คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแล้วมีมติอนุมัติให้กรมวิชาการเกษตรจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 โดยใช้วงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ทั้งหมด โดยการตั้งชื่องานให้พิจารณาตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับการจัดงานด้วย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอรายงานว่า
1. คณะกรรมการบริหารของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH : International Association of Horticultural Produces) ได้มีมติอนุมัติให้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับ A2/B1 กำหนด จัดระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2549 เป็นการจัดงานระบบเดียวกันและจัดในปี 2549 เหมือนไทย การอนุมัติครั้งนี้ของ AIPH ผิดกฎเกณฑ์ (Regulation for the Organisation of International Horticultural Exhibitions) กล่าวคือ
1.1 การยื่นสมัครขอจัดงานระดับ A2 /B1 ต้องยื่นก่อนวันเปิดงานไม่น้อยกว่า 4 ปี แต่จีนยื่นก่อนเปิดงาน 3 ปี ขณะที่ไทยยื่นก่อนเปิดงานตรงตามข้อกำหนด
1.2 กรณีมีผู้เสนอขอเป็นเจ้าภาพมากกว่า 1 ประเทศในปีเดียวกัน และอยู่ในทวีปเดียวกัน เวลาของวันเปิดงานของแต่ละประเทศต้องห่างกันไม่ต่ำกว่า 3 เดือน แต่ AIPH รับข้อเสนอการขอเป็นเจ้าภาพจาก 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย (จัดในช่วง ธันวาคม 2548 - พฤษภาคม 2549) จีน (จัดในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2549) และไทย (จัดในช่วง 1 พฤศจิกายน 2549-31 มกราคม 2550)
2. การอนุมัติของ AIPH ที่ให้จีนจัดงานข้างต้น มีผลกระทบต่อการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกของไทย ทั้งที่ไทยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ AIPH กำหนดมาตลอด และการที่จีนและมาเลเซียขอจัดงานมหกรรมในระดับเดียวกับไทยเป็นเรื่องที่ทั้งสองประเทศสามารถกระทำได้ ดังนั้นเพื่อเกิดความเป็นธรรมกับไทย และเพื่อการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย จีน และมาเลเซีย ในวันที่ 23 กันยายน 2547 กรมวิชาการเกษตรจึงได้แจ้งความประสงค์ขอถอนตัวจากการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ภายใต้การรับรองของ AIPH
3. ในการถอนตัวครั้งนี้ ทาง AIPH แจ้งให้ทราบว่า กรมวิชาการเกษตรไม่สามารถใช้ชื่อ "International Horticultural Exhibition" ได้อีกต่อไปและขอยึดเงินค่าประกันการจัดงาน ร้อยละ 20 ประมาณ 2,100 ยูโร หรือ ประมาณ 110,000 บาท ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะยื่นหนังสือทักท้วงการยึดเงินประกันข้างต้นเนื่องจากการถอนตัวครั้งนี้เกิดจากความผิดพลาดของ AIPH เอง
ความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีดังนี้
1. การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 มีวัตถุประสงค์และแนวทางหลัก (Theme) ของงาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และทรงพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550 และทรงเป็นพระบิดาแห่งการเกษตรของไทย จึงจำเป็นที่ต้องจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติข้างต้น ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรประสงค์จะจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกต่อไป โดยไม่ต้องมีการรับรองการเป็นเจ้าภาพจาก AIPH
2. กรมวิชการเกษตรขอใช้ชื่อ การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกครั้งนี้ว่า "RATCHAPHRUEK 2006 : International Horticultural Exposition for His Majesty the King" โดยมีแผนการดำเนินงานดังนี้
2.1 เน้นความสำคัญการจัดงานเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะและกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชอาคันตุกะเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร เพื่อผู้เข้าร่วมแสดงจัดสรรงบประมาณเตรียมการจัดแสดงและกิจกรรมให้สมพระเกียรติ
2.2 เชิญมิตรประเทศทั่วโลกเข้าร่วมแสดงระดับ "รัฐต่อรัฐ" โดยเฉพาะประเทศที่มีสถาบันพระมหา-กษัตริย์เช่นกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนหลัก
2.3 ติดต่อองค์กรด้านพืชสวนอื่น ๆ เป็นผู้สนับสนุนการจัดงานนอกเหนือจาก AIPH พร้อมแต่งตั้งคณะที่ปรึกษานานาชาติ (Advisory Board) ในนามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อภาพลักษณ์ความเป็นงานระดับสากล
