คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกรายงานสรุปการดำเนินการควบคุมโรคไข้หวัดนก ซึ่งเป็นผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 -29 ตุลาคม 2547 ดังนี้
1. บุคลากรที่ร่วมดำเนินการทั้งหมดในการ X-Ray ทุกพื้นที่มี จำนวน 1,066,290 นาย โดยเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ 174,218 นาย (ข้าราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 15,079 นาย,ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 36,699 นาย , ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย 23,395 นาย , กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 81,081 นาย และหน่วยงานอื่นๆ 17,964 นาย) อาสาสมัครจำนวนทั้งสิ้น 892,072 นาย (อาสาพัฒนาปศุสัตว์ 57,243 นาย , อาสาสมัครสาธารณสุข 727,563
นาย , พัฒนากรตำบล 20,438 นาย และอื่นๆ 86,828 นาย) ซึ่งเป็นการบูรณาการขององค์กรในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ทำให้ได้ผลในการค้นพบจุดที่มีโรค รวมทั้งมีการติดตามและรายงานผลได้อย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่
2. ยอดสำรวจสัตว์ปีกที่คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนข้อมูลทั้งประเทศ ซึ่งส่งเข้ามายังศูนย์ข้อมูลของกรมปศุสัตว์ จำนวนสัตว์ปีก 160,689,876 ตัว ของเกษตรกร 4,076,512 ราย
3. ผลการค้นหาโรคไข้หวัดนก
3.1 การเฝ้าระวังเชิกรุกทางอาการจาการพบสัตว์ปีกป่วย/ตาย จำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจ 18,666 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นลบ 12,893 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นบวก 823 ตัวอย่าง อยู่ระหว่างรอผลวินิจฉัย 4,950 ตัวอย่าง
3.2 การเฝ้าระวังเชิกรุกจากการสุ่มตรวจสัตว์ปีกที่ปกติ ( ไม่แสดงอาการ ) เป้าหมาย Cloacal swab 173,082 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างแล้ว 142,737 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นลบ 32,713 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นบวก 477 ตัวอย่าง อยู่ระหว่างรอผลวินิจฉัย 109,547 ตัวอย่าง เป้าหมายซีรั่ม 89,883 ตัวอย่าง เก็บแล้ว50,301 ตัวอย่าง
3.3 การเฝ้าระวังเชิงรุกจากการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตวืปีกของผู้ประกอบการและเจ้าของสัตว์ปีกทั่วไป จำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจ 81,114 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นลบ 63,430 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นบวก 133 ตัวอย่าง อยู่ระหว่างรอผลวินิจฉัย 17,551 ตัวอย่าง
ทั้งนี้ รายที่มีการแจ้งการป่วย/ตายผิดปกติหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าเป็นโรคไข้หวัดนก (ผลบวก) สัตวแพทย์จะสั่งให้ทำลายสัตว์ปีกโดยเกษตรกรจะได้รับค่าชดใช้ในอัตราร้อยละ 75 ของราคาสัตว์ที่อาจขายได้ในตลาดท้องที่ก่อนเกิดโรคระบาด รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรคในบริเวณ และควบคุมเคลื่อนย้าย รวมถึงการเฝ้าระวังในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดพบโรคระบาด
4. สรุปยอดจำนวนสัตว์ปีกป่วย ตาย และทำลาย สัตว์ปีกป่วย 113,125 ตัว สัตว์ปีกตาย 433,210 ตัว สัตว์ปีกที่ถูกทำลาย 1,546,000 ตัว ค่าชดใช้ 19,999,463.60 บาท
5. จำนวนจุดที่มีการพ่นยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตวืปีกของเกษตรกรรวม 608,183 ราย
6. การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนก
ผลการค้นหาโรคไข้หวัดนก ได้มีการรายงานผลจากการ X-Ray พื้นที่สามารถค้นหาโรคได้จำนวนทั้งสิ้น 575 จุด ใน 43 จังหวัด และได้ดำเนินการทำลายสัตว์ปีกที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ รวมตัวป่วยและตายได้ทั้งสิ้น ประมาณ 2 ล้านตัว และสามารถพบโรคในจังหวัดใหม่ จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ตาก เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร และปัตตานี วิเคราะห์ได้ดังนี้
