คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการได้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และการบริหารงานของส่วนราชการ โดยจัดส่วนราชการที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันรวมไว้เป็นกลุ่มงานเดียวกัน ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผลให้งานด้านสาธารณภัยซึ่งแต่เดิมดำเนินการโดยกองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กระทรวงมหาดไทยและเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 กับงานด้านอุบัติภัย ซึ่งเดิมดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มารวมอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยจึงเห็นสมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 ให้สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการอำนวยการและบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งมีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีดังนี้
1. มีการเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติเป็น "พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. …." เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ อำนาจหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งขยายขอบเขตการดำเนินการให้ครอบคลุมด้านอุบัติภัยด้วย
2. ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันฝ่ายพลเรือนแห่งชาติโดยใช้ชื่อว่า "คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ" มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้มีอำนาจในการสั่งการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกำหนดให้มีคณะกรรมการ ดังกล่าวในกรุงเทพมหานคร, ในจังหวัด, อำเภอและกิ่งอำเภอ เพื่อให้มีองค์กรในรูปของคณะกรรมการเพื่อนำนโยบายไปกำหนดแนวทางปฏิบัติของจังหวัด อำเภอ และองค์ปกครองท้องถิ่น
3. กำหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในปัจจุบัน
4. กำหนดให้ปลัดอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการเขตในกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และกำหนดให้มีการจัดตั้งอาสาสมัครในทุกพื้นที่
5. กำหนดให้มีกองทุนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อใช้เป็นทุนสนับสนุนช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งมีการปรับปรุงกำหนดบทโทษให้เหมาะสมมากขึ้นอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการได้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และการบริหารงานของส่วนราชการ โดยจัดส่วนราชการที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันรวมไว้เป็นกลุ่มงานเดียวกัน ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผลให้งานด้านสาธารณภัยซึ่งแต่เดิมดำเนินการโดยกองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กระทรวงมหาดไทยและเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 กับงานด้านอุบัติภัย ซึ่งเดิมดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มารวมอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยจึงเห็นสมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 ให้สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการอำนวยการและบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งมีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีดังนี้
1. มีการเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติเป็น "พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. …." เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ อำนาจหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งขยายขอบเขตการดำเนินการให้ครอบคลุมด้านอุบัติภัยด้วย
2. ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันฝ่ายพลเรือนแห่งชาติโดยใช้ชื่อว่า "คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ" มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้มีอำนาจในการสั่งการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกำหนดให้มีคณะกรรมการ ดังกล่าวในกรุงเทพมหานคร, ในจังหวัด, อำเภอและกิ่งอำเภอ เพื่อให้มีองค์กรในรูปของคณะกรรมการเพื่อนำนโยบายไปกำหนดแนวทางปฏิบัติของจังหวัด อำเภอ และองค์ปกครองท้องถิ่น
3. กำหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในปัจจุบัน
4. กำหนดให้ปลัดอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการเขตในกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และกำหนดให้มีการจัดตั้งอาสาสมัครในทุกพื้นที่
5. กำหนดให้มีกองทุนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อใช้เป็นทุนสนับสนุนช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งมีการปรับปรุงกำหนดบทโทษให้เหมาะสมมากขึ้นอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-