คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำรายงานสรุปสถานการณ์คุรภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง ป่าสัก บางปะกง ประแสร์ ระยอง ลำตะคอง มูล ชี นครนายก จันทบุรี พังราด และตราด สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์คุณภาพน้ำ
1. แม่น้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก หรืออยู่ในภาวะวิกฤติ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง และแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง โดยตรวจพบค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) เฉลี่ยน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) เฉลี่ยแล้วสูงถึง 4 มิลลิกรัมต่อลิตร การปนเปื้อนของแบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์มพบสูงมากถึง 200,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร (หน่วย) และปริมาณแอมโมเนียมีค่าสูงกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อเทียบกับมารฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินแล้ว ถือได้ว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานประเภทที่ 4 เพื่อใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดให้ค่า DO มีค่าไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า BOD ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าแอมโมเนียไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
2. แม่น้ำที่มีคุณภาพเสื่อมโทรม ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำประแสร์ แม่น้ำระยอง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนตอนกลาง และแม่น้ำลำตะคองตอนบน เนื่องจากปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์มสูง พบเฉลี่ยถึง 10,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร (หน่วย) ส่วนค่าออกซิเจนละลายน้ำเฉลี่ยแล้วสูงกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์เฉลี่ยไม่มากกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร
3. คุณภาพน้ำที่จัดอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำมูล แม่น้ำนครนายก แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำพังราด แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนตอนบน เนื่องจากค่าออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์และการปนเปื้อนของแบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์ม เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานประเภทที่ 3 เพื่อใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร คือ ออกซิเจนละลายน้ำมากกว่าหรือเท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และแบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์มรวมไม่เกิน 20,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร
4. แม่น้ำที่จัดว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ แม่น้ำชีและแม่น้ำตราด โดยตรวจพบค่าออกซิเจนละละลายน้ำเฉลี่ยสูงกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ต่ำกว่า 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร การปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียชนิดรวมไม่เกินกว่า 5,000 หน่วย
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ 48 สาย และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แหล่ง ซึ่งสรุปคุณภาพน้ำแม่น้ำแบ่งตามภาคต่าง ๆ ได้ดังนี้
ตารางแสดงคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศไทย รอบ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย. 2547)
เกณฑ์คุณภาพ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก ภาคใต้ ร้อยละของ
น้ำ เฉียงเหนือ แหล่งน้ำ
ทั้งหมด
ดี ปิง ยม กก แควน้อย สะแก เวฬุ ตราด มูล พอง อูน ปัตตานีตอน 48
(ใช้ประโยชน์ อิง แม่จาง กรัง ปราณบุรี เสียว สงคราม บน สายบุรี
ในการอุปโภค บึงบอระเพ็ด กุยบุรี ลำชี หนองหาน ตาปีตอนบน
บริโภค การ ลำปาว ทะเลหลวง
อนุรักษ์สัตว์น้ำ ทะเลน้อย
การประมง พุมดวง ตรัง
การว่ายน้ำ)
_________________________________________________________________________________________
พอใช้ วัง น่าน เจ้าพระยา บางปะกง ชี เลย ปากพนัง 32
(ใช้ประโยชน์ กว๊านพะเยา ตอนบน ท่าจีน ปราจีนบุรี ชุมพร
ในการอุปโภค ตอนบน นครนายก หลังสวน
บริโภค และ แควใหญ่ น้อย พังราด ปัตตานีตอน
การเกษตร) เพชรบุรีตอน จันทบุรี ล่าง
บน และตอน
ล่าง
_________________________________________________________________________________________
เสื่อมโทรม กวง เจ้าพระยา ระยอง ลำตะคอง ตาปีตอนล่าง 15
(ใช้ประโยชน์ ตอนกลาง ท่า ประแสร์ ตอนบน ทะเลสาบ
ในการอุตสา จีนตอนกลาง สงขลา
กรรม) แม่กลอง ป่าสัก
ลพบุรี
_________________________________________________________________________________________
เสื่อมโทรมมาก เจ้าพระยาตอน ลำตะคอง 5
(ใช้ประโยชน์ ล่าง ท่าจีนตอน ตอนล่าง
ในการคมนาคม) ล่าง
แนวทางการแก้ไขปัญหา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศและแผนจัดการน้ำเสียชุมชนทั่วประเทศ โดยได้รับคามเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 547 ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนดังกล่าว ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดอื่น ๆ จัดอยู่ในร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนจัดการมลพิษทางน้ำ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2547 โดยได้กำหนดมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากทุกกิจกรรม เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และคาดว่าจะผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำให้เป็นตามมาตรฐานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ทั้งนี้ ได้ส่งแบบรายงานความคืบหน้าตามมติคณะรัฐมนตรีมาด้วยแล้ว และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะรายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำแหล่งน้ำทั่วประเทศให้คณะรัฐมนตรีรับทราบในทุกรอบ 6 เดือน โดยจะรายงานครอบคลุมแหล่งน้ำในทุกภาคของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
