คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสถานการณ์ความแห้งแล้งตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอในช่วง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 11 พฤศจิกายน 2547 ดังนี้
1. สถานการณ์ความแห้งแล้ง
1.1 จังหวัดที่ประสบภัย จำนวน 51 จังหวัด 479 อำเภอ 40 กิ่งอำเภอ 3,218 ตำบล 27,921 หมู่บ้าน แยกได้ ดังนี้
ภาคเหนือ จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สกลนคร ยโสธร ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ หนองคาย มหาสารคาม สุรินทร์ มุกดาหาร ศรีษะเกษ หนองบัวลำภู อุบลราชานี อำนาจเจริญ เลย และนครพนม
ภาคกลาง จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และราชบุรี
ภาคตะวันออก จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ตราด ระยองนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ชลบุรี และสระแก้ว
ภาคใต้ จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร
1.2.ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 3,713,284 คน 1,267,039 ครัวเรือน
2. พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง
2.1 พื้นที่เกษตรที่ประสบความเสียหายแล้ว ดังนี้
(1) นาข้าว จำนวน 8,573,229 ไร่
(2) พืชไร่ จำนวน 3,392,362 ไร่
(3) พืชสวน จำนวน 154,660 ไร่
รวมพื้นที่การเกษตร 12,120,251 ไร่
ความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 4,044,494,263 บาท
2.2 พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย
(1) นาข้าว จำนวน 10,979,760 ไร่
(2) พืชไร่ จำนวน 1,970,668 ไร่
(3) พืชสวน จำนวน 703,155 ไร่
รวมพื้นที่การเกษต 13,653,583 ไร่
ความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 5,558,995,077 บาท
3. การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
3.1 การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
(1) ให้เครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรจากทุกหน่วยงานและของประชาชนรวม 38,771 เครื่อง
(2) ใช้รถบรรทุกน้ำ 247 คัน จำนวน 10,269 เที่ยว ประมาณน้ำ 523,569,000 ลิตร
(3) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ 1,185 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 19 แห่ง
(4) พื้นที่การเกษตรที่ช่วยเหลือ 5,246,300 ไร่
3.2 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
(1) รถบรรทุกน้ำ จำนวน 267 คัน 5,037 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย จำนวน 78,795,600 ลิตร
3.3 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว
(1) เงินทดรองราชการ (งบ 50 ล้านของจังหวัด) 20,864,575 บาท
(2) งบฉุกเฉินขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น 14,981,625 บาท
(3) งบประมาณอื่น ๆ 3,171,295 บาท
4. การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการตามโทรพิมพ์ในราชการกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0211.5/ว 317 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 แจ้งให้จังหวัดดำเนินการ เพิ่มเติม ดังนี้
(1) แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจระดับจังหวัด โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/หรือจังหวัดพิจารณาเห็นสมควร ร่วมเป็นคณะทำงาน และมีหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นคณะทำงานและเลขานุการ ทั้งนี้ให้รายงานผลการตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจระดับจังหวัดดังกล่าวให้กระทรวงมหาดไทยทราบด้วย
(2) ประชุมซักซ้อมการปฏิบัติ เพื่อให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ารับทราบนโยบายขั้นตอนแนวทางการปฏิบัติและระบบการายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาผ่านทาง VDO Conferrence ณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2547 เวลา 10.00 น. โดย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์) เป็นประธาน
(3) ได้แจ้งให้จังหวัดที่ประสบภัยตรวจสอบพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว พร้อมกับเร่งให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงคลังฯ ตลอดจนให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงเกษตรฯ โดยงดปลูกข้าวนาปรังและพืชอื่นๆ ในพื้นที่ห้ามเพาะปลูก สำหรับในพื้นที่ให้ส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อยและสร้างอาชีพให้แก่ราษฎรในพื้นที่ประสบภัย เพื่อให้มีรายได้ทดแทนเป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
1. สถานการณ์ความแห้งแล้ง
1.1 จังหวัดที่ประสบภัย จำนวน 51 จังหวัด 479 อำเภอ 40 กิ่งอำเภอ 3,218 ตำบล 27,921 หมู่บ้าน แยกได้ ดังนี้
ภาคเหนือ จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สกลนคร ยโสธร ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ หนองคาย มหาสารคาม สุรินทร์ มุกดาหาร ศรีษะเกษ หนองบัวลำภู อุบลราชานี อำนาจเจริญ เลย และนครพนม
ภาคกลาง จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และราชบุรี
ภาคตะวันออก จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ตราด ระยองนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ชลบุรี และสระแก้ว
ภาคใต้ จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร
1.2.ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 3,713,284 คน 1,267,039 ครัวเรือน
2. พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง
2.1 พื้นที่เกษตรที่ประสบความเสียหายแล้ว ดังนี้
(1) นาข้าว จำนวน 8,573,229 ไร่
(2) พืชไร่ จำนวน 3,392,362 ไร่
(3) พืชสวน จำนวน 154,660 ไร่
รวมพื้นที่การเกษตร 12,120,251 ไร่
ความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 4,044,494,263 บาท
2.2 พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย
(1) นาข้าว จำนวน 10,979,760 ไร่
(2) พืชไร่ จำนวน 1,970,668 ไร่
(3) พืชสวน จำนวน 703,155 ไร่
รวมพื้นที่การเกษต 13,653,583 ไร่
ความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 5,558,995,077 บาท
3. การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
3.1 การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร
(1) ให้เครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรจากทุกหน่วยงานและของประชาชนรวม 38,771 เครื่อง
(2) ใช้รถบรรทุกน้ำ 247 คัน จำนวน 10,269 เที่ยว ประมาณน้ำ 523,569,000 ลิตร
(3) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ 1,185 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 19 แห่ง
(4) พื้นที่การเกษตรที่ช่วยเหลือ 5,246,300 ไร่
3.2 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค
(1) รถบรรทุกน้ำ จำนวน 267 คัน 5,037 เที่ยว
(2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย จำนวน 78,795,600 ลิตร
3.3 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว
(1) เงินทดรองราชการ (งบ 50 ล้านของจังหวัด) 20,864,575 บาท
(2) งบฉุกเฉินขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น 14,981,625 บาท
(3) งบประมาณอื่น ๆ 3,171,295 บาท
4. การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการตามโทรพิมพ์ในราชการกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0211.5/ว 317 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 แจ้งให้จังหวัดดำเนินการ เพิ่มเติม ดังนี้
(1) แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจระดับจังหวัด โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/หรือจังหวัดพิจารณาเห็นสมควร ร่วมเป็นคณะทำงาน และมีหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นคณะทำงานและเลขานุการ ทั้งนี้ให้รายงานผลการตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจระดับจังหวัดดังกล่าวให้กระทรวงมหาดไทยทราบด้วย
(2) ประชุมซักซ้อมการปฏิบัติ เพื่อให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ารับทราบนโยบายขั้นตอนแนวทางการปฏิบัติและระบบการายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาผ่านทาง VDO Conferrence ณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขต ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2547 เวลา 10.00 น. โดย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์) เป็นประธาน
(3) ได้แจ้งให้จังหวัดที่ประสบภัยตรวจสอบพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว พร้อมกับเร่งให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงคลังฯ ตลอดจนให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงเกษตรฯ โดยงดปลูกข้าวนาปรังและพืชอื่นๆ ในพื้นที่ห้ามเพาะปลูก สำหรับในพื้นที่ให้ส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อยและสร้างอาชีพให้แก่ราษฎรในพื้นที่ประสบภัย เพื่อให้มีรายได้ทดแทนเป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-