คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย (Thailand Road Safety Action Plan) ตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมติที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธานกรรมการ ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
แผนดังกล่าวถูกริเริ่มจากการประชุมรัฐมนตรีการขนส่งของอาเซียน (ASEAN Transport Ministers-ATM Meeting) ในปี 2541 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้บรรจุเรื่องความปลอดภัยทางถนนไว้ใน ASEAN Successor Plan of Action in Transport 1999-2004 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนสอดรับและเป็นไปตามยุทธศาสตร์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน 5 ด้าน (5E's) คือ 1. ยุทธศาสตร์ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) 2. ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรม (Engineering) 3. ยุทธศาสตร์ด้านการให้ความรู้ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม (Public Relation, Education and Public Participation) 4. ยุทธศาสตร์ด้านการช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Medical Service : EMS) และ 5. ยุทธศาสตร์ด้านการติดตามและประเมินผล (Evaluation and Information)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
แผนดังกล่าวถูกริเริ่มจากการประชุมรัฐมนตรีการขนส่งของอาเซียน (ASEAN Transport Ministers-ATM Meeting) ในปี 2541 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้บรรจุเรื่องความปลอดภัยทางถนนไว้ใน ASEAN Successor Plan of Action in Transport 1999-2004 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนสอดรับและเป็นไปตามยุทธศาสตร์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน 5 ด้าน (5E's) คือ 1. ยุทธศาสตร์ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) 2. ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรม (Engineering) 3. ยุทธศาสตร์ด้านการให้ความรู้ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม (Public Relation, Education and Public Participation) 4. ยุทธศาสตร์ด้านการช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Medical Service : EMS) และ 5. ยุทธศาสตร์ด้านการติดตามและประเมินผล (Evaluation and Information)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 19 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-