คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประเมินผลสัมฤทธิ์การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนโดยเฉพาะหนี้ นอกระบบ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาจากสำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยมี ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เป็นหัวหน้าโครงการเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนโดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ในวงเงิน 800,000 บาท เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ ทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ การบริหารจัดการ ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของกลุ่มเป้าหมายต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนโดยเฉพาะหนี้นอกระบบ
บัดนี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้ดำเนินการวิจัยสำรวจ เรื่อง "ความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 19 จังหวัดจากทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง" เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีผลการประเมินที่สำคัญ ดังนี้
1. การประเมินเรื่องการรับรู้การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ พบว่า
1.1 ทราบว่ารัฐบาลประกาศนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบเป็นนโยบายเร่งด่วนคิดเป็นร้อยละ 75.2 และไม่ทราบ คิดเป็นร้อยละ 24.8
1.2 ทราบว่าได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเจรจาหนี้สินนอกระบบในระดับอำเภอ คิดเป็นร้อยละ 76.6 และไม่ทราบ คิดเป็นร้อยละ 23.4
1.3 ทราบข่าวการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบจากทางราชการในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 75.1 และไม่ทราบ คิดเป็นร้อยละ 24.9
2. การประเมินเรื่องด้านความพึงพอใจต่อกระบวนการเจรจาแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ (เฉพาะประชาชนที่ผ่านกระบวนการเจรจา)
2.1 พอใจต่อความรวดเร็ว/ทันการณ์ของเวลาที่ใช้ในการเจรจา คิดเป็นร้อยละ 84.4 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 15.6
2.2 พอใจต่อความร่วมมือ/เอาใจของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา คิดเป็นร้อยละ 87.7 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 12.3
2.3 พอใจต่อความยุติธรรม/ความเป็นธรรมที่ได้รับในกระบวนการเจรจา คิดเป็นร้อยละ 86.3 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 13.7
2.4 พอใจต่อผลการเจรจาช่วยแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ คิดเป็นร้อยละ 75.8 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 24.3
2.5 สรุปภาพรวมพอใจต่อกระบวนการเจรจา คิดเป็นร้อยละ 83.5 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 16.53. การประเมินเรื่องการให้คะแนนของประชาชนต่อผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล พบว่า ประชาชนให้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.76 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
4. การประเมินเรื่องประชาชนผู้มีปัญหาหนี้สินนอกระบบมีแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้สินของตนเอง
ในอนาคต พบว่า
4.1 โอกาสลดลงของจำนวนหนี้สินใน 1-2 ปีข้างหน้า คิดเป็นร้อยละ 71.6 และไม่ลดลง (เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น) คิดเป็นร้อยละ 28.4
4.2 สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้สะดวกขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้า คิดเป็นร้อยละ 54.2 และไม่สะดวกขึ้น คิดเป็นร้อยละ 45.8
4.3 จะได้ดอกเบี้ยถูกลงในการกู้ยืมเงินใน 1-2 ปีข้างหน้า คิดเป็นร้อยละ 51.9 และไม่ถูกลง คิดเป็นร้อยละ 48.1
5. การประเมินเรื่องผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ พบว่า
5.1 ทำให้คนในสังคมสนใจต่อปัญหาหนี้สินนอกระบบมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 89.9 และไม่ได้ทำให้คนสนใจมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 10.1
5.2 เจ้าหน้าที่เอาใจใส่ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ คิดเป็นร้อยละ 84.3 และไม่ได้เอาใจใส่ คิดเป็นร้อยละ 15.7
5.3 เจ้าหนี้ลดการเอาเปรียบลง คิดเป็นร้อยละ 64.0 และไม่ลดการเอาเปรียบ (เอาเปรียบเหมือนเดิมหรือเพิ่มขึ้น) คิดเป็นร้อยละ 36.0
6. การประเมินเรื่องความเชื่อมั่นต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบในระยะต่อไปพบว่า
6.1 ประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 73.0 และไม่มั่นใจ คิดเป็นร้อยละ 27.0
