คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 โดยทุกจังหวัดได้รายงานผลการสำรวจการเลี้ยงสัตว์ปีกให้ทราบ ทั้ง 75 จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้
1. จังหวัดได้ดำเนินการสำรวจการเลี้ยงสัตว์ปีกแล้ว มีเกษตรที่เลี้ยงสัตว์ปีกจำนวน 4,076,512 ราย โดยได้ดำเนินการสำรวจแล้ว 160,689,876 ตัว พบสัตว์ปีกป่วย 113,125 ตัว ตาย 433,210 ตัว และทำลายแล้วทั้งสิ้น 1,546,000 ตัว
2. กรุงเทพมหานครดำเนินการสำรวจครัวเรือนที่มีไก่และสัตว์ปีก จำนวน 50 เขต จำนวน 324,905 ตัว จาก 9,771 ครัวเรือน โดยไม่ได้รวมสัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์ม ซึ่งไม่พบสัตว์ปีกที่ป่วยตายหรือสงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
3. จังหวัดชลบุรีรายงานสถานการณ์เชื้อโรคไข้หวัดนกในเสือ ณ สวนเสือศรีราชา ซึ่งได้ตายและทำลายไปแล้ว 147 ตัว
4. จังหวัดได้รายงานปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ดังนี้
4.1 ปัญหา อุปสรรค สรุปดังนี้
1) การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในระยะเริ่มแรกยังขาดความร่วมมือจากเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก เนื่องจากมีความเชื่อว่าสัตว์ปีกที่เลี้ยงตายปกติ อีกทั้งกลัวว่าจะไม่ได้รับเงินชดเชย
2) มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกออกจากพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังนำสัตว์ปีกมาทิ้งบริเวณริมถนนหรือริมลำคลองสาธารณะ
3) การจ่ายเงินชดเชยแก่เกษตรกรที่ได้ทำลายสัตว์ปีกไปแล้วมีล่าช้า
4) เกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งมีจำนวนมากที่ไม่ได้ลงทะเบียน เนื่องจากไม่เข้าใจและเกรงจะมีความผิด หรือไม่ได้รับค่าชดเชย
5) เกษตรกรบางรายยังไม่เข้าใจถึงมาตรการหรือวิธีการที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
6) เจ้าหน้าที่/อาสาสมัครที่ดำเนินการในระดับพื้นที่มีจำนวนน้อย และยังขาดความรู้ในเรื่องโรคนี้ดีเท่าที่ควร ประกอบกับขาดเครื่องมืออุปกรณ์ดำเนินการ เช่น เสื้อผ้า ถุงมือ รองเท้า เครื่องพ่นยาและยาฆ่าเชื้อในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ
4.2 ข้อเสนอแนะ สรุปดังนี้
1) เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกทุกประเภทได้เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ โดยควรสื่อสารให้เกษตรกรโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงชาวบ้านมากขึ้น เนื่องจากมาตรการที่ทางภาครัฐออกมานั้นดีแล้วแต่เป็นภาษาวิชาการ
2) ควรจำกัดหรือควบคุมพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกในแต่ละประเภท โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งระบาดซ้ำซาก เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในระยะยาว
3) ควรมีหน่วยงานหลักที่มีเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครอยู่ในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะในพื้นที่หรือช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค นอกจากนี้ควรมีเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
4) เร่งดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อหายาหรือวัคซีนที่สามารถรักษาหรือกำจัดเชื้อโรคไข้หวัดนกให้หมดได้
ทั้งนี้ ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป อากาศจะเริ่มเย็นลงซึ่งจะเป็นผลทำให้โอกาสในการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด มีมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา ฉะนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงได้ย้ำกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเน้นการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง โดยให้จัดเตรียมคณะทำงานชุดปฏิบัติการในระดับพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน เครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจนเร่งรัดให้ชดใช้เงินค่าทำลายสัตว์ปีกให้รวดเร็วขึ้น โดยให้ยึดถือความปลอดภัยของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญลำดับแรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
