คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการเพื่อประโยชน์ในการผลิต การบริโภคและการป้องกันอุทกภัย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอแล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบกับยุทธศาสตร์หลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ 4 ยุทธศาสตร์ ตามที่เสนอ
2. เห็นชอบกับการมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับไปพิจารณาในรายละเอียดการปรับปรุงฟื้นฟู จัดลำดับความสำคัญและนำข้อมูลมาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ก่อนดำเนินการพัฒนาลุ่มน้ำเป็นโครงการนำร่อง 1 ลุ่มน้ำต่อไป
สำหรับเรื่องที่นำเสนอมานี้คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ในการประชุมครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 ได้มีมติเห็นชอบให้เร่งรัดจัดทำแผนบูรณาการระบบลุ่มน้ำที่สำคัญเพื่อประโยชน์ทางการผลิต การบริโภค และการป้องกันอุทกภัย ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2547 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำข้อเสนอเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ เพื่อประโยชน์ในการผลิต การบริโภค และการป้องกันอุทกภัย เสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวเพื่อใช้เป็นแนวนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการของประเทศต่อไป
สถานภาพการบริหารจัดการน้ำ
1) การบริหารจัดการน้ำของประเทศที่ผ่านมา ได้เน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เฉพาะเรื่อง และการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนด้วยการจัดหาและก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาวะชะงักงัน ละเลยการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ อีกทั้งกลไกการบริหารจัดการน้ำยังเป็นของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ขาดความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศไปในทิศทางเดียวกันจึงไม่สามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่มีหลากหลายมิติและขอบเขตกว้างขวางได้
2) สถานการณ์น้ำที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและขีดความสามารถในทางเศรษฐกิจของประเทศ และนำสู่การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ที่สำคัญประกอบด้วย
(1) ภาวะน้ำขาดแคลนและภัยแล้งขยายขอบเขตมากขึ้น จากการขยายตัวของประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการใช้น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพและไม่ประหยัด ทำให้ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 67,000 ล้าน ลบ.ม./ปี เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำที่สามารถใช้งานได้ของแหล่งเก็บกักน้ำที่มีอยู่จำนวน 51,000 ล้าน ลบ.ม. แล้ว คาดได้ว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคตจะรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ เหตุการณ์ทางธรรมชาติอันเกิดจากฝนแล้ง ทำให้พื้นที่ที่ต้องอาศัยน้ำฝนและน้ำในลำธารธรรมชาติ ต้องประสบภัยแล้งเป็นประจำทุกปี โดยมีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง จำนวนกว่า 35,800 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 55 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งในระยะ 15 ปีที่ผ่านมาภัยแล้งก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อราษฎรและความเสียหายต่อการเกษตรกรรม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะใน ปี 2542 มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท
(2) การใช้น้ำบาดาลเพิ่มขึ้น จากการไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำผิวดินเพียงพอประกอบกับการนำน้ำบาดาลมาใช้มีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำกว่าน้ำประปามาก ทำให้มีการนำน้ำบาดาลมาใช้เพิ่มขึ้น ในบางแห่งมากเกินกว่าศักยภาพตามธรรมชาติในการเติมน้ำกลับลงสู่ใต้ดิน ส่งผลกระทบทางลบจากการแทรกซึมของน้ำเค็มและการทรุดตัวของแผ่นดินติดตามมา
(3) สถานการณ์น้ำท่วมและอุทกภัยเกิดขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ภาวะน้ำท่วมเกิดขึ้นทุกปีและมีปัญหาในหลายพื้นที่มากขึ้น ในแต่ละปีเป็นมูลค่าเกินกว่า 5,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในปี 2538 ปี 2539 และ ปี 2545 มูลค่าความเสียหายมากกว่า 10,000 ล้านบาท