6.2 ประชาชนมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่จะตั้งใจทุ่มเทแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่าง ต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 73.7 และไม่มั่นใจ คิดเป็นร้อยละ 26.3
6.3 ประชาชนมั่นใจว่าเจ้าหนี้จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างจริงจัง คิดเป็นร้อยละ 71.2 และไม่มั่นใจคิดเป็นร้อยละ 28.8
7. การประเมินเรื่องลักษณะการใช้จ่ายเงินที่ได้จากการกู้ยืม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนใช้จ่ายเป็นการลงทุนทำมาหากิน คิดเป็นร้อยละ 67.4 ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน คิดเป็นร้อยละ 41.9 และส่งลูกหลานเรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 33.0 ตามลำดับ
8. การประเมินเรื่องความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า คิดว่ารัฐบาลจะเข้ามารับผิดชอบชำระหนี้แทนประชาชน คิดเป็นร้อยละ 49.6 คิดว่ารัฐบาลจะเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาแก้ปัญหาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ คิดเป็นร้อยละ 50.7 และเข้าใจเป็นอย่างอื่น ได้แก่ คิดว่ารัฐบาลจะช่วยเหลือโดยที่ให้มีการคิดดอกเบี้ย คิดว่าให้ไปลงชื่อจดทะเบียนเฉย ๆ ช่วยจัดการทำให้ดอกเบี้ยถูกลง คิดเป็นร้อยละ 19.8
9. การประเมินเรื่องสภาพและความคิดเห็นของเจ้าหน้าท่าเกี่ยวกับการทำงาน พบว่า
9.1 เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีอุปสรรคในการทำงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ คิดเป็นร้อยละ 68.8 และไม่มีอุปสรรค คิดเป็นร้อยละ 31.2 โดยปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุด คือ การไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งด้าน เจ้าหนี้และลูกหนี้ ปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหนี้และลูกหนี้ และการทำงานในเรื่องนี้ มีผลกระทบต่อการทำงานประจำ รวมทั้งข้อจำกัดบางประการของทางราชการ
9.2 เจ้าหน้าที่เห็นว่าข้อมูล ข่าวสารที่ควรรับรู้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน พบว่า ความต้องการรับทราบแนวคิด/แนวนโยบายของรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 60.0 ลำดับถัดไป ความคิดเห็น/ความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 48.7 และกฎหมาย/กฎระเบียบที่ใช้ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 48.5 เป็นลำดับสุดท้าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาจากสำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยมี ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เป็นหัวหน้าโครงการเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนโดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ในวงเงิน 800,000 บาท เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ ทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ การบริหารจัดการ ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของกลุ่มเป้าหมายต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนโดยเฉพาะหนี้นอกระบบ
บัดนี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้ดำเนินการวิจัยสำรวจ เรื่อง "ความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 19 จังหวัดจากทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง" เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีผลการประเมินที่สำคัญ ดังนี้
1. การประเมินเรื่องการรับรู้การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ พบว่า
1.1 ทราบว่ารัฐบาลประกาศนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบเป็นนโยบายเร่งด่วนคิดเป็นร้อยละ 75.2 และไม่ทราบ คิดเป็นร้อยละ 24.8
1.2 ทราบว่าได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเจรจาหนี้สินนอกระบบในระดับอำเภอ คิดเป็นร้อยละ 76.6 และไม่ทราบ คิดเป็นร้อยละ 23.4
1.3 ทราบข่าวการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบจากทางราชการในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 75.1 และไม่ทราบ คิดเป็นร้อยละ 24.9
2. การประเมินเรื่องด้านความพึงพอใจต่อกระบวนการเจรจาแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ (เฉพาะประชาชนที่ผ่านกระบวนการเจรจา)
2.1 พอใจต่อความรวดเร็ว/ทันการณ์ของเวลาที่ใช้ในการเจรจา คิดเป็นร้อยละ 84.4 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 15.6
2.2 พอใจต่อความร่วมมือ/เอาใจของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา คิดเป็นร้อยละ 87.7 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 12.3
