1. แต่งตั้งข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายอำนาจ พัวเวส ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน [(นิติการ) สูง] สำนักนิติธรรม ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
2. คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติม จำนวน 6 คณะ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ดังนี้
1. คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน ไทย — กัมพูชา
2. คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย — กัมพูชา
3. คณะกรรมการระดับสูง ไทย — มาเลเซีย
4. คณะกรรมการระดับสูง ไทย — อินโดนีเซีย
5. คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ไทย — พม่า
6. คณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น ไทย — พม่า
โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. คณะกรรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนไทย — กัมพูชา (Border Peace Keeping Committee Between Thailand and Cambodia : BPKC) องค์ประกอบ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการ เสนาธิการทหาร และปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็น รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่ชาติ เสนาธิการทหารบก เสนาธิการทหารเรือ เสนาธิการทหารอากาศ รองเสนาธิการทหาร (ด้านยุทธการ การข่าว กิจการพลเรือน) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมป่าไม้ เอกอัครราชทูต ประจำราชอาณาจักรกัมพูชา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เจ้ากรมยุทธการทหาร เจ้ากรมกิจการชายแดนไทย —กัมพูชา โดยมีผู้อำนวยการกองกิจการชายแดน ไทย — กัมพูชา กรมกิจการชายแดนทหาร เป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้าส่วนประสานงานด้านกัมพูชา ศูนย์ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก หัวหน้าฝ่ายยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก หัวหน้าฝ่ายยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ / ผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. ประชุมปรึกษาหารือเพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อย และเสถียรภาพในพื้นที่ตามแนวชายแดน ตามคำสั่ง และนโยบายของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมืออย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ทันเวลาเพื่อไม่ให้ลุกลามออกไป รวมทั้งป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่ตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ ส่งเสริมการติดต่อ และการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตามแนวชายแดนในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น
2. กำหนดนโยบาย และออกคำสั่งให้คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ไทย — กัมพูชา และระดับท้องถิ่นร่วมมือกันปฏิบัติงานให้ได้ผลอย่างจริงจัง ควบคุม อำนวยการและกำกับดูแลการดำเนินงานพิจารณาข้อเสนอ และทบทวนมาตรการที่คณะกรรมการชายแดน ส่วนภูมิภาคไทย — กัมพูชา กำหนดขึ้น
3. จัดการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน ไทย — กัมพูชา อย่างน้อยปีละครั้ง สลับกันทั้งในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ในกรณีเร่งด่วนอาจจัดประชุมเป็นกรณีพิเศษ ตามความจำเป็นของสถานการณ์ ณ สถานที่ที่เห็นชอบร่วมกัน
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติกิจเฉพาะได้ตามความจำเป็น
2. คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ไทย — กัมพูชา (Regional Border Committee Between Thailand and Cambodia : RBC)
องค์ประกอบ
ด้านกองทัพภาคที่ 1 แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นประธานกรรมการ รองแม่ทัพภาคที่ 1 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว และผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้บัญชาการกองกำลังบูรพา หัวหน้าสำนักงานประสานงานชายแดนไทย — กัมพูชา ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 1 หัวหน้าศูนย์ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ พาณิชย์จังหวัดสระแก้ว ผู้อำนวยการศุลกากรภาคที่ 1 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ผู้กำกับด่านตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1 เป็นกรรมการ / เลขานุการ รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 1 และเสนาธิการกองกำลังบูรพา เป็นกรรมการ / ผู้ช่วยเลขานุการ
ด้านกองทัพภาคที่ 2 แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานกรรมการ รองแม่ทัพภาคที่ 2 ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี หัวหน้าสำนักงานประสานงานชายแดนไทย — กัมพูชา ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 1 หัวหน้าศูนย์ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ พาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ป่าไม้เขต นครราชสีมา อุบลราชธานี ผู้อำนวยการศุลกากรภาคที่ 2 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 ผุ้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี เสนาธิการกองทัพภาคที่ 2 เป็น กรรมการ / เลขานุการ ผู้อำนวยการกองยุทธการกองทัพภาคที่ 2 และ เสนาธิการกองกำลังสุรนารี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ด้านกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด เป็นประธานกรรมการ รองผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (นาวิกโยธิน) รองผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (นาวิน) ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจังหวัดตราด ผู้บังคับหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน หัวหน้าสำนักงานประสานงานชายแดนไทย — กัมพูชา ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 1 หัวหน้าศูนย์ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ พาณิชย์จังหวัดจันทบุรี พาณิชย์จังหวัดตราด ผู้อำนวยการศุลกากรภาค 1 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ผู้บังคับการด่านตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี เสนาธิการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด เป็นกรรมการ / เลขานุการ รองเสนาธิการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (นาวิกโยธิน) เป็นกรรมการ / ผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. ประชุม ปรึกษา หารือ โดยยึดถือคำสั่งและนโยบายของคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนไทย — กัมพูชา ที่กำหนดไว้ เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ตามแนวชายแดนและการแก้ไขปัญหาเฉพาะอื่น ๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นบริเวณชายแดนร่วมกัน
2. ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ และความร่วมมือในระดับท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตามแนวชายแดน
3. ส่งเสริมการติดต่อระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ การค้าชายแดนระหว่างกันและความร่วมมือในโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน
4. ร่วมมือแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และการลักลอบค้าขายสินค้าที่ผิดกฎหมายของทั้งสองประเทศ
5. ร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หนีภัย และประสานงานกันในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากการ สู้รบบริเวณชายแดน
6. ตรวจสอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน และแก้ไขปัญาต่าง ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์มิให้ขยายตัวลุกลามออกไป
7. ให้คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา อำนวยการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานชายแดนไทย - กัมพูชา และชุดติดต่อประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา ของทั้งสองประเทศ (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งสำนักงานประสานงานและชุดติดต่อประสานงานที่ควบคู่กันขึ้นตามสถานที่ที่แต่ละฝ่ายกำหนด
8. จัดการติดต่อสื่อสารระหว่างกองกำลังทั้งสองฝ่าย และชุดติดต่อประสานงานที่ควบคู่กันให้สามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา
9. จัดการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย - กัมพูชา อย่างน้อย ปีละสองครั้ง ในประเทศไทยและกัมพูชาสลับกันไป ในกรณีเร่งด่วนให้จัดการประชุมตามความจำเป็นของสถานการณ์ ณ สถานที่ที่เห็นชอบร่วมกัน
3. คณะกรรมการระดับสูง ไทย — มาเลเซีย (High Level Committee : HLC)
องค์ประกอบ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการ เสนาธิการทหาร เป็นรองประธาน กรรมการประกอบด้วย เจ้ากรมยุทธการทหาร เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เจ้ากรมข่าวทหาร เจ้ากรมแผนที่ทหาร แม่ทัพภาคที่ 4 เจ้ากรมยุทธการทหารบก เจ้ากรมอุทกศาสตร์ ผู้บัญชาการตำรวจตะเวนชายแดน ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมศุลกากร ผู้อำนวยการสำนักความมั่นคงกิจการชายแดนและการป้องกันประเทศ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย โดยมี ผู้อำนวยการกองกิจการชายแดนไทย — มาเลเซีย กรมกิจการชายแดนทหาร เป็นกรรมการ/เลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. ประชุม ปรึกษา หารือ เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กรอบนโยบายของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย — มาเลเซีย และประเมินสถานการณ์ เพื่อพิจาณากำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินการให้กับคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย — มาเลเซีย
2. ประสานงานกับคณะกรรมาธิการและคณะกรรมการชายแดนไทย — มาเลเซีย ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติต่าง ๆ สอดคล้องกับแนวทางและนโยบายของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย — มาเลเซีย
3. เชิญผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ปรึกษา หารือ เพื่อประกอบการพิจาณากำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินการและงานด้านธุรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย — มาเลเซีย (ฝ่ายไทย)
4. เสนอผลการดำเนินงานและข้อพิจารณาต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย — มาเลเซีย (ฝ่ายไทย) เพื่อทราบและพิจารณาให้ความเห็นชอบตามความจำเป็น
4. คณะกรรมการระดับสูง ไทย — อินโดนีเซีย (High Level Committee : HLC)
องค์ประกอบ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการ เสนาธิการทหาร เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย เสนาธิการทหารบก หรือผู้แทน เสนาธิการทหารเรือ หรือผู้แทน เสนาธิการทหารอากาศ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม หรือผู้แทน เจ้ากรมข่าวทหาร หรือผู้แทน เจ้ากรมยุทธการทหาร หรือผู้แทน เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร หรือผู้แทน โดยมี เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เป็นกรรมการ/เลขานุการ ผู้อำนวยการกองกิจการชายแดนไทย — อินโดนีเซีย เป็นกรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. พิจารณากำหนดกรอบความร่วมมือทางทหารระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพอินโดนีเซีย ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ
2. ประสานและประชุมร่วมกับกองทัพอินโดนีเซียในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการความร่วมมือทางทหาร โดยยึดถือนโยบายและเป้าหมายในการดำเนินงานตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนด โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือด้านการฝึกและการศึกษาทางทหาร การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บังคับบัญชาทางทหารสูงสุด และการแลกเปลี่ยนข่าวกรองทางทหารระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพอินโดนีเซีย
3. ให้คำแนะนำ ปรึกษาและความเห็นชอบโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่เหล่าทัพเสนอจัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการ ตลอดจนกำกับดูแล และประเมินผลการดำเนินงานนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพิจารณาอนุมัติ
4. ให้จัดการประชุมร่วมกันปีละ 1 ครั้ง ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ โดยกำหนดจำนวนวันและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมให้น้อยที่สุด เพื่อประหยัดงบประมาณ
5. ดำเนินการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
5. คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ไทย — พม่า (Regional Border Committee : RBC)
องค์ประกอบ พื้นที่รับผิดชอบกองทัพภาคที่ 1 แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี ผู้อำนวยการกองกิจการชายแดน ไทย — พม่า กรมกิจการชายแดนทหาร เป็นกรรมการ/เลขานุการ
พื้นที่รับผิดชอบกองทัพภาคที่ 3 แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3 ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี ผู้อำนวยการกองกิจการชายแดน ไทย — พม่า กรมกิจการชายแดนทหาร เป็นกรรมการ/เลขานุการ
พื้นที่รับผิดชอบกองทัพภาคที่ 4 แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี ผู้อำนวยการกองกิจการชายแดน ไทย — พม่า กรมกิจการชายแดนทหาร เป็นกรรมการ/เลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. ปรึกษา หารือถึงมาตรการซึ่งอาจจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาความมั่นคงร่วมกันและปัญหาเฉพาะอื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบริเวณชายแดน
2. รับผิดชอบให้มีการปฏิบัติมาตรการ โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจและการประสานงานและการควบคุมดูแลให้บังเกิดผลของการปฏิบัตินั้น ส่วนการประสานงานในการปฏิบัติมาตรการทั้งปวง ให้ดำเนินการโดยการติดต่อระหว่างคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น
3. จัดประชุมตามความจำเป็นของสถานการณ์ ณ สถานที่ที่เห็นชอบร่วมกัน
6. คณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น ไทย — พม่า (Township Border Committee : TBC)
องค์ประกอบ
1. อำเภอแม่สาย ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายอำเภอแม่สาย หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่สาย ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาคเหนือ นายด่านศุลกากรแม่สาย ผู้แทนหน่วยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี หัวหน้าหน่วยประสานงานชายแดน ไทย — พม่า ที่ 1 เป็น กรรมการ/เลขานุการ
2. อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาคเหนือ นายด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน ผู้แทนหน่วยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี หัวหน้าหน่วยประสานงานชายแดน ไทย — พม่า ที่ 2 เป็น กรรมการ/เลขานุการ
3. อำเภอแม่สอด ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายอำเภอแม่สอด หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่สอด ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 ผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาคเหนือ นายด่านศุลกากรแม่สอด ผู้แทนหน่วยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี หัวหน้าหน่วยประสานงานชายแดน ไทย — พม่า ที่ 3 เป็น กรรมการ/เลขานุการ
4. บ้านพระเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายอำเภอสังขละบุรี หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอสังขละบุรี ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 นายด่านศุลกากรสังขละบุรี ผู้แทนหน่วยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี หัวหน้าหน่วยประสานงานชายแดน ไทย — พม่า ที่ 4 เป็น กรรมการ/เลขานุการ
5. อำเภอเมืองระนอง ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายอำเภอเมือง จังหวัดระนอง หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองระนอง ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 นายด่านศุลกากรระนอง ผู้แทนศูนย์ประสานงานประมงชายแดนทางทะเล ไทย — พม่า ผู้แทนหน่วยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี หัวหน้าหน่วยประสานงานชายแดน ไทย — พม่า ที่ 6 เป็น กรรมการ/เลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงตามแนวชายแดนภายในแต่ละเขตอำนาจของตน
2. ดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาชายแดนอื่นใดเป็นการเฉพาะ
3. จัดตั้งการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นที่ควบคู่ของทั้งสองฝ่าย
4. จัดประชุมตามความจำเป็นของสถานการณ์ ณ สถานที่ที่เห็นชอบกัน โดยมี ผบ.ฉก. ในพื้นที่เป็นประธาน โดยมี หัวหน้าหน่วยประสานงานประจำพื้นที่ (หมายเลข) เป็นเลขานุการ
3. แต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้รับแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) จากรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล) เพิ่มเติมจำนวน 1 ราย โดยแต่งตั้ง นายศรัณยู อัมพาตระการ นักการทูตชำนาญการ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร.
4. แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 20/2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนการประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ในปัญหาต่าง ๆ ในด้านนิติบัญญัติให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในการเสนอร่างกฎหมาย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย จึงสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 158/2554 ลงวันที่ 13 กันยายน 2554 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 17/2555 ลงวันที่ 16 มกราคม 2555 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 38/2555 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 90/2555 ลงวันที่ 11 เมษายน 2555 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 305/2555 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 และแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบ
ที่ปรึกษา / กรรมการ ประกอบด้วย นายวราเทพ รัตนากร นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล นายบุญทรงเตริยาภิรมย์ นายชลน่าน ศรีแก้ว นายประเสริฐ จันทรรวงทอง นายวิทยา บุรณศิริ นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร
คณะกรรมการ นายอำนวย คลังผา ประธานกรรมการ นายไพจิต ศรีวรขาน รองประธานกรรมการ คนที่ 1 พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมการ คนที่ 2 นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รองประธานกรรมการ คนที่ 3 นายนพคุณ รัฐผไท รองประธานกรรมการ คนที่ 4 นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองประธานกรรมการ คนที่ 5 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ รองประธานกรรมการ คนที่ 6 นายชยุต ภุมมะกาญจนะ รองประธานกรรมการ คนที่ 7 นายสันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ รองประธานกรรมการ คนที่ 8 กรรมการประกอบด้วย นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายกานต์ กัลป์ตินันท์ นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ นายโกศล ปัทมะ นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ นางชมภู จันทาทอง นายชวลิต วิชยสุทธิ์ นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ นายธนิก มาสีพิทักษ์ นายธวัชชัย สุทธิบงกช นางนันทนา ทิมสุวรรณ นายนิทัศน์ ศรีนนท์ นายนิยม เวชกามา นายนิรมิต สุจารี นายบุญแก้ว สมวงศ์ นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ นายปริญญา ฤกษ์หร่าย นางปานหทัย เสรีรักษ์ นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข นางสาวพรพิมล ธรรมสาร นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นางพัชรินทร์ มั่นปาน นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา นายพิชิต ชื่นบาน นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ นายภราดร ปริศนานันทกุล นายยุทธพล อังกินันทน์ นางสาวละออง ติยะไพรัช นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์ นายวัชรพล โตมรศักดิ์ นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ นายวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ นายสมชัย อัศวชัยโสภณ นายสหรัฐ กุลศรี นายสัญชัย วงษ์สุนทร นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ นายสุนัย จุลพงศธร นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ นายอดิศร เพียงเกษ นางอนุรักษ์ บุญศล นางอนุสรา ยังตรง นายอภิรัต ศิรินาวิน นายอรรถพล วงษ์ประยูร นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ โดยมีร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นกรรมการและเลขานุการ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้แทนจากส่วนราชการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และนางฐะปาณีย์ อาจารวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร เป็นกรรมการ
ฝ่ายเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1 สำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. พิจารณาดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาให้เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา
2. ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมืองในปัญหาต่าง ๆ ในด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภาอื่น ๆ ทั้งการเสนอร่างกฎหมายและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภา ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น
3. พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานและมีมติให้สอดคล้องกัน พร้อมแจ้งคณะรัฐมนตรี
4. ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คณะกรรมการสามารถพิจารณาวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการตาม ข้อ 3. ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น
5. ขอความร่วมมือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงและจัดส่งเอกสารข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ
องค์ประชุม
การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
5. การปรับปรุงและแต่งตั้งกรรมการในองค์ประกอบคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท.)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท.) ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์) เสนอ ดังนี้
องค์ประกอบคณะกรรมการชุดใหม่ ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา และประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาการศึกษา เป็นกรรมการที่ปรึกษา เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่ปรึกษาด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผู้แทนสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ผู้แทนกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้แทนเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางจรรจา สุวรรณทัต ผู้ทรงคุณวุฒิ นางดวงเดือน พันธุมนาวิน ผู้ทรงคุณวุฒิ นายเย็นใจ เลาหวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวนงลักษณ์ วิรัชชัย ผู้ทรงคุณวุฒิ นางพรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นางโสภา (ชูพิกุลชัย) ชปีลมันน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายธีระพร อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นเลขานุการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
6. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงที่ว่างอยู่ เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งเกษียณอายุราชการและได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่น จำนวน 3 ตำแหน่ง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. โอนย้าย นายชูศักดิ์ เกวี รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมทางหลวง มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2. โอนย้าย นายพงษ์วรรณ จารุเดชา รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมเจ้าท่า มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3. โอนย้าย นายชาญชัย สุวิสุทธะกุล รองผู้อำนวยการ (นักบริหารระดับต้น) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 มกราคม 2556--จบ--