แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรี
ยาเสพติด
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมรายงานผลเบื้องต้นการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 6 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2547) โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) และสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 6 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2547) ในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์ยาเสพติดในภาพรวมและระดับพื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้งประเมินระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในระหว่างวันที่ 20 กันยายน -15 ตุลาคม 2547 ได้รับแบบสำรวจตอบกลับ จำนวน 102,977 คน (ร้อยละ 60)
จากการวิเคราะห์และประมวลผลแบบสำรวจฯ พบข้อพึงระวัง (Warning) เกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดที่สำคัญหลายประการ ดังนี้
1. สถานการณ์ยาเสพติดในภาพรวมของประเทศ ประชาชนมีความเห็นว่ายังคงอยู่ในระดับเบาบาง และเริ่มมีแนวโน้มคงที่
2. สถานการณ์ยาเสพติดรายด้าน พบว่า
2.1 ด้านกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ประชาชนมีความเห็นว่าสถานการณ์ยังคงอยู่ในระดับเบาบาง แต่เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจำนวนผู้ค้ายาเสพติด เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้อง และราคาเฉลี่ยของยาบ้า นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถหาซื้อยาเสพติดได้เพิ่มสูงขึ้น
2.2 ด้านกลุ่มผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ประชาชนมีความเห็นว่าสถานการณ์มีแนวโน้มเบาบางลง แต่เมื่อพิจารณารายตัวยาพบว่าจำนวนผู้เสพสารระเหย กัญชา และยาบ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น
2.3 ด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) ประชาชนมีความเห็นว่าสถานการณ์ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง และเริ่มมีแนวโน้มคงที่ ปัจจัยที่ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ จำนวนแหล่งมั่วสุม/แหล่งแพร่ระบาดซึ่งจากผลการสำรวจเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
3. ความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล (Satisfaction) ในภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 84.9 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในครั้งที่ 5 (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2547) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 86.2
4. พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ กทม. และพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1, 2, 3, 4, 8 และ 9
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
จากการวิเคราะห์และประมวลผลแบบสำรวจฯ พบข้อพึงระวัง (Warning) เกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดที่สำคัญหลายประการ ดังนี้
1. สถานการณ์ยาเสพติดในภาพรวมของประเทศ ประชาชนมีความเห็นว่ายังคงอยู่ในระดับเบาบาง และเริ่มมีแนวโน้มคงที่
2. สถานการณ์ยาเสพติดรายด้าน พบว่า
2.1 ด้านกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ประชาชนมีความเห็นว่าสถานการณ์ยังคงอยู่ในระดับเบาบาง แต่เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจำนวนผู้ค้ายาเสพติด เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้อง และราคาเฉลี่ยของยาบ้า นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถหาซื้อยาเสพติดได้เพิ่มสูงขึ้น
2.2 ด้านกลุ่มผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ประชาชนมีความเห็นว่าสถานการณ์มีแนวโน้มเบาบางลง แต่เมื่อพิจารณารายตัวยาพบว่าจำนวนผู้เสพสารระเหย กัญชา และยาบ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น
2.3 ด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) ประชาชนมีความเห็นว่าสถานการณ์ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง และเริ่มมีแนวโน้มคงที่ ปัจจัยที่ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ จำนวนแหล่งมั่วสุม/แหล่งแพร่ระบาดซึ่งจากผลการสำรวจเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
3. ความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล (Satisfaction) ในภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 84.9 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในครั้งที่ 5 (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2547) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 86.2
4. พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ กทม. และพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1, 2, 3, 4, 8 และ 9
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-