คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการจัดตั้งบริษัท จำกัด หรือนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) เพื่อสนับสนุนธุรกิจการเกษตร โดยมีรูปแบบ โครงสร้าง และวัตถุประสงค์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า ในการพิจารณารูปแบบและกลไกการทำงานของ SPV กระทรวงการคลังได้มีการประชุมหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน องค์การสวนยาง องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) องค์การคลังสินค้า และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. รูปแบบ นิติบุคคลที่จัดตั้งจะอยู่ในรูปบริษัทจดทะเบียน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ในระยะแรกกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยรัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณให้ สำหรับในระยะที่สองภายในระยะเวลาประมาณ 3 ปี จะจัดทำแผนกระจายหุ้น โดยการเพิ่มทุนหรือจัดสรรหุ้นให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และระยะที่สาม จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทจำกัดมหาชน
ทั้งนี้ แหล่งที่มาของทุนหมุนเวียน จะมาจากเงินกู้ ธ.ก.ส. และ/หรือ สถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ/หรือ ทำการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization)
2. โครงสร้างองค์กร บริษัทจัดตั้งขึ้นมีโครงสร้างองค์กร ดังนี้
2.1 คณะกรรมการบริษัท มีจำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ เช่น ด้านสหกรณ์ การตลาด การเงินการธนาคาร การผลิตแปรรูป และการเกษตร
2.2 คณะกรรมการบริหาร มีจำนวน 5-7 คน ใช้การสรรหามืออาชีพเข้ามาบริหารโดยเน้นด้านการตลาด
2.3 ในส่วนของฝ่ายจัดการ ในระยะต้นจะมีผู้จัดการใหญ่ และผู้จัดการแยกตามประเภทธุรกิจสินค้า 3 ประเภท ได้แก่ ผู้จัดการธุรกิจโค ผู้จัดการธุรกิจยางพารา และผู้จัดการธุรกิจปาล์มน้ำมัน โดยมีที่ปรึกษาที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ธุรกิจโค ประกอบด้วย ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ธุรกิจยางพารา ประกอบด้วย ผู้แทนการยางแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร และธุรกิจปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย ผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นต้น
3. วัตถุประสงค์ของบริษัท ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการจัดการ การตลาดและการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
3.1 ด้านการจัดการ 3.1.1 จัดหาปัจจัยด้านการผลิตด้านการเกษตร เช่น พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ อุปกรณ์ อาหาร และเวชภัณฑ์ เป็นต้น 3.1.2 ใช้ประโยชน์จากระบบตัวแทนบริษัทในการบริหารจัดการในพื้นที่ เช่น สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พ.อ.ช.) และรับซื้อผลิตผลจากเกษตรกร 3.1.3 ประสานกับภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
3.2 ด้านการตลาด ดำเนินการบริหารด้านการตลาดแบบครบวงจรทั้งการจัดจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
3.3 ด้านการเงิน ให้สินเชื่อโดยเน้นในรูปปัจจัยการผลิต (Credit in kind) และการรับชำระหนี้ในรูปผลผลิตการเกษตร (Repayment in kind) โดยใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินและ/หรือ จัดตั้ง SPV เพื่อทำการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงการคลังรายงานว่า ในการพิจารณารูปแบบและกลไกการทำงานของ SPV กระทรวงการคลังได้มีการประชุมหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน องค์การสวนยาง องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) องค์การคลังสินค้า และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. รูปแบบ นิติบุคคลที่จัดตั้งจะอยู่ในรูปบริษัทจดทะเบียน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ในระยะแรกกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยรัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณให้ สำหรับในระยะที่สองภายในระยะเวลาประมาณ 3 ปี จะจัดทำแผนกระจายหุ้น โดยการเพิ่มทุนหรือจัดสรรหุ้นให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และระยะที่สาม จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทจำกัดมหาชน
ทั้งนี้ แหล่งที่มาของทุนหมุนเวียน จะมาจากเงินกู้ ธ.ก.ส. และ/หรือ สถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ/หรือ ทำการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization)
2. โครงสร้างองค์กร บริษัทจัดตั้งขึ้นมีโครงสร้างองค์กร ดังนี้
2.1 คณะกรรมการบริษัท มีจำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ เช่น ด้านสหกรณ์ การตลาด การเงินการธนาคาร การผลิตแปรรูป และการเกษตร
2.2 คณะกรรมการบริหาร มีจำนวน 5-7 คน ใช้การสรรหามืออาชีพเข้ามาบริหารโดยเน้นด้านการตลาด
2.3 ในส่วนของฝ่ายจัดการ ในระยะต้นจะมีผู้จัดการใหญ่ และผู้จัดการแยกตามประเภทธุรกิจสินค้า 3 ประเภท ได้แก่ ผู้จัดการธุรกิจโค ผู้จัดการธุรกิจยางพารา และผู้จัดการธุรกิจปาล์มน้ำมัน โดยมีที่ปรึกษาที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ธุรกิจโค ประกอบด้วย ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ธุรกิจยางพารา ประกอบด้วย ผู้แทนการยางแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร และธุรกิจปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย ผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นต้น
3. วัตถุประสงค์ของบริษัท ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการจัดการ การตลาดและการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
3.1 ด้านการจัดการ 3.1.1 จัดหาปัจจัยด้านการผลิตด้านการเกษตร เช่น พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ อุปกรณ์ อาหาร และเวชภัณฑ์ เป็นต้น 3.1.2 ใช้ประโยชน์จากระบบตัวแทนบริษัทในการบริหารจัดการในพื้นที่ เช่น สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พ.อ.ช.) และรับซื้อผลิตผลจากเกษตรกร 3.1.3 ประสานกับภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
3.2 ด้านการตลาด ดำเนินการบริหารด้านการตลาดแบบครบวงจรทั้งการจัดจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
3.3 ด้านการเงิน ให้สินเชื่อโดยเน้นในรูปปัจจัยการผลิต (Credit in kind) และการรับชำระหนี้ในรูปผลผลิตการเกษตร (Repayment in kind) โดยใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินและ/หรือ จัดตั้ง SPV เพื่อทำการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-