(4) ป่าต้นน้ำถูกบุกรุกทำลายอย่างไม่หยุดยั้ง ในระยะ 35 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าที่เคยปกคลุมครั้งหนึ่งของประเทศลดลงเหลือเพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศ ลดลงปีละ 1.7 ล้านไร่ การชะล้างพังทลายของดินมีความรุนแรง ตะกอนดินทับถมในแหล่งน้ำและลำน้ำต่าง ๆ จนตื้นเขิน ทำให้เก็บกักน้ำได้น้อยลง เสริมให้น้ำท่วมและภัยแล้งรุนแรงขึ้น โดยพื้นที่ที่ดินถูกชะล้างพังทลายในระดับรุนแรงมากว่า 15 ตัน/ตร.กม./ปี มีจำนวนกว่า 15 ล้านไร่ และส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันหรือที่สูงซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารของประเทศ
(5) คนบางกลุ่มมีการใช้น้ำอย่างขาดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรน้ำ มีการปล่อยน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในลำน้ำ ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลง เป็นอันตรายต่อคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่และผู้ใช้ประโยชน์แหล่งน้ำนั้น จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งสำคัญ พบว่า แหล่งน้ำจำนวน 1 ใน 3 มีคุณภาพต่ำการจัดการน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการเพื่อนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การทำให้ประเทศมีน้ำอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ (Supply) เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตและการอุปโภคบริโภค (Demand) พร้อมไปกับการป้องกันอุทกภัยได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสภาวะแวดล้อมในการดำรงชีวิตที่ดีของประชาชน ควรเป็นการจัดการอย่างยั่งยืน คือ การจัดการน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ ที่ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของมิติเกี่ยวกับน้ำ 3 ด้าน ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดย
1) มิตินิเวศ เป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศน้ำ เพื่อสงวนรักษาและส่งมอบน้ำต้นทุนทางธรรมชาติให้สังคมได้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค และการผลิตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงด้วยคุณภาพที่เหมาะสม
2) มิติเศรษฐกิจ จัดหาน้ำต้นทุน (Supply side management) เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างการแข่งขันของประเทศ โดยมีการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด (Demand side management) เพื่อให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
3) มิติสังคม เป็นการจัดสรร แบ่งปัน และกระจายน้ำ จากพื้นที่ที่มีน้ำมากไปสู่พื้นที่ที่มีน้ำน้อยหรือขาดแคลน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ห่างไกล แห้งแล้ง และยากจน ให้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตที่ดีมีคุณภาพยุทธศาสตร์หลักการจัดการน้ำในลุ่มน้ำที่ต้องผลักดันให้เกิดผลทางปฏิบัติ
การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ เพื่อประโยชน์ในการผลิต การบริโภค และการป้องกันอุทกภัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ จึงควรได้รับการผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ ดังนี้
1. การสร้างเสถียรภาพของน้ำต้นทุน
1) พัฒนาโครงข่ายส่งน้ำและกระจายน้ำ เพื่อผันน้ำจากพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนมากสู่พื้นที่ที่มีน้ำน้อยหรือขาดแคลน โดยให้ความสำคัญกับการกระจายน้ำให้แก่พื้นที่ที่ด้อยโอกาส พื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งซ้ำซาก และพื้นที่การผลิตที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและมีตลาดรองรับผลผลิต รวมทั้งการลดความสูญเสียน้ำในระบบส่งน้ำ
2) เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน โดยให้ความสำคัญกับการเสริมประสิทธิภาพแหล่งน้ำที่มีอยู่ให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งในการใช้พื้นที่เพื่อการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำใหม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำในประเทศเพื่อนบ้าน และการจัดซื้อน้ำดิบหากจำเป็น
3) ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ เพื่อสร้างความมั่นคงน้ำต้นทุนตามธรรมชาติ ชะลอการไหลหลากของน้ำในฤดูฝน เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าและเพิ่มน้ำในลำน้ำในหน้าแล้ง ป้องกันดินชะล้างพังทลายในพื้นที่ลาดชัน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งในลักษณะป่าคุ้มครองที่มีการฟื้นฟูความเสื่อมโทรมควบคู่ไปกับการขึ้นทะเบียนผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าเพื่อป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่าเพิ่มขึ้น และในลักษณะป่าชุมชนตามแนวขอบป่าคุ้มครองและในเขตชุมชน เพื่อให้ชุมชนและผู้ใกล้ชิดทรัพยากรป่าได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและได้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่านั้น
