คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ปรับโครงสร้างหนี้ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (RRC) ดังนี้
1. ให้บริษัทเชลล์ฯ ขายหุ้นของตนใน RRC ทั้งหมดให้กับ ปตท. และปลดภาระผูกพันของ บริษัท เชลล์ฯ ตามที่กำหนดในสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียม โดยให้ ปตท. เข้าถือสิทธิแทนและมีเงื่อนไขให้ ปตท. ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547
2. ให้ความเห็นชอบในแผนงานที่ ปตท. จะดำเนินการภายหลังที่ ปตท. ถือหุ้น RRC ร้อยละ 100 เงื่อนไขที่ ปตท. และบริษัท เชลล์ฯ จะต้องลดสัดส่วนจาก 36 : 64 เป็น 25 : 45 โดยการขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปร้อยละ 30 ดังนี้
2.1 การจำหน่ายหุ้น RRC ให้กับกลุ่มพันธมิตรทางการค้า หาก ปตท. ไม่สามารถตกลงกับพันธมิตรฯ ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ค้าตาม มาตรา 6 (ปัจจุบันเป็นมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543) ซึ่งมิได้ถือหุ้นในโรงกลั่นในประเทศไทย หรือยังไม่ได้ทำสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียมกับรัฐบาลแล้ว ก็ให้ยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว โดยให้ ปตท. สามารถจำหน่ายหุ้น RRC ให้กับพันธมิตรที่มีคุณสมบัติต่างจากเงื่อนไขที่กำหนด รวมถึงการควบรวมกิจการกับบริษัท Star Petrolium Refinally Company Limited. (SPRC) ในอนาคต
2.2 นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป
3. ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้การสนับสนุน ปตท. ในการดำเนินการดังกล่าวเพื่อประโยชน์โดยรวมต่อประเทศชาติ
กระทรวงพลังงานรายงานว่า
1. RRC ดำเนินการก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ และดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539
2. ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ RRC ซึ่งมีภาระหนี้เงินกู้ในขณะนั้นสูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประสบกับการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง และไม่มีเงินชำระคืนต้นเงินกู้ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 จนถึงปัจจุบัน รวม 5 งวด เป็นเงิน 340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. บริษัท เชลล์ฯ ได้เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ที่ค้างจำนวน 1,335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับ เจ้าหนี้เงินกู้มาประมาณ 3 ปี การร่วมเจรจาไม่บรรลุผลสำเร็จ เจ้าหนี้จึงแจ้งการผิดนัดชำระหนี้ (Loan Default) และเรียกคืนเงินกู้ทั้งจำนวน โดยพลัน (Accelerate Loan) RRC ต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เพิ่มอีกร้อยละ 1 นอกจากนั้นบริษัทในเครือบริษัท เชลล์ฯ ซึ่งเป็นผู้จัดส่งน้ำมันดิบให้กับ RRC เรียกเก็บค่าน้ำมันดิบ 2 วันล่วงหน้าก่อนวันส่งของ (2 days befor B/L date) ส่งผลให้ขาดสภาพคล่องมากขึ้น RRC จึงหยุดการเจรจากับเจ้าหนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2546
4. การผิดสัญญาเงินกู้ของ RRC ทำให้บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC) ซึ่งมีสัญญาร่วมปฏิบัติการ จะขอยกเบิกสัญญาอันอาจทำให้ RRC ต้องปิดโรงกลั่น อันจะมีผลให้เกิดภาวะไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศ และอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
5. ปตท. จึงเป็นแกนนำในการเร่งเจรจากับเจ้าหนี้เงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้ RRC สามารถดำเนินงานต่อไปอย่างราบรื่นโดยเร็ว โดยเจ้าหนี้ยินยอมรับชำระหนี้เงินกู้ของ RRC มีส่วนลดหนี้ร้อยละ 15 (ประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ทำให้ลดหนี้เงินกู้จาก 1,335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 1,135 ล้านเหรียญสหรัฐ
6. บริษัท เชลล์ฯ ได้แสดงเจตจำนง ขายหุ้นร้อยละ 64 ในส่วนของตนให้กับ ปตท. โดยบริษัท เชลล์ฯ ขอเป็นผู้รับผลิตภัณฑ์และขายน้ำมันดิบให้ RRC ผ่าน ปตท. ด้วยเงื่อนไขทางการค้าปกติ ทำให้ ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100
7. บริษัท เชลล์ฯ ขอให้ปลดภาระผูกพันทั้งหมดตามสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียม ที่มีกับกระทรวงอุตสาหกรรม (โอนมายังกระทรวงพลังงาน) โดยให้ ปตท. เข้าถือสิทธิแทนและมีเงื่อนไขให้ ปตท. ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 (90 วันหลังจากวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นวันลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่าง ปตท. และ บริษัท เชลล์ฯ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ให้บริษัทเชลล์ฯ ขายหุ้นของตนใน RRC ทั้งหมดให้กับ ปตท. และปลดภาระผูกพันของ บริษัท เชลล์ฯ ตามที่กำหนดในสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียม โดยให้ ปตท. เข้าถือสิทธิแทนและมีเงื่อนไขให้ ปตท. ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547
