คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) รายงานผลความก้าวหน้าในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่คลองเตยและ กรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้
จากการประชุมศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด (ศตส.) ครั้งที่ 8/2547 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2547 ซึ่ง สำนักงาน ป.ป.ส.ได้นำเสนอแนวการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่คลองเตยและกรุงเทพมหานครในเชิงบูรณาการ ซึ่งเป็นผลสรุปจากการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมหารือเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 โดยเห็นชอบกำหนดแนวทางการปฏิบัติการ ดังนี้
การดำเนินการในพื้นที่เขตคลองเตยและกรุงเทพมหานคร ควรเป็นการบูรณาการปฏิบัติงานรวมกันทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ มีการกำหนดเป้าหมายและเจ้าภาพที่จะรับผิดชอบในแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ด้าน supply เน้นการปราบปรามโดยเด็ดขาด และให้มาตรการยึดทรัพย์สิน มาตรการปราบปรามการฟอกเงิน และมาตรการทางภาษีอากรควบคู่กันไป โดยมอบหมายให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เป็นเจ้าภาพหลักในการปฏิบัติการครั้งนี้โดย สำนักงาน ป.ป.ส. บช.ปส. ปปง. เป็นเจ้าภาพร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ และมอบหมายให้ บช.น. จัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นการดำเนินการของทุกฝ่ายบูรณาการและดำเนินการร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการต้องชัดเจน และมีเอกภาพ
2. ยุทธศาสตร์ด้าน Potential Demand เน้นไปที่การสร้างชุมชนเข้มแข็งเฝ้าระวังยาเสพติด การให้ข่าวสารของประชาชน ตลอดจนการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โดยมอบหมายให้กรุงเทพมหานครและเขตต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงแรงงาน และสำนักงาน ป.ป.ส. สนับสนุนร่วมเป็นเจ้าภาพในการปฏิบัติการครั้งนี้ และมอบหมายให้กรุงเทพมหานคร จัดทำแผนการดำเนินการร่วมกันของทุกหน่วย
3. ยุทธศาสตร์ด้าน Demand เน้นไปที่การ Re X-Ray พื้นที่ นำผู้เสพ/ผู้ติดออกมาบำบัดรักษา และให้มีการขยายผลไปถึงผู้ค้ายาเสพติด โดยมอบหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ป.ป.ส. และ บช.น. สนับสนุนร่วมเป็นเจ้าภาพ และมอบหมายให้กรุงเทพมหานคร จัดทำแผนปฏิบัติการ
4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ เน้นการปฏิบัติที่มีเอกภาพและบรรลุเป้าหมายโดย
- จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกวาดล้างยาเสพติดกรุงเทพมหานคร โดยกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ บช.น. กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม
- มีการประชุมศูนย์เป็นประจำเพื่อประเมินผลติดตามความก้าวหน้าด้านต่าง ๆ และรายงานให้ ศตส. แห่งชาติทราบเป็นประจำ
กำหนดระยะเวลาและแนวการปฏิบัติไว้ เป็น 3 ระยะได้แก่
ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2547 เป็นระยะเวลาการปราบปรามทำลายผู้ค้ายาเสพติด ควบคู่ไปกับการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2548 เป็นระยะฟื้นฟูดูแลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และขบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เป็นพลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติด
ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 เป็นระยะเวลาสถาปนาความมั่นคงปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดในพื้นที่และสร้างพลังแผ่นดิน ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน และมีระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดมิให้หวนกลับมาอีก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
จากการประชุมศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด (ศตส.) ครั้งที่ 8/2547 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2547 ซึ่ง สำนักงาน ป.ป.ส.ได้นำเสนอแนวการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่คลองเตยและกรุงเทพมหานครในเชิงบูรณาการ ซึ่งเป็นผลสรุปจากการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมหารือเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 โดยเห็นชอบกำหนดแนวทางการปฏิบัติการ ดังนี้
การดำเนินการในพื้นที่เขตคลองเตยและกรุงเทพมหานคร ควรเป็นการบูรณาการปฏิบัติงานรวมกันทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ มีการกำหนดเป้าหมายและเจ้าภาพที่จะรับผิดชอบในแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ด้าน supply เน้นการปราบปรามโดยเด็ดขาด และให้มาตรการยึดทรัพย์สิน มาตรการปราบปรามการฟอกเงิน และมาตรการทางภาษีอากรควบคู่กันไป โดยมอบหมายให้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เป็นเจ้าภาพหลักในการปฏิบัติการครั้งนี้โดย สำนักงาน ป.ป.ส. บช.ปส. ปปง. เป็นเจ้าภาพร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ และมอบหมายให้ บช.น. จัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นการดำเนินการของทุกฝ่ายบูรณาการและดำเนินการร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการต้องชัดเจน และมีเอกภาพ
2. ยุทธศาสตร์ด้าน Potential Demand เน้นไปที่การสร้างชุมชนเข้มแข็งเฝ้าระวังยาเสพติด การให้ข่าวสารของประชาชน ตลอดจนการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โดยมอบหมายให้กรุงเทพมหานครและเขตต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงแรงงาน และสำนักงาน ป.ป.ส. สนับสนุนร่วมเป็นเจ้าภาพในการปฏิบัติการครั้งนี้ และมอบหมายให้กรุงเทพมหานคร จัดทำแผนการดำเนินการร่วมกันของทุกหน่วย
3. ยุทธศาสตร์ด้าน Demand เน้นไปที่การ Re X-Ray พื้นที่ นำผู้เสพ/ผู้ติดออกมาบำบัดรักษา และให้มีการขยายผลไปถึงผู้ค้ายาเสพติด โดยมอบหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ป.ป.ส. และ บช.น. สนับสนุนร่วมเป็นเจ้าภาพ และมอบหมายให้กรุงเทพมหานคร จัดทำแผนปฏิบัติการ
4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ เน้นการปฏิบัติที่มีเอกภาพและบรรลุเป้าหมายโดย
- จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกวาดล้างยาเสพติดกรุงเทพมหานคร โดยกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ บช.น. กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม
- มีการประชุมศูนย์เป็นประจำเพื่อประเมินผลติดตามความก้าวหน้าด้านต่าง ๆ และรายงานให้ ศตส. แห่งชาติทราบเป็นประจำ
กำหนดระยะเวลาและแนวการปฏิบัติไว้ เป็น 3 ระยะได้แก่
ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2547 เป็นระยะเวลาการปราบปรามทำลายผู้ค้ายาเสพติด ควบคู่ไปกับการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2548 เป็นระยะฟื้นฟูดูแลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และขบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เป็นพลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติด
ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 เป็นระยะเวลาสถาปนาความมั่นคงปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดในพื้นที่และสร้างพลังแผ่นดิน ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน และมีระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดมิให้หวนกลับมาอีก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-