4) ป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงมาก เพื่อฟื้นฟูสภาพดินและป้องกันการตื้นเขินของแหล่งน้ำ
2. การพัฒนาพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำเพื่อป้องกันอุทกภัย
1) ปรับปรุงลำน้ำที่ตื้นเขินขัดขวางทางไหลของน้ำอย่างรุนแรง เพื่อช่วยให้การไหลระบายของน้ำในฤดูฝนดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำสำหรับใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง รวมทั้งวางระบบเตือนภัย
2) ฟื้นฟูหนองบึงธรรมชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มน้ำต่าง ๆ ให้สามารถรองรับน้ำท่วมได้เพิ่มขึ้น และยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้ด้วย
3) พัฒนาโครงข่ายผันน้ำท่วม เพื่อผ่องถ่ายปริมาณน้ำท่วมจากพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น และมีมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสูง ไปยังพื้นที่ที่เหมาะสมรองรับน้ำท่วม ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างอาชีพและการประกันหรือชดเชยน้ำท่วมให้แก่ราษฎรในพื้นที่รองรับน้ำท่วม
3. การพัฒนาและจัดสรรน้ำให้พื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากและด้อยโอกาสที่โครงข่ายส่งน้ำไปไม่ถึง
1) พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสม และสนับสนุนการขุดสระน้ำในไร่นาของเกษตรกร
2) นำน้ำบาดาลมาใช้ เพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเหมาะสมกับศักยภาพน้ำบาดาลของพื้นที่
4. การรักษาคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำและสร้างความตระหนักในคุณค่าน้ำ
1) ควบคุมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ในการปล่อยน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
2) เสริมสร้างให้คนในพื้นที่ลุ่มน้ำเกิดความตระหนักในคุณค่าน้ำ โดยสนับสนุนมาตรการจูงใจให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งไม่สร้างความเสียหายต่อคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบกับยุทธศาสตร์หลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ 4 ยุทธศาสตร์ ตามที่เสนอ
2. เห็นชอบกับการมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับไปพิจารณาในรายละเอียดการปรับปรุงฟื้นฟู จัดลำดับความสำคัญและนำข้อมูลมาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ก่อนดำเนินการพัฒนาลุ่มน้ำเป็นโครงการนำร่อง 1 ลุ่มน้ำต่อไป
สำหรับเรื่องที่นำเสนอมานี้คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ในการประชุมครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 ได้มีมติเห็นชอบให้เร่งรัดจัดทำแผนบูรณาการระบบลุ่มน้ำที่สำคัญเพื่อประโยชน์ทางการผลิต การบริโภค และการป้องกันอุทกภัย ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2547 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำข้อเสนอเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ เพื่อประโยชน์ในการผลิต การบริโภค และการป้องกันอุทกภัย เสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวเพื่อใช้เป็นแนวนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการของประเทศต่อไป
สถานภาพการบริหารจัดการน้ำ
1) การบริหารจัดการน้ำของประเทศที่ผ่านมา ได้เน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เฉพาะเรื่อง และการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนด้วยการจัดหาและก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาวะชะงักงัน ละเลยการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ อีกทั้งกลไกการบริหารจัดการน้ำยังเป็นของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ขาดความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศไปในทิศทางเดียวกันจึงไม่สามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่มีหลากหลายมิติและขอบเขตกว้างขวางได้
2) สถานการณ์น้ำที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและขีดความสามารถในทางเศรษฐกิจของประเทศ และนำสู่การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ที่สำคัญประกอบด้วย
