คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการแผนงาน งบประมาณ โครงการ กิจกรรม และการปฏิบัติเกี่ยวกับงานคาราวานแก้จนของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ ดังนี้
กรอบแนวทางการจัดคาราวานแก้จนของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ
1. หลักการและเหตุผล
1.1 รัฐบาลประกาศนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นวาระแห่งชาติ
1.2 ผลการจดทะเบียนผู้มีความเดือดร้อนและยากจนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 มีผู้มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 8 ล้านคนเศษ รวม 12 ล้านปัญหา
1.3 รัฐบาลกำหนดให้มีคาราวานแก้จนเพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาความยากจนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อนำบริการของรัฐทุกประเภท ที่เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนเข้าไปให้แก่ประชาชน ทั้ง ในระดับบุคคล ครัวเรือน กลุ่มและพื้นที่
2.2 เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในระดับรากหญ้าอย่างทันที
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1 X-ray เสาะหาผู้ยากจนในทุกหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง/อำเภอ/กิ่งอำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ประสานพลังแผ่นดินเข้าไปดำเนินการ
3.2 แยกแยะความต้องการของประชาชนเพื่อเตรียมการให้ความช่วยเหลือ
3.3 จัดคาราวานแก้จนลงสู่พื้นที่โดย
(1) นำปัญหาของประชาชนที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
(2) จัดกลุ่มตามความต้องการช่วยเหลือของประชาชน เช่น กลุ่มฝึกฝนอาชีพ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ต้องการหางานทำ/อาชีพเสริม เพื่อกำหนดตารางเวลานัดหมายกลุ่ม และนำเข้ารับการฝึกอบรม
(3) จัดทำแผน/โครงการรองรับความต้องการช่วยเหลือของคนยากจนในระดับพื้นที่ เช่น แก้ไขปัญหาการขายพืชผลทางเกษตร การแก้ไขปัญหาเอกสารสิทธิต่าง ๆ เป็นต้น
(4) จัดบริการเสริมเพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงค์มุ่งมั่นของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน เช่น การบริการตรวจรักษาโรค งานด้านทะเบียนราษฎร ห้องสมุดเคลื่อนที่ การฝึกอาชีพอย่างง่าย ๆ เช่น การทำขนม/อาหาร การทำยาสมุนไพร เป็นต้น
3.4 จัดกิจกรรมรองรับเพื่อป้องกันมิให้คนยากจนกลับไปสู่วงจรความยากจนอีกและเพื่อนำไปสู่การ แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
4. กลไกดำเนินงาน
4.1 ระดับชาติ
(1) ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการแผนงาน งบประมาณ โครงการ กิจกรรม และปฏิบัติการต่าง ๆ
(2) คณะอนุกรรมการของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) รับผิดชอบการกำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาความยากจนเฉพาะด้าน (Function) ตามที่ ศตจ. มอบหมายหรือกำหนด โดยเฉพาะในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ด้านการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทำกิน และที่อยู่อาศัย
- ด้านหนี้สินคนยากจน
- ด้านแผนพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
(3) ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการและกำกับการปฏิบัติ ตลอดจนตรวจสอบติดตามผลการดำเนินการในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และดำเนินการอื่นใดตามที่ ศตจ. กำหนดหรือมอบหมาย
4.2 ระดับกรุงเทพมหานครและระดับจังหวัด
(1) ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกรุงเทพมหานคร (ศตจ.กทม.) เป็นศูนย์กลางการอำนวยการปฏิบัติการ ตามที่ ศตจ. กำหนดหรือมอบหมาย โดยให้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานคาราวานแก้จน ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องได้
(2) ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนจังหวัด (ศตจ.จ.) เป็นศูนย์กลางการอำนวยการปฏิบัติการตามที่ ศตจ. กำหนดหรือมอบหมาย โดยให้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานคาราวานแก้จน ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องได้
4.3 ระดับเขต/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
(1) ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนเขต (ศตจ. เขต) รับผิดชอบการปฏิบัติการ ในระดับเขต ตามที่ ศตจ. กทม. กำหนดหรือมอบหมาย โดยให้เป็นองค์กรหลักในการ X-ray เสาะหาคนยากจน และ บูรณาการ Demand กับ Supply ในพื้นที่
(2) ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนอำเภอ/กิ่งอำเภอ (ศตจ.อ./กิ่ง อ.) รับผิดชอบการปฏิบัติการในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ตามที่ ศตจ.จ. กำหนดหรือมอบหมาย โดยให้เป็นองค์กรหลักในการ X-ray เสาะหาความยากจนและบูรณาการ Demand กับ Supply ในพื้นที่
4.4 ระดับตำบล/เทศบาล ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนในระดับตำบล/เทศบาล รับผิดชอบปฏิบัติการตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ กำหนดหรือมอบหมาย
5. การจัดทีมงานคาราวานแก้จน ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกรุงเทพมหานคร (ศตจ.กทม.) และศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนจังหวัด (ศตจ.จ.) จัดทีมงานคาราวานแก้จนเป็นชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็นและสภาพปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
5.1 ระดับกรุงเทพมหานคร/เขต ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศตจ. กทม. กำหนด
5.2 ระดับจังหวัด ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
(2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน วิทยาลัยด้านอาชีวศึกษา สถานศึกษาในพื้นที่
(3) สำนักงานเกษตรจังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
(4) หน่วยทหาร/ตำรวจในพื้นที่และหน่วยงานราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
(6) องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
(7) องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
5.3 ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศตจ.จ. กำหนด
6. งบประมาณ
6.1 งบประมาณปี 2547 ที่ได้รับจัดสรรจากศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.)
