คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินงานพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ตามที่ประเทศไทยได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลได้ระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่ายเพื่อชะลอ บำบัด ระงับ ช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่องนั้น
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้บูรณาการ/ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด หน่วยทักษิณพัฒนา ค่ายจุฬาภรณ์ กองทัพภาคที่ 4 เป็นต้น ดังนี้
1. การดำเนินงานภายใต้งบปกติ
1.1 การพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2547 ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 7,596 คน จากเป้าหมายรวม 6,020 คน คิดเป็นร้อยละ 126.18 โดยใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 27.296 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินการของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยะลา 2,137 คน ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี 3,206 คน และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนราธิวาส 2,253 คน
สาขาอาชีพที่ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นไปตามความต้องการของพื้นที่และวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่นการปักจักร ช่างปักผ้าคลุมผม การออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์ การประกอบอาหารว่างตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่างเครื่องเรือน การทำหมวกกะปิเย๊าะ เป็นต้น
1.2 การมีงานทำ กรมพัฒนาฝีมือแรงงงานได้ว่าจ้างบริษัทศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ดำเนินการประเมินผลการพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2547 ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ต่าง ๆ กำหนดการประเมินผลแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2547
อย่างไรก็ตามจากการติดตามผลการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ท้าทาย ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการติดตามผลการมีงานทำของผู้สำเร็จการฝึกระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2547 พบว่าราษฎรที่ผ่านการฝึกการประกอบอาชีพอิสระมีงานทำเฉลี่ยร้อยละ 49.58 และมีรายได้เฉลี่ย 4,312.67 บาท
1.3 จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่บริการซ่อมบำรุง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าของราษฎรประสานความร่วมมือและบูรณาการพันธกิจกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น จังหวัด กอรมน.จังหวัด ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์ให้กับราษฎรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และดำเนินการตรวจ เช็ค ซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของราษฎรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
2. การดำเนินงานภายใต้งบสนับสนุนของสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ดำเนินการฝึกอบรมความรู้การใช้ภาษาอังกฤษให้แก่กลุ่มสตรีมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส 17 คน เพื่อเพิ่มทักษะฝีมือและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งขยายตลาดในต่างประเทศ
3. การดำเนินงานภายใต้งบกลางของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2548 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้รับอนุมัติงบกลางของรัฐบาลให้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4 โครงการ สามารถดำเนินการได้ 1 โครงการ คือ โครงการพัฒนาฝีมือในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม/ชุมชน เป้าหมายรวม 4,400 คน งบประมาณ 33.968 ล้านบาท (ส่วนอีก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์สาธิตและพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP โครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีมุสลิม และโครงการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชน/กลุ่มสตรี/กลุ่มวัยแรงงาน จะต้องนำเสนอโครงการ/ทบทวนโครงการเสนอให้กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ชุดใหม่พิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบก่อนส่งให้สำนักงบประมาณ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายตามขั้นตอน) มีแผนการดำเนินงานโดยสรุป คือ
3.1 ปัตตานี จะดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาต่าง ๆ เช่น ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ช่างก่ออิฐ-ฉาบปูน ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างปักหมวกกะปิเย๊าะ ช่างปักจักร (ฮีญาป) อาหาร-ขนม การแปรรูปอาหาร/การถนอมอาหาร เป็นต้น ในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ให้แก่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ปอเนาะ และชุมชน รวม 1,540 คน โดยเริ่มดำเนินการเดือนธันวาคม 2547 ขณะนี้ได้ประสานหากลุ่มเป้าหมายแล้ว และเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่ชาวมุสลิมถือศีลอด
3.2 ยะลา จะดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ณ ตำบลบุดี ตำบลวังศญา ตำบลสเตงนอก และตำบลบงโงยซิแน ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามรวม 1,400 คน โดยเริ่มดำเนินการเดือนธันวาคม 2547 ขณะนี้ได้ประสานหากลุ่มเป้าหมายแล้ว
3.3 นราธิวาส จะดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาช่างซ่อมคอมพิวเตอร์การเขียนโฮมเพจ เป็นต้น ในพื้นที่อำเภอต่างๆ ให้แก่กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ปอเนาะ และชุมชน รวม 1,460 คน โดยเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2547 ขณะนี้ได้ประสานหากลุ่มเป้าหมายแล้ว
4. ออกเยี่ยมเยียนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสอบถามปัญหา สอบถามความต้องการฝึกอาชีพ และความต้องการให้ความช่วยเหลือในเรื่องอื่น ๆ ตามความเหมาะสมที่จะสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ
5. สำหรับสถาบันฝีมือแรงงานภาค 11 จังหวัดสงขลา ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี ตำบลสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จัดให้มีการอบรมหลักสูตรตัดเย็บเสื้อผ้าและปักจักร จำนวน 100 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตใน เหตุการณ์ไม่สงบเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 จำนวน 17 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
