให้แก่ประชาชน
2.4 ระบบประปา
1) เร่งรัดพัฒนาระบบประปาทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบประปาในเขตเทศบาล จำนวน 128 แห่ง และหมู่บ้าน จำนวน 14,875 แห่ง รวมทั้งมีการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนของประเทศเพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำของภาคเศรษฐกิจและครัวเรือนในอนาคต
2) สำหรับในพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญ เช่น พื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก และจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ควรเร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (ESB) เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยในระยะสั้น ควรมีการพิจารณาจัดสรรน้ำให้แก่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ในพื้นที่ตามความ จำเป็นอย่างเหมาะสม เพื่อให้น้ำเป็นปัจจัยสนับสนุนการเจริญเติบโตของพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ อาจพิจารณาก่อสร้างโครงข่ายท่อส่งน้ำดิบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นโครงการนำร่อง เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภค/บริโภค และอุตสาหกรรมในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป รวมทั้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ เช่น เกาะสมุย และเกาะพีพี เป็นต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ โดยพิจารณาใช้ระบบ Reverse Osmosis (RO) เป็นระบบเสริมในการจัดทำน้ำประปาสำหรับแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว ควบคู่ไปกับระบบประปาเดิม
2.5 การพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนของประเทศมีจำกัด และปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำของประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เมือง พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่ชนบท ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร
1) พิจารณาผันน้ำส่วนเกินจากลุ่มน้ำที่มีศักยภาพภายในประเทศ และผันน้ำส่วนเกินจากแม่น้ำนานาชาติไปยังพื้นที่ที่มีความขาดแคลนน้ำอุปโภค/บริโภค และพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจแต่มีปัญหาความขาดแคลนน้ำ และพัฒนาลำน้ำที่มีศักยภาพในธรรมชาติให้เป็นโครงข่ายน้ำ Natural Water Grid) สำหรับผันน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆ
2) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีเอกภาพ โดยเป็นองค์กรเดียวที่กำกับดูแลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบทั้งในด้านการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการด้านแหล่งน้ำ (Supply Side) การจัดสรรน้ำ (Allocation) และการบริหารจัดการโครงข่ายน้ำ (Water Grid) รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศในระยะยาว รวมทั้งปรับรูปแบบการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และนโยบายรัฐบาล
3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
3.1 ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสมกับประเภทโครงการ สถานการณ์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย โดยไม่จำกัดเฉพาะวิธีการทำประชาพิจารณ์ รวมทั้งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ ทั้งในขั้นตอนระหว่างก่อสร้างและภายหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ
3.2 ปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการทำงานร่วมกับประชาชน ตลอดจนให้ความสำคัญในการสื่อสาร (Communications) กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งประชาชนในพื้นที่ กลุ่มองค์กรเอกชน (NGOs) นักวิชาการ นักลงทุนหรือแหล่งเงินกู้โครงการ และประชาชนทั่วไป
3.3 ให้ความสำคัญในการจัดเตรียมโครงการ โดยมีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบทางสังคมและวิถีชีวิตของ ประชาชน(EIA) ที่ครบถ้วน มีการกลั่นกรองอย่างละเอียดรอบครอบ และปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส (Transparency)
3.4 จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (Thailand's Infrastructure Service) เพื่อให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับภาพรวม และในระดับพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) นโยบายการลงทุน ระเบียบ/กฎหมาย ขั้นตอนการดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกและการให้ข้อมูลแก่นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะทำให้สาธารณะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยอาจมอบหมายให้ สศช. เป็นหน่วยงานริเริ่มโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ ได้แก่
1.1 การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภูมิภาค (Regional Business Hub) มีเป้าหมายที่จะจูงใจให้ภาคธุรกิจจากต่างประเทศใช้กรุงเทพมหานครเป็นฐานการประกอบธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้สามารถเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างความทันสมัย และความสะดวกในบริการพื้นฐานสำหรับภาคธุรกิจ
1) เร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเส้นทางที่มีความพร้อมในการดำเนินงาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ให้สนับสนุนกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่เป็นลำดับแรกและอาจพิจารณาถึงความเหมาะสมในการรวมกิจการรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้อยู่ภายใต้ระบบริหารจัดการเดียวกัน (Single Management)
2) ย้ายกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการจราจร โดยเฉพาะกิจกรรมการขนส่งตู้สินค้าของ ท่าเรือกรุงเทพ โดยควรศึกษาการย้ายกิจกรรมการขนส่งทางทะเลทั้งหมดบริเวณท่าเรือกรุงเทพ ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่ธุรกิจแห่งใหม่ (New Financial District) ซึ่งจะเป็นพื้นที่ธุรกิจริมแม่น้ำแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร (waterfront Business Center)
3) เตรียมการขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานในระยะต่อไป เพื่อให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรองรับผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศยานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเป็นศูนย์กลางในการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค
1.2 การพัฒนา Transshipment Corridor มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและ สิ่งอำนวยความสะดวกเชื่อมโยงการขนส่งบนเส้นทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานคร และท่าเรือแหลมฉบัง
1.3 การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง
1) เพื่อให้ท่าเรือแหลมฉบังสามารถเป็น Transshipment Hub ของภูมิภาคจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจให้ประเทศเพื่อนบ้านใช้ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นประตูการส่งออกสินค้าทางทะเล (Gateway) ควรพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือแหลมฉบังกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และประตูการค้าชายแดนเชื่อมโยงในทิศทางเหนือ - ใต้ และตะวันออก - ตะวันตก ควบคู่กับการพัฒนาศูนย์ Logistics บนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองดังกล่าว เพื่อรวบรวม/กระจายสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า