- การกระจายตัวของโรคทางภูมิศาสตร์พบว่าจำนวนตำบลที่เกิดโรคในแต่ละสัปดาห์ตั้งแต่ระหว่างวันที่ 1-29 ตุลาคม 2547 อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดช่วงระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2547
- จังหวัดที่มีจำนวนครั้งของการระบาดมากที่สุดจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สุพรรณบุรี นครสวรรค์ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครราชสีมา
- การระบาดของโรคไข้หวัดนกพบการกระจายตัวในพื้นที่มากขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องจากมาตรการการ X-Ray ทุกพื้นที่ส่งผลให้การเฝ้าระวังโรคมีประสิทธิภาพ และเป็นการตรวจพบที่รวดเร็วแม้ว่าสัตว์จะยังไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งเป็นผลดีต่อการดำเนินมาตราการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่นั้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นการลดโอกาสแพร่เชื้อไปสู่มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ให้ติดตามเข้มงวดมาตรการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกยิ่งขึ้น
- จำนวนรายที่พบโรคไข้หวัดนกจำแนกตามชนิดสัตว์ปีกจากมากที่สุดไปหาน้อย 5 อันดับได้แก่ ไก่พื้นเมือง ร้อยละ 65.44 เป็ดไข่ ร้อยละ12.48 เป็ดเนื้อ ร้อยละ 7.91
ไก่ชน ร้อยละ 2.39 และไก่เนื้อ ร้อยละ 2.08
- จำนวนสัตว์ปีกที่ถูกทำลายหรือเสียหายจากโรคไข้หวัดนกจำแนกตามชนิดของสัตว์ปีกจากมากที่สุดไปหาน้อย 5 อันดับได้แก่ เป็ดไข่ ร้อยละ 44.7 ไก่เนื้อ ร้อยละ 27.8 เป็ดเนื้อ ร้อยละ 12.0 นกกระทา ร้อยละ 7.9 และไก่พื้นเมืองร้อยละ 4.5
- การระบาดของโรคไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม พบว่าเป็นการระบาดในไก่พื้นเมือง ฟาร์มขนาดเล็ก และเป็ดไล่ทุ่ง ซึ่งสัตว์ปีกประเภทไก่พื้นเมืองนั้นอยู่ใกล้ชิดกับคน และส่งผลให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการติดโรคสูงขึ้น จึงควรประชาสัมพันธ์เรื่องการระวังตนเองของประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง
- แม้ว่าจะพบจุดเกิดโรคเพิ่มขึ้น แต่เปอร์เซ็นต์การพบโรคลดลง แสดงว่าประชาชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความตระหนักมากขึ้น ร่วมมือในการแจ้งโรคและการส่งตัวอย่างมากขึ้นแม้ว่าจะป่วยหรือตายหรือต้องสงสัยด้วยสาเหตุอื่น
- จากการวิเคราะห์ข้อมูลสัตว์ปีกเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในครั้งนี้ พบว่ามีการกระจายตัวของโรคไข้หวัดนกสูงในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งอย่างหนาแน่น
ผลในการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยานั้น จะมีการวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งประมาณ 2-3 สัปดาห์ นับจากวันที่สิ้นสุดการ X-Ray เนื่องจากต้องรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งผลการตรวจยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งนี้จะใช้นักวิชาการทางด้านระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยและกรมปศุสัตว์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญของ FAO มาร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล
7. สรุปสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน
- ในคนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2547 พบผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดนก จำนวน 5 ราย จากจังหวัดปราจีนบุรี 1 ราย กำแพงเพชร 2 ราย เพชรบูรณ์ 1 ราย และพบผู้ป่วยน่าจะเป็น 1 ราย จากจังหวัดกำแพงเพชร และผู้ต้องสงสัย 1 ราย จากจังหวัดสุโขทัย
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการตื่นตัวและรายงานโรคเพิ่มมากขึ้น แต่พบผู้ป่วยน้อยลง เพราะประชาชนได้รับข่าวสารและการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการระวังตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเดือนตุลาคม 2547 มีผู้ป่วยเพิ่มเพียง 1 ราย