ตามที่ประเทศไทยได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลได้ระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่ายเพื่อชะลอ บำบัด ระงับ ช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่องนั้น
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้บูรณาการ/ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด หน่วยทักษิณพัฒนา ค่ายจุฬาภรณ์ กองทัพภาคที่ 4 เป็นต้น ดังนี้
1. การดำเนินงานภายใต้งบปกติ
1.1 การพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2547 ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 7,596 คน จากเป้าหมายรวม 6,020 คน คิดเป็นร้อยละ 126.18 โดยใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 27.296 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินการของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยะลา 2,137 คน ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี 3,206 คน และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนราธิวาส 2,253 คน
สาขาอาชีพที่ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นไปตามความต้องการของพื้นที่และวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่นการปักจักร ช่างปักผ้าคลุมผม การออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์ การประกอบอาหารว่างตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่างเครื่องเรือน การทำหมวกกะปิเย๊าะ เป็นต้น
1.2 การมีงานทำ กรมพัฒนาฝีมือแรงงงานได้ว่าจ้างบริษัทศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ดำเนินการประเมินผลการพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2547 ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ต่าง ๆ กำหนดการประเมินผลแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2547
อย่างไรก็ตามจากการติดตามผลการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ท้าทาย ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการติดตามผลการมีงานทำของผู้สำเร็จการฝึกระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2547 พบว่าราษฎรที่ผ่านการฝึกการประกอบอาชีพอิสระมีงานทำเฉลี่ยร้อยละ 49.58 และมีรายได้เฉลี่ย 4,312.67 บาท
1.3 จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่บริการซ่อมบำรุง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าของราษฎรประสานความร่วมมือและบูรณาการพันธกิจกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น จังหวัด กอรมน.จังหวัด ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์ให้กับราษฎรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และดำเนินการตรวจ เช็ค ซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของราษฎรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
2. การดำเนินงานภายใต้งบสนับสนุนของสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ดำเนินการฝึกอบรมความรู้การใช้ภาษาอังกฤษให้แก่กลุ่มสตรีมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส 17 คน เพื่อเพิ่มทักษะฝีมือและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งขยายตลาดในต่างประเทศ
3. การดำเนินงานภายใต้งบกลางของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2548 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้รับอนุมัติงบกลางของรัฐบาลให้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4 โครงการ สามารถดำเนินการได้ 1 โครงการ คือ โครงการพัฒนาฝีมือในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม/ชุมชน เป้าหมายรวม 4,400 คน งบประมาณ 33.968 ล้านบาท (ส่วนอีก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์สาธิตและพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP โครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีมุสลิม และโครงการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชน/กลุ่มสตรี/กลุ่มวัยแรงงาน จะต้องนำเสนอโครงการ/ทบทวนโครงการเสนอให้กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ชุดใหม่พิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบก่อนส่งให้สำนักงบประมาณ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายตามขั้นตอน) มีแผนการดำเนินงานโดยสรุป คือ
3.1 ปัตตานี จะดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาต่าง ๆ เช่น ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ช่างก่ออิฐ-ฉาบปูน ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างปักหมวกกะปิเย๊าะ ช่างปักจักร (ฮีญาป) อาหาร-ขนม การแปรรูปอาหาร/การถนอมอาหาร เป็นต้น ในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ให้แก่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ปอเนาะ และชุมชน รวม 1,540 คน โดยเริ่มดำเนินการเดือนธันวาคม 2547 ขณะนี้ได้ประสานหากลุ่มเป้าหมายแล้ว และเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่ชาวมุสลิมถือศีลอด
3.2 ยะลา จะดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ณ ตำบลบุดี ตำบลวังศญา ตำบลสเตงนอก และตำบลบงโงยซิแน ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามรวม 1,400 คน โดยเริ่มดำเนินการเดือนธันวาคม 2547 ขณะนี้ได้ประสานหากลุ่มเป้าหมายแล้ว
3.3 นราธิวาส จะดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาช่างซ่อมคอมพิวเตอร์การเขียนโฮมเพจ เป็นต้น ในพื้นที่อำเภอต่างๆ ให้แก่กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ปอเนาะ และชุมชน รวม 1,460 คน โดยเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2547 ขณะนี้ได้ประสานหากลุ่มเป้าหมายแล้ว
4. ออกเยี่ยมเยียนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสอบถามปัญหา สอบถามความต้องการฝึกอาชีพ และความต้องการให้ความช่วยเหลือในเรื่องอื่น ๆ ตามความเหมาะสมที่จะสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ
5. สำหรับสถาบันฝีมือแรงงานภาค 11 จังหวัดสงขลา ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี ตำบลสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จัดให้มีการอบรมหลักสูตรตัดเย็บเสื้อผ้าและปักจักร จำนวน 100 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตใน เหตุการณ์ไม่สงบเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 จำนวน 17 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-