1. จังหวัดได้ดำเนินการสำรวจการเลี้ยงสัตว์ปีกแล้ว มีเกษตรที่เลี้ยงสัตว์ปีกจำนวน 4,076,512 ราย โดยได้ดำเนินการสำรวจแล้ว 160,689,876 ตัว พบสัตว์ปีกป่วย 113,125 ตัว ตาย 433,210 ตัว และทำลายแล้วทั้งสิ้น 1,546,000 ตัว
2. กรุงเทพมหานครดำเนินการสำรวจครัวเรือนที่มีไก่และสัตว์ปีก จำนวน 50 เขต จำนวน 324,905 ตัว จาก 9,771 ครัวเรือน โดยไม่ได้รวมสัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์ม ซึ่งไม่พบสัตว์ปีกที่ป่วยตายหรือสงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก
3. จังหวัดชลบุรีรายงานสถานการณ์เชื้อโรคไข้หวัดนกในเสือ ณ สวนเสือศรีราชา ซึ่งได้ตายและทำลายไปแล้ว 147 ตัว
4. จังหวัดได้รายงานปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ดังนี้
4.1 ปัญหา อุปสรรค สรุปดังนี้
1) การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในระยะเริ่มแรกยังขาดความร่วมมือจากเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก เนื่องจากมีความเชื่อว่าสัตว์ปีกที่เลี้ยงตายปกติ อีกทั้งกลัวว่าจะไม่ได้รับเงินชดเชย
2) มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกออกจากพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังนำสัตว์ปีกมาทิ้งบริเวณริมถนนหรือริมลำคลองสาธารณะ
3) การจ่ายเงินชดเชยแก่เกษตรกรที่ได้ทำลายสัตว์ปีกไปแล้วมีล่าช้า
4) เกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งมีจำนวนมากที่ไม่ได้ลงทะเบียน เนื่องจากไม่เข้าใจและเกรงจะมีความผิด หรือไม่ได้รับค่าชดเชย
5) เกษตรกรบางรายยังไม่เข้าใจถึงมาตรการหรือวิธีการที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
6) เจ้าหน้าที่/อาสาสมัครที่ดำเนินการในระดับพื้นที่มีจำนวนน้อย และยังขาดความรู้ในเรื่องโรคนี้ดีเท่าที่ควร ประกอบกับขาดเครื่องมืออุปกรณ์ดำเนินการ เช่น เสื้อผ้า ถุงมือ รองเท้า เครื่องพ่นยาและยาฆ่าเชื้อในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ
4.2 ข้อเสนอแนะ สรุปดังนี้
1) เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกทุกประเภทได้เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ โดยควรสื่อสารให้เกษตรกรโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงชาวบ้านมากขึ้น เนื่องจากมาตรการที่ทางภาครัฐออกมานั้นดีแล้วแต่เป็นภาษาวิชาการ
2) ควรจำกัดหรือควบคุมพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกในแต่ละประเภท โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งระบาดซ้ำซาก เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในระยะยาว
3) ควรมีหน่วยงานหลักที่มีเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครอยู่ในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะในพื้นที่หรือช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค นอกจากนี้ควรมีเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
4) เร่งดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อหายาหรือวัคซีนที่สามารถรักษาหรือกำจัดเชื้อโรคไข้หวัดนกให้หมดได้
ทั้งนี้ ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป อากาศจะเริ่มเย็นลงซึ่งจะเป็นผลทำให้โอกาสในการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด มีมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา ฉะนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงได้ย้ำกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเน้นการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง โดยให้จัดเตรียมคณะทำงานชุดปฏิบัติการในระดับพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน เครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจนเร่งรัดให้ชดใช้เงินค่าทำลายสัตว์ปีกให้รวดเร็วขึ้น โดยให้ยึดถือความปลอดภัยของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญลำดับแรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-