คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องข้อสรุปอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี งบประมาณ 2548-2549 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบข้อเสนออัตราเหมาจ่ายรายหัวโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เท่ากับ 1,510.50 บาทต่อประชากร ในปีงบประมาณ 2548 แต่ให้เริ่มใช้ในปีงบประมาณ 2549 โดยให้เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขั้นเงินเดือนบุคลากรและอัตราเงินเฟ้อ (inflation) ทั้งนี้ ให้คิดหักเงินเดือนบุคลากรสำนักงานปลัด สธ. ที่ร้อยละ 79 ของเงินเดือนทั้งหมด
2. เห็นชอบให้ปรับอัตราเหมาจ่ายในปีงบประมาณ 2548 เป็น 1,396.30 บาทต่อประชากร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสถานพยาบาล โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณปีงบประมาณ 2548 เพิ่มขึ้นจำนวน 6,882 ล้านบาท
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้นำผู้บริหารของ สธ. เข้าพบเพื่อประชุมปรึกษาหารือกับนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ และนายวิษณุ เครืองาม) และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี รวมทั้งหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในการเข้าพบครั้งนี้ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพได้นำเสนอเกี่ยวกับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของโครงการ 30 บาท ซึ่งนายกรัฐมนตรี และที่ประชุมได้ให้ข้อแนะนำรวมทั้งมีมติในเรื่องดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ
1. เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้นำเสนอถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเสนอขอปรับอัตราเหมาจ่ายรายหัวของโครงการ 30 บาท จากที่ได้รับความเห็นชอบปัจจุบัน (1308.50 บาทต่อประชากร) เป็น 1,510.50 บาทต่อประชากรซึ่งเป็นอัตราพัฒนาโดยคณะนักวิชาการ และได้รับความเห็นชอบจากหลายฝ่ายหลายสถาบันทางวิชาการ รวมทั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังฯ ซึ่งมี ดร.โอฬาร ไชยประวัติ เป็นประธาน เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณที่ได้รับจัดสรรต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมาก สถานพยาบาลมีการขาดทุนสะสมกว่า 26,000 ล้านบาท ทำให้สถานะเงินบำรุงของหน่วยบริการลดลงอย่างมาก
2. นายกรัฐมนตรีและที่ประชุมได้ให้ข้อแนะนำ
2.1 ปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเพิ่มขึ้น โดยเป็นการใช้บริการผู้ป่วยนอก ขณะที่การใช้บริการผู้ป่วยในลดลง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี เพราะแสดงว่าประชาชนเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลในระยะต้นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเจ็บป่วยรุนแรงที่ต้องพักรักษาในโรงพยาบาลลดลง ควรให้ความสำคัญกับการให้บริการระดับต้น และกระจายบริการดังกล่าวให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น PCU โครงการคลินิกชุมชนอบอุ่น โดยเน้นการทำงานเชิงรุกด้านสร้างสุขภาพเพิ่มขึ้น เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของระบบและทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
2.2 ปัญหางบประมาณสนับสนุนโครงการ 30 บาท อาจต้องพิจารณาหลาย ๆ แนวทาง เช่น การให้คนที่มีฐานะร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้าพักห้องพิเศษ ซึ่งในปัจจุบันจ่ายเพิ่มเฉพาะค่าห้อง การแก้ไขระบบการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจากรถ (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ) เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และอาจทำให้มีงบประมาณเพิ่มมาใช้ในระบบมากขึ้น รวมทั้งการใช้เงินจากภาษีที่ระบุเฉพาะ (earmarked tax) เช่น ภาษีเหล้าและบุหรี่ (sin tax) และภาษีจากการบริโภคสินค้าอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
2.3 ในปีงบประมาณ 2548 การแก้ไขปัญหางบประมาณของโครงการทั้งหมดทันที ยังไม่สามารถดำเนินการได้เพราะข้อจำกัดงบประมาณจากวินัยการคลังของประเทศ อย่างไรก็ตามโครงการ 30 บาท จนถึงปัจจุบันนับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โครงการใหญ่ ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก แต่สามารถบริหารได้โดยไม่เกิดความวุ่นวาย (chaos) ถือว่าเป็นความสำเร็จที่น่าชมเชยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง
3. มติที่ประชุม