ในฤดูหนาวอาจมีการระบาดโรคมากขึ้น ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงควรดำเนินการตามมาตราการที่เข้มงวดเช่นเดิม
ประชาชนป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกพบสาเหตุเนื่องจาก
- พฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ ถ้าผู้เลี้ยงหรือผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจากการระวังตัวเองมากขึ้น เมื่อมีการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย/ตาย จะระวังตัวเองมากขึ้น จึงทำให้พบว่าสามารถลดการระบาดของโรคจากสัตว์ปีกสู่คนได้ ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจะทำให้ผู้เลี้ยงหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมและช่วยลดการระบาดของโรคได้
- พฤติกรรมการสัมผัสผ่านสิ่งแวดล้อมที่มีการระบาดของโรค พบว่าจะมีผู้ป่วยหรือตาย 1 ใน 3 ของผู้ป่วย ซึ่งเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมแก้ไขยาก ถ้าไม่มีการปรับปรุงอาจจะมีผู้ป่วย ปีละ 5-6 รายได้
- พฤติกรรมการสัมผัสผู้ป่วยหนัก โดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยวิธีการสาธารณสุขให้ผู้สัมผัสระวังตัวเองมากขึ้น
กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินงานด้านสาธารณสุข เมื่อพบผู้ป่วยเข้าข่ายไข้หวัดนก โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการอย่างเข้มงวดทั้งประเทศและยังมีแนวทางการป้องกัน ควบคุมโรคไข้หวัดนกในคนช่วงเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 โดยความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สาธารณสุขจังหวัด ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุข
8. การแก้ไขปัญหาเป็ดไล่ทุ่ง
เนื่องจากปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ต่างๆ นั้น มีความสัมพันธ์กันกับพื้นที่ที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ดังนั้น ในช่วงระยะฤดูหนาวจึงเห็นควรให้มีการตัดวงจรการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในกรณีที่เกษตรไม่สามารถปรับระบบการเลี้ยง โดยส่งเสริมให้มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งก่อนที่จะป่วย/ตาย และให้มีคณะทำงานกำหนดราคารับซื้อและรายละเอียดการดำเนินงาน ซึ่งคณะทำงานนั้นให้เชิญกระทรวงพาณิชย์ ชมรม หรือสมาคมที่เกี่ยวข้องมาหารือกัน และหากจะเลี้ยงใหม่ให้ปรับระบบเข้าสู่ฟาร์มมาตรฐาน หรือโรงเรือนที่มีระบบป้องกันโรคได้และเร็วที่สุดภายใน 3 เดือน ส่วนที่พบว่าเป็ดป่วยและตายให้นำไปฝังหรือทำลายอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และให้มีการชดใช้ตามกฎหมาย
9. มาตรการที่จะต้องดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ถึง กุมภาพันธ์ 2548
9.1 ดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก นก และคน อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
9.2 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ตามรูปแบบการดำเนินการในเดือนตุลาคม โดยบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ภายในจังหวัดและอำเภอ ร่วมกับองค์กรประชาชน เช่น องค์การบริหารประจำตำบล อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และอพปม. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกและมีแนวโน้มจะเกิดโรคระบาดได้อีกครั้ง ให้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคเป็นกรณีพิเศษ
9.3 ให้ผู้บริหารของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ลำดับความสำคัญของโรคไข้หวัดนกเป็นลำดับสูงสุด
9.4 เผยแพร่ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนทราบถึงสุขอนามัยในการล้างมือ การทำความสะอาดบ้านและใต้ถุนบ้านกรณีที่มีการเลี้ยงไก่ รวมทั้งแนะนำให้ประชาชนจำกัดพื้นที่การเลี้ยงไก่เพื่อลดความเสี่ยงของการติดโรค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