2.4 สร้างความตื่นตัวระดับประเทศโดยกระตุ้นการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกจังหวัด ทุกภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอรายงานว่า
1. คณะกรรมการบริหารของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH : International Association of Horticultural Produces) ได้มีมติอนุมัติให้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับ A2/B1 กำหนด จัดระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2549 เป็นการจัดงานระบบเดียวกันและจัดในปี 2549 เหมือนไทย การอนุมัติครั้งนี้ของ AIPH ผิดกฎเกณฑ์ (Regulation for the Organisation of International Horticultural Exhibitions) กล่าวคือ
1.1 การยื่นสมัครขอจัดงานระดับ A2 /B1 ต้องยื่นก่อนวันเปิดงานไม่น้อยกว่า 4 ปี แต่จีนยื่นก่อนเปิดงาน 3 ปี ขณะที่ไทยยื่นก่อนเปิดงานตรงตามข้อกำหนด
1.2 กรณีมีผู้เสนอขอเป็นเจ้าภาพมากกว่า 1 ประเทศในปีเดียวกัน และอยู่ในทวีปเดียวกัน เวลาของวันเปิดงานของแต่ละประเทศต้องห่างกันไม่ต่ำกว่า 3 เดือน แต่ AIPH รับข้อเสนอการขอเป็นเจ้าภาพจาก 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย (จัดในช่วง ธันวาคม 2548 - พฤษภาคม 2549) จีน (จัดในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2549) และไทย (จัดในช่วง 1 พฤศจิกายน 2549-31 มกราคม 2550)
2. การอนุมัติของ AIPH ที่ให้จีนจัดงานข้างต้น มีผลกระทบต่อการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกของไทย ทั้งที่ไทยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ AIPH กำหนดมาตลอด และการที่จีนและมาเลเซียขอจัดงานมหกรรมในระดับเดียวกับไทยเป็นเรื่องที่ทั้งสองประเทศสามารถกระทำได้ ดังนั้นเพื่อเกิดความเป็นธรรมกับไทย และเพื่อการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย จีน และมาเลเซีย ในวันที่ 23 กันยายน 2547 กรมวิชาการเกษตรจึงได้แจ้งความประสงค์ขอถอนตัวจากการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ภายใต้การรับรองของ AIPH
3. ในการถอนตัวครั้งนี้ ทาง AIPH แจ้งให้ทราบว่า กรมวิชาการเกษตรไม่สามารถใช้ชื่อ "International Horticultural Exhibition" ได้อีกต่อไปและขอยึดเงินค่าประกันการจัดงาน ร้อยละ 20 ประมาณ 2,100 ยูโร หรือ ประมาณ 110,000 บาท ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะยื่นหนังสือทักท้วงการยึดเงินประกันข้างต้นเนื่องจากการถอนตัวครั้งนี้เกิดจากความผิดพลาดของ AIPH เอง
ความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีดังนี้
1. การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 มีวัตถุประสงค์และแนวทางหลัก (Theme) ของงาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และทรงพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550 และทรงเป็นพระบิดาแห่งการเกษตรของไทย จึงจำเป็นที่ต้องจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติข้างต้น ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรประสงค์จะจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกต่อไป โดยไม่ต้องมีการรับรองการเป็นเจ้าภาพจาก AIPH
2. กรมวิชการเกษตรขอใช้ชื่อ การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกครั้งนี้ว่า "RATCHAPHRUEK 2006 : International Horticultural Exposition for His Majesty the King" โดยมีแผนการดำเนินงานดังนี้
2.1 เน้นความสำคัญการจัดงานเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะและกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชอาคันตุกะเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร เพื่อผู้เข้าร่วมแสดงจัดสรรงบประมาณเตรียมการจัดแสดงและกิจกรรมให้สมพระเกียรติ
2.2 เชิญมิตรประเทศทั่วโลกเข้าร่วมแสดงระดับ "รัฐต่อรัฐ" โดยเฉพาะประเทศที่มีสถาบันพระมหา-กษัตริย์เช่นกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุนหลัก
2.3 ติดต่อองค์กรด้านพืชสวนอื่น ๆ เป็นผู้สนับสนุนการจัดงานนอกเหนือจาก AIPH พร้อมแต่งตั้งคณะที่ปรึกษานานาชาติ (Advisory Board) ในนามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อภาพลักษณ์ความเป็นงานระดับสากล
2.4 สร้างความตื่นตัวระดับประเทศโดยกระตุ้นการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกจังหวัด ทุกภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-