2) พัฒนาเพิ่มมาตรฐานโครงข่ายทางหลวงชนบท และทางหลวงแผ่นดินให้เชื่อมโยงเข้าสู่ศูนย์ Logistics เพื่อรวบรวมสินค้าจากแหล่งผลิตในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมชุมชน ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าก่อนการส่งออก ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ตลอดจนให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งพิจารณามาตรการทางภาษีหรือเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อใช้ในการบำรุงรักษาโครงข่ายถนนและสะพานให้มีคุณภาพมาตรฐาน และพัฒนาเพิ่มความปลอดภัยโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดและทางหลวงชนบทที่เชื่อมโยงระหว่างชุมชน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.1 โครงข่ายรถไฟ เร่งรัดพัฒนาเพิ่มความจุของโครงข่ายรถไฟในเส้นทางที่สำคัญ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารและสินค้ากับระบบการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนพิจารณาศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบรางรถไฟขนาดมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารในอนาคต
2.2 โครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เพิ่มการลงทุนด้านโทรศัพท์พื้นฐาน Fixed Lines) ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในชนบทสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง (Universal Services) และใช้เป็นช่องทางเชื่อมต่อกับแหล่งตลาดทั้งภายในและต่างประเทศผ่านระบบ Internet
2.3 พลังงาน เร่งรัดการสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานของประเทศและพิจารณาการใช้พลังงานทางเลือกที่เหมาะสม (Fuel Option) เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งพลังงานเพียงแหล่งเดียว รวมทั้งเพิ่มการลงทุนด้านการพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศในระยะยาว รวมทั้งกำหนดมาตรการด้านการประหยัดพลังงานและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานให้แก่ประชาชน
2.4 ระบบประปา
1) เร่งรัดพัฒนาระบบประปาทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบประปาในเขตเทศบาล จำนวน 128 แห่ง และหมู่บ้าน จำนวน 14,875 แห่ง รวมทั้งมีการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนของประเทศเพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำของภาคเศรษฐกิจและครัวเรือนในอนาคต
2) สำหรับในพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญ เช่น พื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก และจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ควรเร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (ESB) เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยในระยะสั้น ควรมีการพิจารณาจัดสรรน้ำให้แก่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ในพื้นที่ตามความ จำเป็นอย่างเหมาะสม เพื่อให้น้ำเป็นปัจจัยสนับสนุนการเจริญเติบโตของพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ อาจพิจารณาก่อสร้างโครงข่ายท่อส่งน้ำดิบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นโครงการนำร่อง เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภค/บริโภค และอุตสาหกรรมในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป รวมทั้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ เช่น เกาะสมุย และเกาะพีพี เป็นต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ โดยพิจารณาใช้ระบบ Reverse Osmosis (RO) เป็นระบบเสริมในการจัดทำน้ำประปาสำหรับแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว ควบคู่ไปกับระบบประปาเดิม
2.5 การพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนของประเทศมีจำกัด และปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำของประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เมือง พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่ชนบท ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร
1) พิจารณาผันน้ำส่วนเกินจากลุ่มน้ำที่มีศักยภาพภายในประเทศ และผันน้ำส่วนเกินจากแม่น้ำนานาชาติไปยังพื้นที่ที่มีความขาดแคลนน้ำอุปโภค/บริโภค และพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจแต่มีปัญหาความขาดแคลนน้ำ และพัฒนาลำน้ำที่มีศักยภาพในธรรมชาติให้เป็นโครงข่ายน้ำ Natural Water Grid) สำหรับผันน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆ
2) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีเอกภาพ โดยเป็นองค์กรเดียวที่กำกับดูแลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบทั้งในด้านการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการด้านแหล่งน้ำ (Supply Side) การจัดสรรน้ำ (Allocation) และการบริหารจัดการโครงข่ายน้ำ (Water Grid) รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศในระยะยาว รวมทั้งปรับรูปแบบการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และนโยบายรัฐบาล
3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
3.1 ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสมกับประเภทโครงการ สถานการณ์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย โดยไม่จำกัดเฉพาะวิธีการทำประชาพิจารณ์ รวมทั้งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ ทั้งในขั้นตอนระหว่างก่อสร้างและภายหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ
3.2 ปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการทำงานร่วมกับประชาชน ตลอดจนให้ความสำคัญในการสื่อสาร (Communications) กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งประชาชนในพื้นที่ กลุ่มองค์กรเอกชน (NGOs) นักวิชาการ นักลงทุนหรือแหล่งเงินกู้โครงการ และประชาชนทั่วไป
3.3 ให้ความสำคัญในการจัดเตรียมโครงการ โดยมีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบทางสังคมและวิถีชีวิตของ ประชาชน(EIA) ที่ครบถ้วน มีการกลั่นกรองอย่างละเอียดรอบครอบ และปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส (Transparency)
3.4 จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (Thailand's Infrastructure Service) เพื่อให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับภาพรวม และในระดับพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) นโยบายการลงทุน ระเบียบ/กฎหมาย ขั้นตอนการดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกและการให้ข้อมูลแก่นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะทำให้สาธารณะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยอาจมอบหมายให้ สศช. เป็นหน่วยงานริเริ่มโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-