1. บุคลากรที่ร่วมดำเนินการทั้งหมดในการ X-Ray ทุกพื้นที่มี จำนวน 1,066,290 นาย โดยเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ 174,218 นาย (ข้าราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 15,079 นาย,ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 36,699 นาย , ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย 23,395 นาย , กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 81,081 นาย และหน่วยงานอื่นๆ 17,964 นาย) อาสาสมัครจำนวนทั้งสิ้น 892,072 นาย (อาสาพัฒนาปศุสัตว์ 57,243 นาย , อาสาสมัครสาธารณสุข 727,563
นาย , พัฒนากรตำบล 20,438 นาย และอื่นๆ 86,828 นาย) ซึ่งเป็นการบูรณาการขององค์กรในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ทำให้ได้ผลในการค้นพบจุดที่มีโรค รวมทั้งมีการติดตามและรายงานผลได้อย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่
2. ยอดสำรวจสัตว์ปีกที่คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนข้อมูลทั้งประเทศ ซึ่งส่งเข้ามายังศูนย์ข้อมูลของกรมปศุสัตว์ จำนวนสัตว์ปีก 160,689,876 ตัว ของเกษตรกร 4,076,512 ราย
3. ผลการค้นหาโรคไข้หวัดนก
3.1 การเฝ้าระวังเชิกรุกทางอาการจาการพบสัตว์ปีกป่วย/ตาย จำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจ 18,666 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นลบ 12,893 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นบวก 823 ตัวอย่าง อยู่ระหว่างรอผลวินิจฉัย 4,950 ตัวอย่าง
3.2 การเฝ้าระวังเชิกรุกจากการสุ่มตรวจสัตว์ปีกที่ปกติ ( ไม่แสดงอาการ ) เป้าหมาย Cloacal swab 173,082 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างแล้ว 142,737 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นลบ 32,713 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นบวก 477 ตัวอย่าง อยู่ระหว่างรอผลวินิจฉัย 109,547 ตัวอย่าง เป้าหมายซีรั่ม 89,883 ตัวอย่าง เก็บแล้ว50,301 ตัวอย่าง
3.3 การเฝ้าระวังเชิงรุกจากการขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตวืปีกของผู้ประกอบการและเจ้าของสัตว์ปีกทั่วไป จำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจ 81,114 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นลบ 63,430 ตัวอย่าง ผลการวินิจฉัยเป็นบวก 133 ตัวอย่าง อยู่ระหว่างรอผลวินิจฉัย 17,551 ตัวอย่าง
ทั้งนี้ รายที่มีการแจ้งการป่วย/ตายผิดปกติหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าเป็นโรคไข้หวัดนก (ผลบวก) สัตวแพทย์จะสั่งให้ทำลายสัตว์ปีกโดยเกษตรกรจะได้รับค่าชดใช้ในอัตราร้อยละ 75 ของราคาสัตว์ที่อาจขายได้ในตลาดท้องที่ก่อนเกิดโรคระบาด รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรคในบริเวณ และควบคุมเคลื่อนย้าย รวมถึงการเฝ้าระวังในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดพบโรคระบาด
4. สรุปยอดจำนวนสัตว์ปีกป่วย ตาย และทำลาย สัตว์ปีกป่วย 113,125 ตัว สัตว์ปีกตาย 433,210 ตัว สัตว์ปีกที่ถูกทำลาย 1,546,000 ตัว ค่าชดใช้ 19,999,463.60 บาท
5. จำนวนจุดที่มีการพ่นยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตวืปีกของเกษตรกรรวม 608,183 ราย
6. การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนก
ผลการค้นหาโรคไข้หวัดนก ได้มีการรายงานผลจากการ X-Ray พื้นที่สามารถค้นหาโรคได้จำนวนทั้งสิ้น 575 จุด ใน 43 จังหวัด และได้ดำเนินการทำลายสัตว์ปีกที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ รวมตัวป่วยและตายได้ทั้งสิ้น ประมาณ 2 ล้านตัว และสามารถพบโรคในจังหวัดใหม่ จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ตาก เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร และปัตตานี วิเคราะห์ได้ดังนี้