สถานการณ์คุณภาพน้ำ
1. แม่น้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก หรืออยู่ในภาวะวิกฤติ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง และแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง โดยตรวจพบค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) เฉลี่ยน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) เฉลี่ยแล้วสูงถึง 4 มิลลิกรัมต่อลิตร การปนเปื้อนของแบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์มพบสูงมากถึง 200,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร (หน่วย) และปริมาณแอมโมเนียมีค่าสูงกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อเทียบกับมารฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินแล้ว ถือได้ว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานประเภทที่ 4 เพื่อใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดให้ค่า DO มีค่าไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า BOD ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าแอมโมเนียไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
2. แม่น้ำที่มีคุณภาพเสื่อมโทรม ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำประแสร์ แม่น้ำระยอง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนตอนกลาง และแม่น้ำลำตะคองตอนบน เนื่องจากปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์มสูง พบเฉลี่ยถึง 10,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร (หน่วย) ส่วนค่าออกซิเจนละลายน้ำเฉลี่ยแล้วสูงกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์เฉลี่ยไม่มากกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร
3. คุณภาพน้ำที่จัดอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำมูล แม่น้ำนครนายก แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำพังราด แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนตอนบน เนื่องจากค่าออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์และการปนเปื้อนของแบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์ม เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานประเภทที่ 3 เพื่อใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร คือ ออกซิเจนละลายน้ำมากกว่าหรือเท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และแบคทีเรียจำพวกโคลิฟอร์มรวมไม่เกิน 20,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร
4. แม่น้ำที่จัดว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ แม่น้ำชีและแม่น้ำตราด โดยตรวจพบค่าออกซิเจนละละลายน้ำเฉลี่ยสูงกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ต่ำกว่า 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร การปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียชนิดรวมไม่เกินกว่า 5,000 หน่วย
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ 48 สาย และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แหล่ง ซึ่งสรุปคุณภาพน้ำแม่น้ำแบ่งตามภาคต่าง ๆ ได้ดังนี้
ตารางแสดงคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศไทย รอบ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย. 2547)
เกณฑ์คุณภาพ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก ภาคใต้ ร้อยละของ
น้ำ เฉียงเหนือ แหล่งน้ำ
ทั้งหมด
ดี ปิง ยม กก แควน้อย สะแก เวฬุ ตราด มูล พอง อูน ปัตตานีตอน 48
(ใช้ประโยชน์ อิง แม่จาง กรัง ปราณบุรี เสียว สงคราม บน สายบุรี
ในการอุปโภค บึงบอระเพ็ด กุยบุรี ลำชี หนองหาน ตาปีตอนบน
บริโภค การ ลำปาว ทะเลหลวง
อนุรักษ์สัตว์น้ำ ทะเลน้อย
การประมง พุมดวง ตรัง
การว่ายน้ำ)
_________________________________________________________________________________________
พอใช้ วัง น่าน เจ้าพระยา บางปะกง ชี เลย ปากพนัง 32
(ใช้ประโยชน์ กว๊านพะเยา ตอนบน ท่าจีน ปราจีนบุรี ชุมพร
ในการอุปโภค ตอนบน นครนายก หลังสวน
บริโภค และ แควใหญ่ น้อย พังราด ปัตตานีตอน
การเกษตร) เพชรบุรีตอน จันทบุรี ล่าง
บน และตอน
ล่าง
_________________________________________________________________________________________
เสื่อมโทรม กวง เจ้าพระยา ระยอง ลำตะคอง ตาปีตอนล่าง 15
(ใช้ประโยชน์ ตอนกลาง ท่า ประแสร์ ตอนบน ทะเลสาบ
ในการอุตสา จีนตอนกลาง สงขลา
กรรม) แม่กลอง ป่าสัก
ลพบุรี
_________________________________________________________________________________________
เสื่อมโทรมมาก เจ้าพระยาตอน ลำตะคอง 5
(ใช้ประโยชน์ ล่าง ท่าจีนตอน ตอนล่าง
ในการคมนาคม) ล่าง
แนวทางการแก้ไขปัญหา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศและแผนจัดการน้ำเสียชุมชนทั่วประเทศ โดยได้รับคามเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 547 ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนดังกล่าว ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดอื่น ๆ จัดอยู่ในร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนจัดการมลพิษทางน้ำ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2547 โดยได้กำหนดมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากทุกกิจกรรม เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และคาดว่าจะผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำให้เป็นตามมาตรฐานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ทั้งนี้ ได้ส่งแบบรายงานความคืบหน้าตามมติคณะรัฐมนตรีมาด้วยแล้ว และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะรายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำแหล่งน้ำทั่วประเทศให้คณะรัฐมนตรีรับทราบในทุกรอบ 6 เดือน โดยจะรายงานครอบคลุมแหล่งน้ำในทุกภาคของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-