2. ให้ความเห็นชอบในแผนงานที่ ปตท. จะดำเนินการภายหลังที่ ปตท. ถือหุ้น RRC ร้อยละ 100 เงื่อนไขที่ ปตท. และบริษัท เชลล์ฯ จะต้องลดสัดส่วนจาก 36 : 64 เป็น 25 : 45 โดยการขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปร้อยละ 30 ดังนี้
2.1 การจำหน่ายหุ้น RRC ให้กับกลุ่มพันธมิตรทางการค้า หาก ปตท. ไม่สามารถตกลงกับพันธมิตรฯ ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ค้าตาม มาตรา 6 (ปัจจุบันเป็นมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543) ซึ่งมิได้ถือหุ้นในโรงกลั่นในประเทศไทย หรือยังไม่ได้ทำสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียมกับรัฐบาลแล้ว ก็ให้ยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว โดยให้ ปตท. สามารถจำหน่ายหุ้น RRC ให้กับพันธมิตรที่มีคุณสมบัติต่างจากเงื่อนไขที่กำหนด รวมถึงการควบรวมกิจการกับบริษัท Star Petrolium Refinally Company Limited. (SPRC) ในอนาคต
2.2 นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป
3. ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้การสนับสนุน ปตท. ในการดำเนินการดังกล่าวเพื่อประโยชน์โดยรวมต่อประเทศชาติ
กระทรวงพลังงานรายงานว่า
1. RRC ดำเนินการก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ และดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539
2. ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ RRC ซึ่งมีภาระหนี้เงินกู้ในขณะนั้นสูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประสบกับการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง และไม่มีเงินชำระคืนต้นเงินกู้ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 จนถึงปัจจุบัน รวม 5 งวด เป็นเงิน 340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. บริษัท เชลล์ฯ ได้เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ที่ค้างจำนวน 1,335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับ เจ้าหนี้เงินกู้มาประมาณ 3 ปี การร่วมเจรจาไม่บรรลุผลสำเร็จ เจ้าหนี้จึงแจ้งการผิดนัดชำระหนี้ (Loan Default) และเรียกคืนเงินกู้ทั้งจำนวน โดยพลัน (Accelerate Loan) RRC ต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เพิ่มอีกร้อยละ 1 นอกจากนั้นบริษัทในเครือบริษัท เชลล์ฯ ซึ่งเป็นผู้จัดส่งน้ำมันดิบให้กับ RRC เรียกเก็บค่าน้ำมันดิบ 2 วันล่วงหน้าก่อนวันส่งของ (2 days befor B/L date) ส่งผลให้ขาดสภาพคล่องมากขึ้น RRC จึงหยุดการเจรจากับเจ้าหนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2546
4. การผิดสัญญาเงินกู้ของ RRC ทำให้บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC) ซึ่งมีสัญญาร่วมปฏิบัติการ จะขอยกเบิกสัญญาอันอาจทำให้ RRC ต้องปิดโรงกลั่น อันจะมีผลให้เกิดภาวะไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศ และอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
5. ปตท. จึงเป็นแกนนำในการเร่งเจรจากับเจ้าหนี้เงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้ RRC สามารถดำเนินงานต่อไปอย่างราบรื่นโดยเร็ว โดยเจ้าหนี้ยินยอมรับชำระหนี้เงินกู้ของ RRC มีส่วนลดหนี้ร้อยละ 15 (ประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ทำให้ลดหนี้เงินกู้จาก 1,335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 1,135 ล้านเหรียญสหรัฐ
6. บริษัท เชลล์ฯ ได้แสดงเจตจำนง ขายหุ้นร้อยละ 64 ในส่วนของตนให้กับ ปตท. โดยบริษัท เชลล์ฯ ขอเป็นผู้รับผลิตภัณฑ์และขายน้ำมันดิบให้ RRC ผ่าน ปตท. ด้วยเงื่อนไขทางการค้าปกติ ทำให้ ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100
7. บริษัท เชลล์ฯ ขอให้ปลดภาระผูกพันทั้งหมดตามสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียม ที่มีกับกระทรวงอุตสาหกรรม (โอนมายังกระทรวงพลังงาน) โดยให้ ปตท. เข้าถือสิทธิแทนและมีเงื่อนไขให้ ปตท. ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 (90 วันหลังจากวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นวันลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่าง ปตท. และ บริษัท เชลล์ฯ)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-