- การกระจายตัวของโรคทางภูมิศาสตร์พบว่าจำนวนตำบลที่เกิดโรคในแต่ละสัปดาห์ตั้งแต่ระหว่างวันที่ 1-29 ตุลาคม 2547 อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดช่วงระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2547
- จังหวัดที่มีจำนวนครั้งของการระบาดมากที่สุดจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สุพรรณบุรี นครสวรรค์ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครราชสีมา
- การระบาดของโรคไข้หวัดนกพบการกระจายตัวในพื้นที่มากขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องจากมาตรการการ X-Ray ทุกพื้นที่ส่งผลให้การเฝ้าระวังโรคมีประสิทธิภาพ และเป็นการตรวจพบที่รวดเร็วแม้ว่าสัตว์จะยังไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งเป็นผลดีต่อการดำเนินมาตราการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่นั้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นการลดโอกาสแพร่เชื้อไปสู่มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ให้ติดตามเข้มงวดมาตรการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกยิ่งขึ้น
- จำนวนรายที่พบโรคไข้หวัดนกจำแนกตามชนิดสัตว์ปีกจากมากที่สุดไปหาน้อย 5 อันดับได้แก่ ไก่พื้นเมือง ร้อยละ 65.44 เป็ดไข่ ร้อยละ12.48 เป็ดเนื้อ ร้อยละ 7.91
ไก่ชน ร้อยละ 2.39 และไก่เนื้อ ร้อยละ 2.08
- จำนวนสัตว์ปีกที่ถูกทำลายหรือเสียหายจากโรคไข้หวัดนกจำแนกตามชนิดของสัตว์ปีกจากมากที่สุดไปหาน้อย 5 อันดับได้แก่ เป็ดไข่ ร้อยละ 44.7 ไก่เนื้อ ร้อยละ 27.8 เป็ดเนื้อ ร้อยละ 12.0 นกกระทา ร้อยละ 7.9 และไก่พื้นเมืองร้อยละ 4.5
- การระบาดของโรคไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม พบว่าเป็นการระบาดในไก่พื้นเมือง ฟาร์มขนาดเล็ก และเป็ดไล่ทุ่ง ซึ่งสัตว์ปีกประเภทไก่พื้นเมืองนั้นอยู่ใกล้ชิดกับคน และส่งผลให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการติดโรคสูงขึ้น จึงควรประชาสัมพันธ์เรื่องการระวังตนเองของประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง
- แม้ว่าจะพบจุดเกิดโรคเพิ่มขึ้น แต่เปอร์เซ็นต์การพบโรคลดลง แสดงว่าประชาชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความตระหนักมากขึ้น ร่วมมือในการแจ้งโรคและการส่งตัวอย่างมากขึ้นแม้ว่าจะป่วยหรือตายหรือต้องสงสัยด้วยสาเหตุอื่น
- จากการวิเคราะห์ข้อมูลสัตว์ปีกเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในครั้งนี้ พบว่ามีการกระจายตัวของโรคไข้หวัดนกสูงในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งอย่างหนาแน่น
ผลในการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยานั้น จะมีการวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งประมาณ 2-3 สัปดาห์ นับจากวันที่สิ้นสุดการ X-Ray เนื่องจากต้องรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งผลการตรวจยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งนี้จะใช้นักวิชาการทางด้านระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยและกรมปศุสัตว์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญของ FAO มาร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล
7. สรุปสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน
- ในคนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2547 พบผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดนก จำนวน 5 ราย จากจังหวัดปราจีนบุรี 1 ราย กำแพงเพชร 2 ราย เพชรบูรณ์ 1 ราย และพบผู้ป่วยน่าจะเป็น 1 ราย จากจังหวัดกำแพงเพชร และผู้ต้องสงสัย 1 ราย จากจังหวัดสุโขทัย
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการตื่นตัวและรายงานโรคเพิ่มมากขึ้น แต่พบผู้ป่วยน้อยลง เพราะประชาชนได้รับข่าวสารและการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการระวังตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเดือนตุลาคม 2547 มีผู้ป่วยเพิ่มเพียง 1 ราย
