คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานความคืบหน้าการติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนกรณีการลักลอบฝังกลบกากของเสียที่เป็นอันตราย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้
1. ความเป็นมา เกิดเหตุการณ์ลักลอบฝังกลบกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 โดยมีกลุ่มบุคคลเข้าไปในพื้นที่ติดกับโรงงานของบริษัท อโศกเคมีคอล จำกัด บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรอนำไปเผาในเตาเผาปูนขาวของโรงงานบริษัท อโศกเคมีคอล จำกัด โดยใช้รถแบคโฮล์บดอัดถังโลหะขนาด 200 ลิตร ซึ่งภายในบรรจุกากสารเคมี และได้นำกากสารเคมีที่บรรจุอยู่ในถังซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเหลวไปเทลงในบ่อดินที่ขุดขึ้นใหม่ในพื้นที่ โดยไม่มีการป้องกันการปนเปื้อนลงดินแต่อย่างใด และมีกากสารเคมีบางส่วนหกหล่นอยู่บนพื้นดิน ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นของสารเคมีกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียง กากของเสียที่เป็นอันตรายที่พบ ได้แก่ น้ำมันเครื่องใช้แล้ว กากสี สารตัวทำละลายอินทรีย์ใช้แล้ว กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ยางมะตอย และเศษวัสดุที่ปนเปื้อนสารเคมี เป็นต้น
การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา และกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา และได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบ กรณีลักลอบฝังกลบของเสียอันตราย บริเวณตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและติดตามตรวจสอบสภาพปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น รวมทั้งได้รายงานความคืบหน้าผลดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 และวันที่ 4 ตุลาคม 2547 แล้ว
2. ความคืบหน้าการดำเนินการ
2.1 การฟื้นฟูบริเวณที่เกิดเหตุ
(1) การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ จากการสำรวจลักษณะทางธรณีฟิสิกส์ของชั้นหินพบว่า ภายใต้บริเวณพื้นที่ลักลอบฝังกลบกากของเสียมีหินปูนรองรับอยู่ที่ความลึกระหว่าง 3-5 เมตร และมีแนวรอยแตกในหินปูน 2 แนว คือ แนวทิศเหนือ-ใต้ และแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้พบว่ามีโพรงใต้ดินในบริเวณที่มีรอยแตกตัดกัน ดังนั้น หากมีฝนตกโครงสร้างดังกล่าวจะเป็นช่องทางการไหลของสารละลายจากพื้นที่ทิ้งกากของเสียเข้าไปปนเปื้อนชั้นน้ำบาดาลบริเวณใกล้เคียง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขุดเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อเป็นบ่อเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบการปนเปื้อน
(2) การสำรวจการปนเปื้อนในดิน จากการติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในดินบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ โดยตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Oganic Compound ; VOCs) ในดิน ที่ระดับความลึก 1 เมตร ด้วยวิธี Screen technique โดยใช้จุด Soil Gas Unit ครอบคลุมพื้นที่ 220x140 ตารางเมตร พบว่า มีการปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ประมาณ 20,400 ตารางเมตร ในระดับความลึก 1 เมตร ส่วนการติดตามตรวจสอบในระยะต่อไป จะต้องสำรวจการปนเปื้อนของดินที่ระดับความลึก 2-3 เมตร จนถึงชั้นหินปูนภายหลังจากทำการปาดหน้าดินระดับความลึก 1 เมตร ไปบำบัดแล้ว
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แจ้งผลสำรวจการปนเปื้อนในดินบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ
ลักลอบฝังกลบกากของเสียอันตราย ให้กระทรวงอุตสาหกรรมทราบแล้ว
(3) การขนย้ายดินปนเปื้อน บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO ทำการปาดหน้าดินบริเวณที่เกิดเหตุที่ระดับความลึกประมาณ 20-100 เซนติเมตร และได้ขนย้ายดินปนเปื้อนไปทำการปรับเสถียรที่โรงงานจังหวัดระยอง ก่อนจะนำไปฝังกลบที่บ่อฝังกลบ จังหวัดราชบุรี โดยปัจจุบันไดัขนย้ายดินไปกำจัดแลัว 5,108 ตัน
