คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ตามข้อเสนอของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ยกร่างร่วมกันระหว่าง 6 ประเทศ คือ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และจีน(ยูนนาน) ภายใต้โครงการความร่วมมือสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (UN Inter-Agency Project on Human Trafficking in the Greater Mekong Sub-Region : UNIAP) ประกอบด้วยประเด็นหลักๆ คือ สถานการณ์ปัญหาของการค้ามนุษย์ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ กระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศและการริเริ่มความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและพหุภาคี และได้มีการให้คำมั่นสัญญาในการปฏิบัติร่วมกันเกี่ยวกับนโยบายและความร่วมมือ (ระดับชาติและระหว่างประเทศ) กรอบทางกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การคุ้มครอง การฟื้นฟูและการส่งกลับคืนสู่สังคม มาตรการป้องกันกลไกในการดำเนินงาน การติดตามและการประเมินผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ยกร่างร่วมกันระหว่าง 6 ประเทศ คือ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และจีน(ยูนนาน) ภายใต้โครงการความร่วมมือสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (UN Inter-Agency Project on Human Trafficking in the Greater Mekong Sub-Region : UNIAP) ประกอบด้วยประเด็นหลักๆ คือ สถานการณ์ปัญหาของการค้ามนุษย์ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ กระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศและการริเริ่มความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและพหุภาคี และได้มีการให้คำมั่นสัญญาในการปฏิบัติร่วมกันเกี่ยวกับนโยบายและความร่วมมือ (ระดับชาติและระหว่างประเทศ) กรอบทางกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การคุ้มครอง การฟื้นฟูและการส่งกลับคืนสู่สังคม มาตรการป้องกันกลไกในการดำเนินงาน การติดตามและการประเมินผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-