คณะรัฐมนตรีรับทราบ ตามที่กระทรวงการคลังรายงานสรุปผลการเบิกเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ในภาพรวมทั้งปี ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 92.00 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย (1,011,500 ล้านบาท) โดยไม่รวมงบกลางที่ตั้งไว้เพื่อใช้จ่ายในงานโครงการเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและ การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท) และเห็นชอบเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนในอัตราร้อยละ 72.00 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละส่วนราชการ
2. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 เปรียบเทียบกับเป้าหมาย
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินจากคลังทั้งสิ้น 956,573 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.57 ของวงเงินงบประมาณ 1,011,500 ล้านบาท (หากไม่รวมผลกระทบจากการปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐและมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง จะทำให้อัตราเบิกจ่ายลดลงเป็นร้อยละ 92.38 ของวงเงินงบประมาณ 1,011,500 ล้านบาท)
3. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
3.1 รายจ่ายประจำ
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 830,160.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 99.89 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ 831,037.27 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนเท่ากับร้อยละ 4.12 (99.89-95.77)
3.2 รายจ่ายลงทุน
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 137,563.48 ล้านบาท หรือร้อยละ69.84 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน 196,962.73 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนเท่ากับร้อยละ 3.68 (69.84-66.16)
หากไม่รวมงบกลาง รายจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท) จะมีการเบิกจ่ายเงินจากคลังจำนวน 126,412.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.05 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน (180,462.73 ล้านบาท) ต่ำกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในอัตราร้อยละ 72.00 เท่ากับร้อยละ 1.954. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำแนกตามกระทรวง ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2547 ปรากฏว่ากระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงาน มีอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณเท่ากับ 99.32 98.00 และ 96.98 ตามลำดับ สำหรับกระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอัตราเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณเท่ากับ 61.09, 71.37 และ 78.47 ตามลำดับ
5. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เพิ่มเติม จำนวน 135,500 ล้านบาท
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เพิ่มเติมแล้วจำนวน 85,085 ล้านบาท หรือร้อยละ 62.79 ของวงเงินงบประมาณ 135,500 ล้านบาท ประกอบด้วย รายการค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจำนวน 13,733 ล้านบาท รายการค่าใช้จ่ายการปรับค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ จำนวน 11,910 ล้านบาท รายการเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ (รายการเงินบำเหน็จดำรงชีพ) จำนวน 43,307 ล้านบาท รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ จำนวน 5,146 ล้านบาท และเงินอุดหนุนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ จำนวน 10,989 ล้านบาท
6. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 ในภาพรวมจำนวน 1,163,500 ล้านบาท
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินจากคลังทั้งสิ้น 1,052,809.36 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.49 ของวงเงินงบประมาณ (1,163,500 ล้านบาท)
7. ปัญหาอุปสรรคที่มีผลต่อการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สามารถสรุปได้ดังนี้
7.1 ยกเลิกการประกวดราคา และดำเนินการประกวดราคาใหม่ เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคารายใดเสนอรายละเอียดครุภัณฑ์ได้ถูกต้องครบถ้วนตามความต้องการ ผลการประกวดราคาสูงกว่างบประมาณที่ได้รับและราคากลาง และไม่มีผู้รับจ้างเข้ายื่นซองประกวดราคา
7.2 ส่วนราชการส่วนกลางโอนจัดสรรเงินประจำงวดไปให้หน่วยงานในภูมิภาคล่าช้า
7.3 งบอุดหนุน ที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการเบิกจ่ายเงินล่าช้า เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งอยู่ระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ต้องรอเปิดประชุมสภาเพื่อจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณก่อน และมีการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจซึ่งเป็นงบลงทุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นล่าช้า เนื่องจากสำนักงบประมาณต้องรอผลงบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศก่อนจึงอนุมัติเงินประจำงวดให้
7.4 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท) และงบกลางฯ (59,000 ล้านบาท) ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ซึ่งบางโครงการต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะดำเนินการ และต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน
8. เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ดังที่กล่าวข้างต้น คณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นประธาน ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฯ เป็นประจำทุกเดือนเพื่อรวบรวมปัญหาอุปสรรคและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและมาตรการเร่งรัดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่
8.1 เร่งให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจส่วนกลางโอนจัดสรรเงินงบประมาณให้หน่วยงานในภูมิภาคโดยเร็ว เพื่อให้สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
8.2 กำชับให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งก่อหนี้ผูกพันให้ทันภายในสิ้นไตรมาสที่ 2 โดยเสนอ แนวทางการผ่อนผันการก่อหนี้ผูกพันภายหลังไตรมาสที่ 2 ให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ โดยผ่อนผันให้ก่อหนี้ผูกพันจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2547 สำหรับรายการงบอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และรายการที่อยู่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
8.3 คณะกรรมการฯ ขอความร่วมมือให้คณะกรรมการของจังหวัดที่ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด คลังจังหวัด และผู้แทนส่วนราชการในจังหวัดช่วยติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
จากผลการดำเนินการของคณะกรรมการฯ ประกอบกับกระทรวงการคลังได้รายงานผลการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบเป็นประจำทุกเดือน และรายงานภาพรวมการเบิกจ่ายเงินและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งมาตรการที่ควรดำเนินการตามที่คณะกรรมการฯ เสนอ ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือนเพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาอุปสรรคของแต่ละหน่วยงาน มีผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เป็นอัตราการเบิกจ่ายที่สูงสุดในรอบ 10 ปีงบประมาณที่ผ่านมา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 92.00 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย (1,011,500 ล้านบาท) โดยไม่รวมงบกลางที่ตั้งไว้เพื่อใช้จ่ายในงานโครงการเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและ การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท) และเห็นชอบเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนในอัตราร้อยละ 72.00 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละส่วนราชการ
2. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 เปรียบเทียบกับเป้าหมาย
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินจากคลังทั้งสิ้น 956,573 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.57 ของวงเงินงบประมาณ 1,011,500 ล้านบาท (หากไม่รวมผลกระทบจากการปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐและมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง จะทำให้อัตราเบิกจ่ายลดลงเป็นร้อยละ 92.38 ของวงเงินงบประมาณ 1,011,500 ล้านบาท)
3. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
3.1 รายจ่ายประจำ
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 830,160.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 99.89 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ 831,037.27 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนเท่ากับร้อยละ 4.12 (99.89-95.77)
3.2 รายจ่ายลงทุน
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 137,563.48 ล้านบาท หรือร้อยละ69.84 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน 196,962.73 ล้านบาท สูงกว่าอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนเท่ากับร้อยละ 3.68 (69.84-66.16)
หากไม่รวมงบกลาง รายจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท) จะมีการเบิกจ่ายเงินจากคลังจำนวน 126,412.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.05 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน (180,462.73 ล้านบาท) ต่ำกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในอัตราร้อยละ 72.00 เท่ากับร้อยละ 1.954. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำแนกตามกระทรวง ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2547 ปรากฏว่ากระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงาน มีอัตราการเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณเท่ากับ 99.32 98.00 และ 96.98 ตามลำดับ สำหรับกระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอัตราเบิกจ่ายต่อวงเงินงบประมาณเท่ากับ 61.09, 71.37 และ 78.47 ตามลำดับ
5. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เพิ่มเติม จำนวน 135,500 ล้านบาท
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เพิ่มเติมแล้วจำนวน 85,085 ล้านบาท หรือร้อยละ 62.79 ของวงเงินงบประมาณ 135,500 ล้านบาท ประกอบด้วย รายการค่าใช้จ่ายตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจำนวน 13,733 ล้านบาท รายการค่าใช้จ่ายการปรับค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ จำนวน 11,910 ล้านบาท รายการเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ (รายการเงินบำเหน็จดำรงชีพ) จำนวน 43,307 ล้านบาท รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ จำนวน 5,146 ล้านบาท และเงินอุดหนุนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ จำนวน 10,989 ล้านบาท
6. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 ในภาพรวมจำนวน 1,163,500 ล้านบาท
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินจากคลังทั้งสิ้น 1,052,809.36 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.49 ของวงเงินงบประมาณ (1,163,500 ล้านบาท)
7. ปัญหาอุปสรรคที่มีผลต่อการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สามารถสรุปได้ดังนี้
7.1 ยกเลิกการประกวดราคา และดำเนินการประกวดราคาใหม่ เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคารายใดเสนอรายละเอียดครุภัณฑ์ได้ถูกต้องครบถ้วนตามความต้องการ ผลการประกวดราคาสูงกว่างบประมาณที่ได้รับและราคากลาง และไม่มีผู้รับจ้างเข้ายื่นซองประกวดราคา
7.2 ส่วนราชการส่วนกลางโอนจัดสรรเงินประจำงวดไปให้หน่วยงานในภูมิภาคล่าช้า
7.3 งบอุดหนุน ที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการเบิกจ่ายเงินล่าช้า เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งอยู่ระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ต้องรอเปิดประชุมสภาเพื่อจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณก่อน และมีการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจซึ่งเป็นงบลงทุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นล่าช้า เนื่องจากสำนักงบประมาณต้องรอผลงบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศก่อนจึงอนุมัติเงินประจำงวดให้
7.4 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (16,500 ล้านบาท) และงบกลางฯ (59,000 ล้านบาท) ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ซึ่งบางโครงการต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะดำเนินการ และต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน
8. เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ดังที่กล่าวข้างต้น คณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นประธาน ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฯ เป็นประจำทุกเดือนเพื่อรวบรวมปัญหาอุปสรรคและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและมาตรการเร่งรัดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่
8.1 เร่งให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจส่วนกลางโอนจัดสรรเงินงบประมาณให้หน่วยงานในภูมิภาคโดยเร็ว เพื่อให้สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
8.2 กำชับให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งก่อหนี้ผูกพันให้ทันภายในสิ้นไตรมาสที่ 2 โดยเสนอ แนวทางการผ่อนผันการก่อหนี้ผูกพันภายหลังไตรมาสที่ 2 ให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ โดยผ่อนผันให้ก่อหนี้ผูกพันจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2547 สำหรับรายการงบอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และรายการที่อยู่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
8.3 คณะกรรมการฯ ขอความร่วมมือให้คณะกรรมการของจังหวัดที่ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด คลังจังหวัด และผู้แทนส่วนราชการในจังหวัดช่วยติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
จากผลการดำเนินการของคณะกรรมการฯ ประกอบกับกระทรวงการคลังได้รายงานผลการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบเป็นประจำทุกเดือน และรายงานภาพรวมการเบิกจ่ายเงินและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งมาตรการที่ควรดำเนินการตามที่คณะกรรมการฯ เสนอ ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกเดือนเพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาอุปสรรคของแต่ละหน่วยงาน มีผลให้อัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เป็นอัตราการเบิกจ่ายที่สูงสุดในรอบ 10 ปีงบประมาณที่ผ่านมา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-