(1) ภาวะน้ำขาดแคลนและภัยแล้งขยายขอบเขตมากขึ้น จากการขยายตัวของประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการใช้น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพและไม่ประหยัด ทำให้ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 67,000 ล้าน ลบ.ม./ปี เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำที่สามารถใช้งานได้ของแหล่งเก็บกักน้ำที่มีอยู่จำนวน 51,000 ล้าน ลบ.ม. แล้ว คาดได้ว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคตจะรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ เหตุการณ์ทางธรรมชาติอันเกิดจากฝนแล้ง ทำให้พื้นที่ที่ต้องอาศัยน้ำฝนและน้ำในลำธารธรรมชาติ ต้องประสบภัยแล้งเป็นประจำทุกปี โดยมีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง จำนวนกว่า 35,800 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 55 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งในระยะ 15 ปีที่ผ่านมาภัยแล้งก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อราษฎรและความเสียหายต่อการเกษตรกรรม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะใน ปี 2542 มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท
(2) การใช้น้ำบาดาลเพิ่มขึ้น จากการไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำผิวดินเพียงพอประกอบกับการนำน้ำบาดาลมาใช้มีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำกว่าน้ำประปามาก ทำให้มีการนำน้ำบาดาลมาใช้เพิ่มขึ้น ในบางแห่งมากเกินกว่าศักยภาพตามธรรมชาติในการเติมน้ำกลับลงสู่ใต้ดิน ส่งผลกระทบทางลบจากการแทรกซึมของน้ำเค็มและการทรุดตัวของแผ่นดินติดตามมา
(3) สถานการณ์น้ำท่วมและอุทกภัยเกิดขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ภาวะน้ำท่วมเกิดขึ้นทุกปีและมีปัญหาในหลายพื้นที่มากขึ้น ในแต่ละปีเป็นมูลค่าเกินกว่า 5,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในปี 2538 ปี 2539 และ ปี 2545 มูลค่าความเสียหายมากกว่า 10,000 ล้านบาท
(4) ป่าต้นน้ำถูกบุกรุกทำลายอย่างไม่หยุดยั้ง ในระยะ 35 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าที่เคยปกคลุมครั้งหนึ่งของประเทศลดลงเหลือเพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศ ลดลงปีละ 1.7 ล้านไร่ การชะล้างพังทลายของดินมีความรุนแรง ตะกอนดินทับถมในแหล่งน้ำและลำน้ำต่าง ๆ จนตื้นเขิน ทำให้เก็บกักน้ำได้น้อยลง เสริมให้น้ำท่วมและภัยแล้งรุนแรงขึ้น โดยพื้นที่ที่ดินถูกชะล้างพังทลายในระดับรุนแรงมากว่า 15 ตัน/ตร.กม./ปี มีจำนวนกว่า 15 ล้านไร่ และส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันหรือที่สูงซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารของประเทศ
(5) คนบางกลุ่มมีการใช้น้ำอย่างขาดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรน้ำ มีการปล่อยน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในลำน้ำ ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลง เป็นอันตรายต่อคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่และผู้ใช้ประโยชน์แหล่งน้ำนั้น จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งสำคัญ พบว่า แหล่งน้ำจำนวน 1 ใน 3 มีคุณภาพต่ำการจัดการน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการเพื่อนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การทำให้ประเทศมีน้ำอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ (Supply) เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตและการอุปโภคบริโภค (Demand) พร้อมไปกับการป้องกันอุทกภัยได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสภาวะแวดล้อมในการดำรงชีวิตที่ดีของประชาชน ควรเป็นการจัดการอย่างยั่งยืน คือ การจัดการน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ ที่ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของมิติเกี่ยวกับน้ำ 3 ด้าน ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดย
1) มิตินิเวศ เป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศน้ำ เพื่อสงวนรักษาและส่งมอบน้ำต้นทุนทางธรรมชาติให้สังคมได้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค และการผลิตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงด้วยคุณภาพที่เหมาะสม
2) มิติเศรษฐกิจ จัดหาน้ำต้นทุน (Supply side management) เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างการแข่งขันของประเทศ โดยมีการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด (Demand side management) เพื่อให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