6.2 งบประมาณปกติของหน่วย
6.3 งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-
กรอบแนวทางการจัดคาราวานแก้จนของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ
1. หลักการและเหตุผล
1.1 รัฐบาลประกาศนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นวาระแห่งชาติ
1.2 ผลการจดทะเบียนผู้มีความเดือดร้อนและยากจนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 มีผู้มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 8 ล้านคนเศษ รวม 12 ล้านปัญหา
1.3 รัฐบาลกำหนดให้มีคาราวานแก้จนเพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาความยากจนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อนำบริการของรัฐทุกประเภท ที่เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนเข้าไปให้แก่ประชาชน ทั้ง ในระดับบุคคล ครัวเรือน กลุ่มและพื้นที่
2.2 เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในระดับรากหญ้าอย่างทันที
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1 X-ray เสาะหาผู้ยากจนในทุกหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง/อำเภอ/กิ่งอำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ประสานพลังแผ่นดินเข้าไปดำเนินการ
3.2 แยกแยะความต้องการของประชาชนเพื่อเตรียมการให้ความช่วยเหลือ
3.3 จัดคาราวานแก้จนลงสู่พื้นที่โดย
(1) นำปัญหาของประชาชนที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
(2) จัดกลุ่มตามความต้องการช่วยเหลือของประชาชน เช่น กลุ่มฝึกฝนอาชีพ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ต้องการหางานทำ/อาชีพเสริม เพื่อกำหนดตารางเวลานัดหมายกลุ่ม และนำเข้ารับการฝึกอบรม
(3) จัดทำแผน/โครงการรองรับความต้องการช่วยเหลือของคนยากจนในระดับพื้นที่ เช่น แก้ไขปัญหาการขายพืชผลทางเกษตร การแก้ไขปัญหาเอกสารสิทธิต่าง ๆ เป็นต้น
(4) จัดบริการเสริมเพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงค์มุ่งมั่นของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน เช่น การบริการตรวจรักษาโรค งานด้านทะเบียนราษฎร ห้องสมุดเคลื่อนที่ การฝึกอาชีพอย่างง่าย ๆ เช่น การทำขนม/อาหาร การทำยาสมุนไพร เป็นต้น
3.4 จัดกิจกรรมรองรับเพื่อป้องกันมิให้คนยากจนกลับไปสู่วงจรความยากจนอีกและเพื่อนำไปสู่การ แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
4. กลไกดำเนินงาน
4.1 ระดับชาติ
(1) ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการแผนงาน งบประมาณ โครงการ กิจกรรม และปฏิบัติการต่าง ๆ
(2) คณะอนุกรรมการของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) รับผิดชอบการกำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาความยากจนเฉพาะด้าน (Function) ตามที่ ศตจ. มอบหมายหรือกำหนด โดยเฉพาะในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ด้านการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทำกิน และที่อยู่อาศัย
- ด้านหนี้สินคนยากจน
- ด้านแผนพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
(3) ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการและกำกับการปฏิบัติ ตลอดจนตรวจสอบติดตามผลการดำเนินการในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และดำเนินการอื่นใดตามที่ ศตจ. กำหนดหรือมอบหมาย
4.2 ระดับกรุงเทพมหานครและระดับจังหวัด
(1) ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกรุงเทพมหานคร (ศตจ.กทม.) เป็นศูนย์กลางการอำนวยการปฏิบัติการ ตามที่ ศตจ. กำหนดหรือมอบหมาย โดยให้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานคาราวานแก้จน ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องได้
(2) ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนจังหวัด (ศตจ.จ.) เป็นศูนย์กลางการอำนวยการปฏิบัติการตามที่ ศตจ. กำหนดหรือมอบหมาย โดยให้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานคาราวานแก้จน ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องได้
4.3 ระดับเขต/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
(1) ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนเขต (ศตจ. เขต) รับผิดชอบการปฏิบัติการ ในระดับเขต ตามที่ ศตจ. กทม. กำหนดหรือมอบหมาย โดยให้เป็นองค์กรหลักในการ X-ray เสาะหาคนยากจน และ บูรณาการ Demand กับ Supply ในพื้นที่
(2) ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนอำเภอ/กิ่งอำเภอ (ศตจ.อ./กิ่ง อ.) รับผิดชอบการปฏิบัติการในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ตามที่ ศตจ.จ. กำหนดหรือมอบหมาย โดยให้เป็นองค์กรหลักในการ X-ray เสาะหาความยากจนและบูรณาการ Demand กับ Supply ในพื้นที่
4.4 ระดับตำบล/เทศบาล ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนในระดับตำบล/เทศบาล รับผิดชอบปฏิบัติการตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ กำหนดหรือมอบหมาย
5. การจัดทีมงานคาราวานแก้จน ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกรุงเทพมหานคร (ศตจ.กทม.) และศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนจังหวัด (ศตจ.จ.) จัดทีมงานคาราวานแก้จนเป็นชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็นและสภาพปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
5.1 ระดับกรุงเทพมหานคร/เขต ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศตจ. กทม. กำหนด
5.2 ระดับจังหวัด ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
(2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน วิทยาลัยด้านอาชีวศึกษา สถานศึกษาในพื้นที่
(3) สำนักงานเกษตรจังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
(4) หน่วยทหาร/ตำรวจในพื้นที่และหน่วยงานราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
(6) องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
(7) องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
5.3 ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศตจ.จ. กำหนด
6. งบประมาณ
6.1 งบประมาณปี 2547 ที่ได้รับจัดสรรจากศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.)
6.2 งบประมาณปกติของหน่วย
6.3 งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2547--จบ--
-กภ-