3.1 เห็นชอบข้อเสนออัตราเหมาจ่ายรายหัวของโครงการ 30 บาท เท่ากับ 1,510.50 บาทต่อประชากรในปีงบประมาณ 2548 แต่ให้เริ่มใช้ในปีงบประมาณ 2549 โดยให้เพิ่มอีกประมาณร้อยละ 7 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนบุคลากรและอัตราเงินเฟ้อ (inflation) รวมทั้ง ร้อยละ 21 ของเงินเดือนทั้งหมดในโครงการ 30 บาท
3.2 เห็นชอบให้ปรับอัตราเหมาจ่ายรายหัวในปีงบประมาณ 2548 เป็น 1,396.30 บาทต่อประชากร ตามข้อเสนอของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสถานพยาบาลเฉพาะหน้า โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณในปี 2548 เพิ่มขึ้นประมาณ 6,882 ล้านบาท โดยให้ตัดคืนเงินเดือนบุคลากรสังกัด สธ. สำหรับภาระงานในโครงการอื่นนอกโครงการ 30 บาท ร้อยละ 21 ของเงินเดือนทั้งหมดในโครงการ 30 บาท ให้ สธ. ประมาณ 4,395 ล้านบาท (ได้เพิ่มเติมตามมติแล้ว 1,000 ล้านบาท รวมเป็น 5,395 ล้านบาท)
3.3 มอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องสำคัญ ๆ ดังนี้
3.3.1 รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) ดำเนินการ
1) พัฒนาข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความซ้ำซ้อนได้
2) ศึกษาเรื่องมาตรการภาษีระยะยาว เพื่อให้มีการ earmark ภาษีเหล้าและบุหรี่ (Sin Tax) ที่มาใช้ในโครงการ 30 บาท ในอนาคต
3.3.2 สธ.ให้เร่งดำเนินการ
1) การสร้างสุขภาพเพื่อให้ได้ผลอย่างจริงจัง โดยให้พิจารณาขอการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสุขภาพของประชาชนมากขึ้น
2) มอบให้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหาทางออกกรณีการร่วมจ่ายของประชาชน (co-payment) โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
3.3.3 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการ
1) ปรับประสิทธิภาพของระบบโดยจัดระบบงบประมาณให้มีการจัดสรรตามผลงาน
2) มอบให้ร่วมกับรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา) หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อหาทางออกกรณีการร่วมจ่ายของประชาชน (co-payment) โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
3) พัฒนาข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดทำระบบ Helth Insurance เพื่อบริการเสริมที่อยู่นอกเหนือสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบข้อเสนออัตราเหมาจ่ายรายหัวโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เท่ากับ 1,510.50 บาทต่อประชากร ในปีงบประมาณ 2548 แต่ให้เริ่มใช้ในปีงบประมาณ 2549 โดยให้เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขั้นเงินเดือนบุคลากรและอัตราเงินเฟ้อ (inflation) ทั้งนี้ ให้คิดหักเงินเดือนบุคลากรสำนักงานปลัด สธ. ที่ร้อยละ 79 ของเงินเดือนทั้งหมด
2. เห็นชอบให้ปรับอัตราเหมาจ่ายในปีงบประมาณ 2548 เป็น 1,396.30 บาทต่อประชากร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสถานพยาบาล โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณปีงบประมาณ 2548 เพิ่มขึ้นจำนวน 6,882 ล้านบาท
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้นำผู้บริหารของ สธ. เข้าพบเพื่อประชุมปรึกษาหารือกับนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ และนายวิษณุ เครืองาม) และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี รวมทั้งหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในการเข้าพบครั้งนี้ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพได้นำเสนอเกี่ยวกับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของโครงการ 30 บาท ซึ่งนายกรัฐมนตรี และที่ประชุมได้ให้ข้อแนะนำรวมทั้งมีมติในเรื่องดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ
1. เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้นำเสนอถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเสนอขอปรับอัตราเหมาจ่ายรายหัวของโครงการ 30 บาท จากที่ได้รับความเห็นชอบปัจจุบัน (1308.50 บาทต่อประชากร) เป็น 1,510.50 บาทต่อประชากรซึ่งเป็นอัตราพัฒนาโดยคณะนักวิชาการ และได้รับความเห็นชอบจากหลายฝ่ายหลายสถาบันทางวิชาการ รวมทั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังฯ ซึ่งมี ดร.โอฬาร ไชยประวัติ เป็นประธาน เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณที่ได้รับจัดสรรต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมาก สถานพยาบาลมีการขาดทุนสะสมกว่า 26,000 ล้านบาท ทำให้สถานะเงินบำรุงของหน่วยบริการลดลงอย่างมาก