2.2 การติดตามตรวจสอบผลกระทบ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังสภาพปัญหาการปนเปื้อนในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่กองกากของเสีย โดยเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อบาดาลบริเวณชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งผลการตรวจสอบที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2547 พบว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังไม่พบวามีการปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ความเป็นมา เกิดเหตุการณ์ลักลอบฝังกลบกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 โดยมีกลุ่มบุคคลเข้าไปในพื้นที่ติดกับโรงงานของบริษัท อโศกเคมีคอล จำกัด บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรอนำไปเผาในเตาเผาปูนขาวของโรงงานบริษัท อโศกเคมีคอล จำกัด โดยใช้รถแบคโฮล์บดอัดถังโลหะขนาด 200 ลิตร ซึ่งภายในบรรจุกากสารเคมี และได้นำกากสารเคมีที่บรรจุอยู่ในถังซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเหลวไปเทลงในบ่อดินที่ขุดขึ้นใหม่ในพื้นที่ โดยไม่มีการป้องกันการปนเปื้อนลงดินแต่อย่างใด และมีกากสารเคมีบางส่วนหกหล่นอยู่บนพื้นดิน ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นของสารเคมีกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียง กากของเสียที่เป็นอันตรายที่พบ ได้แก่ น้ำมันเครื่องใช้แล้ว กากสี สารตัวทำละลายอินทรีย์ใช้แล้ว กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ยางมะตอย และเศษวัสดุที่ปนเปื้อนสารเคมี เป็นต้น
การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา และกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา และได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบ กรณีลักลอบฝังกลบของเสียอันตราย บริเวณตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและติดตามตรวจสอบสภาพปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น รวมทั้งได้รายงานความคืบหน้าผลดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 และวันที่ 4 ตุลาคม 2547 แล้ว
2. ความคืบหน้าการดำเนินการ
2.1 การฟื้นฟูบริเวณที่เกิดเหตุ
(1) การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ จากการสำรวจลักษณะทางธรณีฟิสิกส์ของชั้นหินพบว่า ภายใต้บริเวณพื้นที่ลักลอบฝังกลบกากของเสียมีหินปูนรองรับอยู่ที่ความลึกระหว่าง 3-5 เมตร และมีแนวรอยแตกในหินปูน 2 แนว คือ แนวทิศเหนือ-ใต้ และแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้พบว่ามีโพรงใต้ดินในบริเวณที่มีรอยแตกตัดกัน ดังนั้น หากมีฝนตกโครงสร้างดังกล่าวจะเป็นช่องทางการไหลของสารละลายจากพื้นที่ทิ้งกากของเสียเข้าไปปนเปื้อนชั้นน้ำบาดาลบริเวณใกล้เคียง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขุดเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อเป็นบ่อเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบการปนเปื้อน
(2) การสำรวจการปนเปื้อนในดิน จากการติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในดินบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ โดยตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Oganic Compound ; VOCs) ในดิน ที่ระดับความลึก 1 เมตร ด้วยวิธี Screen technique โดยใช้จุด Soil Gas Unit ครอบคลุมพื้นที่ 220x140 ตารางเมตร พบว่า มีการปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ประมาณ 20,400 ตารางเมตร ในระดับความลึก 1 เมตร ส่วนการติดตามตรวจสอบในระยะต่อไป จะต้องสำรวจการปนเปื้อนของดินที่ระดับความลึก 2-3 เมตร จนถึงชั้นหินปูนภายหลังจากทำการปาดหน้าดินระดับความลึก 1 เมตร ไปบำบัดแล้ว
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แจ้งผลสำรวจการปนเปื้อนในดินบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ
ลักลอบฝังกลบกากของเสียอันตราย ให้กระทรวงอุตสาหกรรมทราบแล้ว
(3) การขนย้ายดินปนเปื้อน บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO ทำการปาดหน้าดินบริเวณที่เกิดเหตุที่ระดับความลึกประมาณ 20-100 เซนติเมตร และได้ขนย้ายดินปนเปื้อนไปทำการปรับเสถียรที่โรงงานจังหวัดระยอง ก่อนจะนำไปฝังกลบที่บ่อฝังกลบ จังหวัดราชบุรี โดยปัจจุบันไดัขนย้ายดินไปกำจัดแลัว 5,108 ตัน
2.2 การติดตามตรวจสอบผลกระทบ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังสภาพปัญหาการปนเปื้อนในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่กองกากของเสีย โดยเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อบาดาลบริเวณชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งผลการตรวจสอบที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2547 พบว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังไม่พบวามีการปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-