ในฤดูหนาวอาจมีการระบาดโรคมากขึ้น ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงควรดำเนินการตามมาตราการที่เข้มงวดเช่นเดิม
ประชาชนป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกพบสาเหตุเนื่องจาก
- พฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ ถ้าผู้เลี้ยงหรือผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจากการระวังตัวเองมากขึ้น เมื่อมีการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย/ตาย จะระวังตัวเองมากขึ้น จึงทำให้พบว่าสามารถลดการระบาดของโรคจากสัตว์ปีกสู่คนได้ ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจะทำให้ผู้เลี้ยงหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมและช่วยลดการระบาดของโรคได้
- พฤติกรรมการสัมผัสผ่านสิ่งแวดล้อมที่มีการระบาดของโรค พบว่าจะมีผู้ป่วยหรือตาย 1 ใน 3 ของผู้ป่วย ซึ่งเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมแก้ไขยาก ถ้าไม่มีการปรับปรุงอาจจะมีผู้ป่วย ปีละ 5-6 รายได้
- พฤติกรรมการสัมผัสผู้ป่วยหนัก โดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยวิธีการสาธารณสุขให้ผู้สัมผัสระวังตัวเองมากขึ้น
กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินงานด้านสาธารณสุข เมื่อพบผู้ป่วยเข้าข่ายไข้หวัดนก โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการอย่างเข้มงวดทั้งประเทศและยังมีแนวทางการป้องกัน ควบคุมโรคไข้หวัดนกในคนช่วงเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 โดยความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สาธารณสุขจังหวัด ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุข
8. การแก้ไขปัญหาเป็ดไล่ทุ่ง
เนื่องจากปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ต่างๆ นั้น มีความสัมพันธ์กันกับพื้นที่ที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ดังนั้น ในช่วงระยะฤดูหนาวจึงเห็นควรให้มีการตัดวงจรการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในกรณีที่เกษตรไม่สามารถปรับระบบการเลี้ยง โดยส่งเสริมให้มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งก่อนที่จะป่วย/ตาย และให้มีคณะทำงานกำหนดราคารับซื้อและรายละเอียดการดำเนินงาน ซึ่งคณะทำงานนั้นให้เชิญกระทรวงพาณิชย์ ชมรม หรือสมาคมที่เกี่ยวข้องมาหารือกัน และหากจะเลี้ยงใหม่ให้ปรับระบบเข้าสู่ฟาร์มมาตรฐาน หรือโรงเรือนที่มีระบบป้องกันโรคได้และเร็วที่สุดภายใน 3 เดือน ส่วนที่พบว่าเป็ดป่วยและตายให้นำไปฝังหรือทำลายอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และให้มีการชดใช้ตามกฎหมาย
9. มาตรการที่จะต้องดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ถึง กุมภาพันธ์ 2548
9.1 ดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก นก และคน อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
9.2 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ตามรูปแบบการดำเนินการในเดือนตุลาคม โดยบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ภายในจังหวัดและอำเภอ ร่วมกับองค์กรประชาชน เช่น องค์การบริหารประจำตำบล อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และอพปม. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกและมีแนวโน้มจะเกิดโรคระบาดได้อีกครั้ง ให้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคเป็นกรณีพิเศษ
9.3 ให้ผู้บริหารของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ลำดับความสำคัญของโรคไข้หวัดนกเป็นลำดับสูงสุด
9.4 เผยแพร่ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนทราบถึงสุขอนามัยในการล้างมือ การทำความสะอาดบ้านและใต้ถุนบ้านกรณีที่มีการเลี้ยงไก่ รวมทั้งแนะนำให้ประชาชนจำกัดพื้นที่การเลี้ยงไก่เพื่อลดความเสี่ยงของการติดโรค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-