เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ คณะรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่ส่วนราชการต่าง ๆ เสนอมายังสำนัก-เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา มีเป็นจำนวนมากและหลากหลาย การตรวจสอบร่างกฎหมายดังกล่าว นอกจากต้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 ตามที่ถือปฏิบัติมาแต่เดิมแล้ว จะต้องพิจารณาตรวจสอบให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เพิ่มเติมด้วย ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลคณะเดียวเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายซึ่งมีเป็นจำนวนมากและหลากหลาย อาจไม่ทันกาลและรอบคอบเพียงพอ เพื่อให้การตรวจสอบและให้ความเห็นเป็นไปด้วยความรวดเร็วและถูกต้องจึงเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีประสบการณ์และความรู้เพื่อพิจารณาให้ความเห็นร่างกฎหมายฯ เป็นการเฉพาะด้าน โดยในระยะเริ่มแรกควรแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แยกออกเป็น 3 ด้าน ด้งนี้
1. คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายฯ ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายการเมืองการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นางสาวทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการภารกิจการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นกรรมการ นายสมโภชน์ ราชแพทยาคม นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการ และเลขานุการ และนางบุณณิกา อินทาปัจ นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายฯ ด้านสังคม ประกอบด้วย นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง ผู้อำนวยการ ฝ่ายกฎหมายการเมืองการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นางสาวพรพิมล รัตนพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นกรรมการ นางสุชาดา แจ่มผล นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ และนายรังสิต มาศรีจันทร์ นิติกร 7ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
3. คณะกรรมการตรวจพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายฯ ด้านความมั่นคงและอื่น ๆ ประกอบด้วย นายมานิตย์ สุธาพร รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล กรรมการ ร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นกรรมการ นายปรีดา เวทยาวงศ์ นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการและนางพิมพ์ผกา หลีอาภรณ์ นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
เพื่อให้คณะกรรมการทั้ง 3 ด้าน มีแนวทางตรวจสอบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำแนวทางการตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งคณะกรรมการตามข้อ 1-3 จะใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการตรวจสอบร่างกฎหมายฯ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ แต่ละคณะอาจกำหนดรายละเอียดอื่น ๆ เองได้ตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ คณะรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่ส่วนราชการต่าง ๆ เสนอมายังสำนัก-เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา มีเป็นจำนวนมากและหลากหลาย การตรวจสอบร่างกฎหมายดังกล่าว นอกจากต้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 ตามที่ถือปฏิบัติมาแต่เดิมแล้ว จะต้องพิจารณาตรวจสอบให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เพิ่มเติมด้วย ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลคณะเดียวเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายซึ่งมีเป็นจำนวนมากและหลากหลาย อาจไม่ทันกาลและรอบคอบเพียงพอ เพื่อให้การตรวจสอบและให้ความเห็นเป็นไปด้วยความรวดเร็วและถูกต้องจึงเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีประสบการณ์และความรู้เพื่อพิจารณาให้ความเห็นร่างกฎหมายฯ เป็นการเฉพาะด้าน โดยในระยะเริ่มแรกควรแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แยกออกเป็น 3 ด้าน ด้งนี้
1. คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายฯ ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายการเมืองการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นางสาวทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการภารกิจการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นกรรมการ นายสมโภชน์ ราชแพทยาคม นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการ และเลขานุการ และนางบุณณิกา อินทาปัจ นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายฯ ด้านสังคม ประกอบด้วย นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง ผู้อำนวยการ ฝ่ายกฎหมายการเมืองการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นางสาวพรพิมล รัตนพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นกรรมการ นางสุชาดา แจ่มผล นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ และนายรังสิต มาศรีจันทร์ นิติกร 7ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
3. คณะกรรมการตรวจพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายฯ ด้านความมั่นคงและอื่น ๆ ประกอบด้วย นายมานิตย์ สุธาพร รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล กรรมการ ร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นกรรมการ นายปรีดา เวทยาวงศ์ นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการและนางพิมพ์ผกา หลีอาภรณ์ นิติกร 8ว สำนักนิติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
เพื่อให้คณะกรรมการทั้ง 3 ด้าน มีแนวทางตรวจสอบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำแนวทางการตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งคณะกรรมการตามข้อ 1-3 จะใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการตรวจสอบร่างกฎหมายฯ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ แต่ละคณะอาจกำหนดรายละเอียดอื่น ๆ เองได้ตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-