แต่งตั้ง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 30, 2013 11:12 —มติคณะรัฐมนตรี

1. รัฐบาลสาธารณรัฐฟินแลนด์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทยว่า รัฐบาลสาธารณรัฐฟินแลนด์มีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นางกีร์สติ เวสต์ฟาเลน (Mrs. Kirsti Westphalen) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทยคนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นางซีร์ปา แมนปา (Mrs. Sirpa Maenpaa) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดสองปีตามวาระแล้ว ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ โดยมีรายชื่อดังนี้ 1. นายกอปร กฤตยากีรณ 2. นายพีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ 3. นายทัศนะ พิทักษ์อรรณพ 4. นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ 5. นายสันติ บุญประคับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

3. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา จำนวน 8 คน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้ 1. ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการ 2. นายวรศักดิ์ แก่นมีผล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา 3. นายเจริญ ไชยสมคุณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอาชีวศึกษา 4. นายสุกิจ เดชโภชน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษ 5. รองศาสตราจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์ 6. นายนิวัตร นาคะเวช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ 7. นายพลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. นายธีระพันธ์ พุทธิสวัสดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

4. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอาชีวศึกษาขึ้นใหม่ แทนประธานกรรมการและกรรมการชุดเดิม ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2555 ดังนี้

1) ประธานกรรมการ (จำนวน 1 คน เลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจและการบริการ และด้านอุตสาหกรรม

2) กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ผู้แทนองค์กรเอกชน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จำนวน 6 คน) 1) นายถาวร ชลัษเฐียร กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) 2) นายอรรถการ ตฤษณารังสี กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย) 3) พลตรีหญิง กฤติยา บัวหลวงงาม กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน (คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย) 4) นายสุนทร ทองใส กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5) รองศาสตราจารย์มงคล มงคลวงศ์โรจน์ กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ 6) นายเกรียงไกร บุญเลิศอุทัย กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ

3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (จำนวน 16 คน) 1) นายโกสินทร์ เกษทอง ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน 2) นายจรูญ ชูลาภ ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านอุตสาหกรรม 3) นายเฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้ ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา 4) นายณัฐวุฒิ สกุลพานิช ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน 5) นายประสาน ประวัติรุ่งเรือง ด้านการบริหารการอาชีวศึกษาของเอกชน 6) นายเร็วจริง รัตนวิชา ด้านธุรกิจและการบริการ 7) นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ด้านอุตสาหกรรม 8) นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านเกษตรกรรมและการประมง 9) นางศรินทร์ทิพย์ แทนธานี ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน 10) นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน และด้านคหกรรม 11) นางศิริพรรณ ชุมนุม ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านศิลปหัตถกรรม 12) นายสมเกียรติ ชอบผลด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน และด้านการศึกษาพิเศษ 13) นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ด้านอุตสาหกรรม และด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน 14) นายเสนอ จันทรา ด้านการบริหารการอาชีวศึกษา และด้านเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคน 15) นายอินทร์ จันทร์เจริญ ด้านการบริหารการอาชีวศึกษาของเอกชน 16) นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ ด้านธุรกิจและการบริการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

5. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวัฒนธรรม)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ดังนี้

1. นายชาย นครชัย ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

2. นายเขมชาติ เทพไชย ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน

6. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ จำนวน 3 ราย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้ 1. นายวิชา จิวาลัย 2. นายพัลลภ กฤตยานวัช 3. นายปรีชา รณรงค์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

7. ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำนวน 6 คน เนื่องจากกรรมการชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระ (2 ปี) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม 2. พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เสนาธิการทหารบก 3. พลเอก อัธยา สุคนธสิงห์ 4. พลตำรวจเอก ปรุง บุญผดุง 5. พลตำรวจเอก กฤษณะ ผลอนันต์ ภาคเอกชน 6. พลตำรวจโท วุฒิ วิทิตานนท์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

8. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 36/2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

โดยที่สถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบกับยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) ที่ต้องการให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศกลุ่มรายได้ปานกลาง รวมทั้ง นโยบายภาครัฐที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับผลกระทบบางส่วนที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

ดังนั้น เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. องค์ประกอบ ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง กรรมการประกอบด้วย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินห้าคน โดยมี รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณที่ได้รับมอบหมาย อธิบดีกรมบัญชีกลาง เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย และเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

2. อำนาจหน้าที่

2.1 กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกำหนดสาขาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะได้รับความช่วยเหลือ

2.2 กำหนดกรอบการใช้เงินตามโครงการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในลักษณะงบฉุกเฉินเร่งด่วน (Emergency Financing) หรือเป็นเงินอุดหนุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จนสามารถขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ของรัฐหรือเอกชนได้ เช่น การปรับโครงสร้างกิจการ การลดต้นทุนการผลิต และการแสวงหาตลาด

2.3 จัดทำแนวทางการจัดสรรและอนุมัติงบประมาณการใช้เงินตามโครงการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 2.2 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ ตลอดจนพิจารณาเห็นชอบให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และสาขาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามข้อ 2.1

2.4 จัดทำระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง ตลอดจนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานเพื่อรองรับการปฏิบัติงาน

2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

2.6 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเชิงวิชาการ และการวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง

2.7 รายงานผลการปฏิบัติงานและปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานต่อนายกรัฐมนตรี

2.8 เชิญส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐอื่น และบุคคลที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็น หรือจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ

2.9 ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

3. ให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามข้อ 2 ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานให้เบิกจ่ายตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 มกราคม 2556--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