2. นายกรัฐมนตรีและที่ประชุมได้ให้ข้อแนะนำ
2.1 ปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเพิ่มขึ้น โดยเป็นการใช้บริการผู้ป่วยนอก ขณะที่การใช้บริการผู้ป่วยในลดลง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี เพราะแสดงว่าประชาชนเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลในระยะต้นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเจ็บป่วยรุนแรงที่ต้องพักรักษาในโรงพยาบาลลดลง ควรให้ความสำคัญกับการให้บริการระดับต้น และกระจายบริการดังกล่าวให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น PCU โครงการคลินิกชุมชนอบอุ่น โดยเน้นการทำงานเชิงรุกด้านสร้างสุขภาพเพิ่มขึ้น เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของระบบและทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
2.2 ปัญหางบประมาณสนับสนุนโครงการ 30 บาท อาจต้องพิจารณาหลาย ๆ แนวทาง เช่น การให้คนที่มีฐานะร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเข้าพักห้องพิเศษ ซึ่งในปัจจุบันจ่ายเพิ่มเฉพาะค่าห้อง การแก้ไขระบบการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจากรถ (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ) เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และอาจทำให้มีงบประมาณเพิ่มมาใช้ในระบบมากขึ้น รวมทั้งการใช้เงินจากภาษีที่ระบุเฉพาะ (earmarked tax) เช่น ภาษีเหล้าและบุหรี่ (sin tax) และภาษีจากการบริโภคสินค้าอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
2.3 ในปีงบประมาณ 2548 การแก้ไขปัญหางบประมาณของโครงการทั้งหมดทันที ยังไม่สามารถดำเนินการได้เพราะข้อจำกัดงบประมาณจากวินัยการคลังของประเทศ อย่างไรก็ตามโครงการ 30 บาท จนถึงปัจจุบันนับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โครงการใหญ่ ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก แต่สามารถบริหารได้โดยไม่เกิดความวุ่นวาย (chaos) ถือว่าเป็นความสำเร็จที่น่าชมเชยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง
3. มติที่ประชุม
3.1 เห็นชอบข้อเสนออัตราเหมาจ่ายรายหัวของโครงการ 30 บาท เท่ากับ 1,510.50 บาทต่อประชากรในปีงบประมาณ 2548 แต่ให้เริ่มใช้ในปีงบประมาณ 2549 โดยให้เพิ่มอีกประมาณร้อยละ 7 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนบุคลากรและอัตราเงินเฟ้อ (inflation) รวมทั้ง ร้อยละ 21 ของเงินเดือนทั้งหมดในโครงการ 30 บาท
3.2 เห็นชอบให้ปรับอัตราเหมาจ่ายรายหัวในปีงบประมาณ 2548 เป็น 1,396.30 บาทต่อประชากร ตามข้อเสนอของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสถานพยาบาลเฉพาะหน้า โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณในปี 2548 เพิ่มขึ้นประมาณ 6,882 ล้านบาท โดยให้ตัดคืนเงินเดือนบุคลากรสังกัด สธ. สำหรับภาระงานในโครงการอื่นนอกโครงการ 30 บาท ร้อยละ 21 ของเงินเดือนทั้งหมดในโครงการ 30 บาท ให้ สธ. ประมาณ 4,395 ล้านบาท (ได้เพิ่มเติมตามมติแล้ว 1,000 ล้านบาท รวมเป็น 5,395 ล้านบาท)
3.3 มอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องสำคัญ ๆ ดังนี้
3.3.1 รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) ดำเนินการ
1) พัฒนาข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความซ้ำซ้อนได้
2) ศึกษาเรื่องมาตรการภาษีระยะยาว เพื่อให้มีการ earmark ภาษีเหล้าและบุหรี่ (Sin Tax) ที่มาใช้ในโครงการ 30 บาท ในอนาคต
3.3.2 สธ.ให้เร่งดำเนินการ
1) การสร้างสุขภาพเพื่อให้ได้ผลอย่างจริงจัง โดยให้พิจารณาขอการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสุขภาพของประชาชนมากขึ้น
2) มอบให้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหาทางออกกรณีการร่วมจ่ายของประชาชน (co-payment) โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
3.3.3 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการ
1) ปรับประสิทธิภาพของระบบโดยจัดระบบงบประมาณให้มีการจัดสรรตามผลงาน
2) มอบให้ร่วมกับรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา) หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อหาทางออกกรณีการร่วมจ่ายของประชาชน (co-payment) โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
3) พัฒนาข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดทำระบบ Helth Insurance เพื่อบริการเสริมที่อยู่นอกเหนือสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-