2.3 พอใจต่อความยุติธรรม/ความเป็นธรรมที่ได้รับในกระบวนการเจรจา คิดเป็นร้อยละ 86.3 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 13.7
2.4 พอใจต่อผลการเจรจาช่วยแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ คิดเป็นร้อยละ 75.8 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 24.3
2.5 สรุปภาพรวมพอใจต่อกระบวนการเจรจา คิดเป็นร้อยละ 83.5 และไม่พอใจ คิดเป็นร้อยละ 16.53. การประเมินเรื่องการให้คะแนนของประชาชนต่อผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล พบว่า ประชาชนให้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.76 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
4. การประเมินเรื่องประชาชนผู้มีปัญหาหนี้สินนอกระบบมีแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้สินของตนเอง
ในอนาคต พบว่า
4.1 โอกาสลดลงของจำนวนหนี้สินใน 1-2 ปีข้างหน้า คิดเป็นร้อยละ 71.6 และไม่ลดลง (เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น) คิดเป็นร้อยละ 28.4
4.2 สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้สะดวกขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้า คิดเป็นร้อยละ 54.2 และไม่สะดวกขึ้น คิดเป็นร้อยละ 45.8
4.3 จะได้ดอกเบี้ยถูกลงในการกู้ยืมเงินใน 1-2 ปีข้างหน้า คิดเป็นร้อยละ 51.9 และไม่ถูกลง คิดเป็นร้อยละ 48.1
5. การประเมินเรื่องผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ พบว่า
5.1 ทำให้คนในสังคมสนใจต่อปัญหาหนี้สินนอกระบบมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 89.9 และไม่ได้ทำให้คนสนใจมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 10.1
5.2 เจ้าหน้าที่เอาใจใส่ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ คิดเป็นร้อยละ 84.3 และไม่ได้เอาใจใส่ คิดเป็นร้อยละ 15.7
5.3 เจ้าหนี้ลดการเอาเปรียบลง คิดเป็นร้อยละ 64.0 และไม่ลดการเอาเปรียบ (เอาเปรียบเหมือนเดิมหรือเพิ่มขึ้น) คิดเป็นร้อยละ 36.0
6. การประเมินเรื่องความเชื่อมั่นต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบในระยะต่อไปพบว่า
6.1 ประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 73.0 และไม่มั่นใจ คิดเป็นร้อยละ 27.0
6.2 ประชาชนมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่จะตั้งใจทุ่มเทแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่าง ต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 73.7 และไม่มั่นใจ คิดเป็นร้อยละ 26.3
6.3 ประชาชนมั่นใจว่าเจ้าหนี้จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างจริงจัง คิดเป็นร้อยละ 71.2 และไม่มั่นใจคิดเป็นร้อยละ 28.8
7. การประเมินเรื่องลักษณะการใช้จ่ายเงินที่ได้จากการกู้ยืม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนใช้จ่ายเป็นการลงทุนทำมาหากิน คิดเป็นร้อยละ 67.4 ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน คิดเป็นร้อยละ 41.9 และส่งลูกหลานเรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 33.0 ตามลำดับ
8. การประเมินเรื่องความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า คิดว่ารัฐบาลจะเข้ามารับผิดชอบชำระหนี้แทนประชาชน คิดเป็นร้อยละ 49.6 คิดว่ารัฐบาลจะเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาแก้ปัญหาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ คิดเป็นร้อยละ 50.7 และเข้าใจเป็นอย่างอื่น ได้แก่ คิดว่ารัฐบาลจะช่วยเหลือโดยที่ให้มีการคิดดอกเบี้ย คิดว่าให้ไปลงชื่อจดทะเบียนเฉย ๆ ช่วยจัดการทำให้ดอกเบี้ยถูกลง คิดเป็นร้อยละ 19.8
9. การประเมินเรื่องสภาพและความคิดเห็นของเจ้าหน้าท่าเกี่ยวกับการทำงาน พบว่า
9.1 เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีอุปสรรคในการทำงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ คิดเป็นร้อยละ 68.8 และไม่มีอุปสรรค คิดเป็นร้อยละ 31.2 โดยปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุด คือ การไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งด้าน เจ้าหนี้และลูกหนี้ ปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหนี้และลูกหนี้ และการทำงานในเรื่องนี้ มีผลกระทบต่อการทำงานประจำ รวมทั้งข้อจำกัดบางประการของทางราชการ
9.2 เจ้าหน้าที่เห็นว่าข้อมูล ข่าวสารที่ควรรับรู้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน พบว่า ความต้องการรับทราบแนวคิด/แนวนโยบายของรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 60.0 ลำดับถัดไป ความคิดเห็น/ความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 48.7 และกฎหมาย/กฎระเบียบที่ใช้ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 48.5 เป็นลำดับสุดท้าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-