3) มิติสังคม เป็นการจัดสรร แบ่งปัน และกระจายน้ำ จากพื้นที่ที่มีน้ำมากไปสู่พื้นที่ที่มีน้ำน้อยหรือขาดแคลน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ห่างไกล แห้งแล้ง และยากจน ให้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตที่ดีมีคุณภาพยุทธศาสตร์หลักการจัดการน้ำในลุ่มน้ำที่ต้องผลักดันให้เกิดผลทางปฏิบัติ
การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำแบบบูรณาการ เพื่อประโยชน์ในการผลิต การบริโภค และการป้องกันอุทกภัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ จึงควรได้รับการผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ ดังนี้
1. การสร้างเสถียรภาพของน้ำต้นทุน
1) พัฒนาโครงข่ายส่งน้ำและกระจายน้ำ เพื่อผันน้ำจากพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนมากสู่พื้นที่ที่มีน้ำน้อยหรือขาดแคลน โดยให้ความสำคัญกับการกระจายน้ำให้แก่พื้นที่ที่ด้อยโอกาส พื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งซ้ำซาก และพื้นที่การผลิตที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและมีตลาดรองรับผลผลิต รวมทั้งการลดความสูญเสียน้ำในระบบส่งน้ำ
2) เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน โดยให้ความสำคัญกับการเสริมประสิทธิภาพแหล่งน้ำที่มีอยู่ให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งในการใช้พื้นที่เพื่อการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำใหม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำในประเทศเพื่อนบ้าน และการจัดซื้อน้ำดิบหากจำเป็น
3) ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ เพื่อสร้างความมั่นคงน้ำต้นทุนตามธรรมชาติ ชะลอการไหลหลากของน้ำในฤดูฝน เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าและเพิ่มน้ำในลำน้ำในหน้าแล้ง ป้องกันดินชะล้างพังทลายในพื้นที่ลาดชัน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งในลักษณะป่าคุ้มครองที่มีการฟื้นฟูความเสื่อมโทรมควบคู่ไปกับการขึ้นทะเบียนผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าเพื่อป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่าเพิ่มขึ้น และในลักษณะป่าชุมชนตามแนวขอบป่าคุ้มครองและในเขตชุมชน เพื่อให้ชุมชนและผู้ใกล้ชิดทรัพยากรป่าได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและได้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่านั้น
4) ป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงมาก เพื่อฟื้นฟูสภาพดินและป้องกันการตื้นเขินของแหล่งน้ำ
2. การพัฒนาพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำเพื่อป้องกันอุทกภัย
1) ปรับปรุงลำน้ำที่ตื้นเขินขัดขวางทางไหลของน้ำอย่างรุนแรง เพื่อช่วยให้การไหลระบายของน้ำในฤดูฝนดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำสำหรับใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง รวมทั้งวางระบบเตือนภัย
2) ฟื้นฟูหนองบึงธรรมชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มน้ำต่าง ๆ ให้สามารถรองรับน้ำท่วมได้เพิ่มขึ้น และยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้ด้วย
3) พัฒนาโครงข่ายผันน้ำท่วม เพื่อผ่องถ่ายปริมาณน้ำท่วมจากพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น และมีมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสูง ไปยังพื้นที่ที่เหมาะสมรองรับน้ำท่วม ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างอาชีพและการประกันหรือชดเชยน้ำท่วมให้แก่ราษฎรในพื้นที่รองรับน้ำท่วม
3. การพัฒนาและจัดสรรน้ำให้พื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากและด้อยโอกาสที่โครงข่ายส่งน้ำไปไม่ถึง
1) พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสม และสนับสนุนการขุดสระน้ำในไร่นาของเกษตรกร
2) นำน้ำบาดาลมาใช้ เพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเหมาะสมกับศักยภาพน้ำบาดาลของพื้นที่
4. การรักษาคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำและสร้างความตระหนักในคุณค่าน้ำ
1) ควบคุมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ในการปล่อยน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
2) เสริมสร้างให้คนในพื้นที่ลุ่มน้ำเกิดความตระหนักในคุณค่าน้ำ โดยสนับสนุนมาตรการจูงใจให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งไม่สร้างความเสียหายต่อคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-