คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัวตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแล้วมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ โดยให้องค์กรส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นผู้บริหารโครงการฯ โดยให้รับข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 2.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน
วิธีดำเนินงาน
1. จัดทำทะเบียนแม่โคที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทั้งหมดเพื่อให้การปรับปรุงพันธุ์โค โดยวิธีผสมเทียม โดยใช้น้ำเชื้อโคพันธุ์ดีที่ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก
2. ฝึกอบรมเกษตรกรผู้นำ จำนวน 20,000 คน เพื่อทำหน้าที่ให้บริการผสมเทียม โดยเกษตรกรผู้นำจะได้รับค่าตอบแทนจากการผสมเทียม เมื่อมีลูกเกิดแล้วในอัตราตัวละ 150 บาท โดยรัฐสนับสนุนน้ำเชื้อ วัสดุและอุปกรณ์ผสมเทียมให้เกษตรกร
3. ส่วนส่งเสริมกิจการโคนม อ.ส.ค. จะทำหน้าที่รับซื้อลูกโคเพศผู้ที่เกิดจาการผสมเทียมทั้งหมด และแม่โคปลดระวาง ในราคาประกัน ตามคุณภาพของโค แล้วนำไปให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนเลี้ยงขุน ครอบครัวละไม่เกิน 5 ตัว โดยให้ยืมเป็นน้ำหนักและส่งคืนเป็นน้ำหนัก โดยหักค่าดำเนินการ 10 % โดยรัฐจัดหาเงินทุนหมุนเวียนสนับสนุน เพื่อจัดซื้อโคขุน
4. อ.ส.ค. ประสานกับบริษัทเอกชนรับซื้อโคขุน เพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูปโค (โรงฆ่าสัตว์) เพื่อจำหน่าย
5. กรมปศุสัตว์ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำหน้าที่ฝึกอบรมเกษตรผู้นำ เพื่อทำหน้าที่ผสมเทียม และฝึกอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
วิธีดำเนินงาน
1. จัดทำทะเบียนแม่โคที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทั้งหมดเพื่อให้การปรับปรุงพันธุ์โค โดยวิธีผสมเทียม โดยใช้น้ำเชื้อโคพันธุ์ดีที่ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก
2. ฝึกอบรมเกษตรกรผู้นำ จำนวน 20,000 คน เพื่อทำหน้าที่ให้บริการผสมเทียม โดยเกษตรกรผู้นำจะได้รับค่าตอบแทนจากการผสมเทียม เมื่อมีลูกเกิดแล้วในอัตราตัวละ 150 บาท โดยรัฐสนับสนุนน้ำเชื้อ วัสดุและอุปกรณ์ผสมเทียมให้เกษตรกร
3. ส่วนส่งเสริมกิจการโคนม อ.ส.ค. จะทำหน้าที่รับซื้อลูกโคเพศผู้ที่เกิดจาการผสมเทียมทั้งหมด และแม่โคปลดระวาง ในราคาประกัน ตามคุณภาพของโค แล้วนำไปให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนเลี้ยงขุน ครอบครัวละไม่เกิน 5 ตัว โดยให้ยืมเป็นน้ำหนักและส่งคืนเป็นน้ำหนัก โดยหักค่าดำเนินการ 10 % โดยรัฐจัดหาเงินทุนหมุนเวียนสนับสนุน เพื่อจัดซื้อโคขุน
4. อ.ส.ค. ประสานกับบริษัทเอกชนรับซื้อโคขุน เพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูปโค (โรงฆ่าสัตว์) เพื่อจำหน่าย
5. กรมปศุสัตว์ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำหน้าที่ฝึกอบรมเกษตรผู้นำ เพื่อทำหน้าที่ผสมเทียม และฝึกอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-