คณะรัฐมนตรีรับทราบกรอบปัญหาและเห็นชอบแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอและเห็นชอบในหลักการแผนงาน/โครงการ ทั้งนี้ให้แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนลำดับความสำคัญโครงการ ที่ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด เพื่อจัดลำดับความสำคัญและรายละเอียดของแผนงาน/โครงการ เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป รวมทั้งเห็นชอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาแต่งตั้งผู้แทนภาคประชาชนและปราชญ์ชาวบ้านเป็นคณะที่ปรึกษา (Advisory Body) ในด้านการจัดทำแผนการดำเนินการและการแก้ไขปัญหาของจังหวัดตามระบบผู้ว่า CEO
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2547 ณ จังหวัดนครพนม คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ (1)การยกระดับฐานการผลิตหลักของภาค (2)การขยายฐานเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดน (3)การสร้างศักยภาพและโอกาสให้คนจน (4)การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ (5)การสร้างคนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเห็นชอบโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ โครงการพัฒนาชายแดนและด่านชายแดน โครงการจัดหาน้ำเพื่อการผลิตการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2547 (ณ จังหวัดหนองคาย) คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแนวทางการเพิ่มรายได้เกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเมื่อพิจารณาศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ประกอบกับยุทธศาสตร์ภาคและมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวขอ้งแล้วมีความสอดคล้องกัน และเห็นควรเน้นการดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ การเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการส่งเสริมการค้าชายแดน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
การเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิ มีแนวทางหลักประกอบด้วย
1) สนับสนุนการพัฒนาพื้นฐานการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ มีแหล่งศึกษาและสอนการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร
2) สร้างการเชื่อมโยงระหว่างการผลิตและการตลาด โดยรัฐ NGOs และเอกชน ร่วมสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ จัดฝึกอบรมการผลิตให้ได้มาตรฐานที่ตลาดต้องการ และส่งเสริม Contract Farming
3) สนับสนุนและพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ให้เป็นที่ยอมรับของทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยมีค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรม
4) ให้ทุกภาคส่วนร่วมสนับสนุนการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยภาครัฐพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ภาคเอกชนให้ความรู้ด้านการผลิตที่สอดคล้องกับตลาดเกษตรสร้างพื้นฐานความรู้การผลิตให้กับตนเองปราชญ์ชาวบ้าน เผยแพร่องค์ความรู้ที่มีให้เกษตรกรในชุมชน
5) สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสนับสนุนเงินทุน เทคโนโลยีการตลาด พร้อมสิทธิประโยชน์และมาตรการจูงใจต่าง ๆ ให้แก่เอกชนและชุมชน ในการแปรรูปข้าว
6) พัฒนาระบบชลประธานและบริหารจัดการน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ไร่นาของเกษตรกร โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ (อยู่ในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ)
7) ปรับระบบไร่นาให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชของเกษตรกร โดยดำเนินตามแนวทางของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อระบายน้ำและจัดหาน้ำให้เพียงพอเช่นเดียวกับทุ่งกุลาร้องไห้
8) พัฒนาโรงสีให้มีมาตรฐานและส่งเสริมโรงสีข้าวชุมชนให้มากขึ้น โดยใช้กลไกและงบประมาณหมู่บ้าน SML สนับสนุน
2. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มีแนวทางหลักประกอบด้วย
1) เพิ่มน้ำต้นทุนและชะลอปริมาณการไหลของน้ำในลำน้ำหลัก โดยเร่งสร้างอ่างเก็บน้ำในที่มีศักยภาพและเสริมความสามารถในการกักเก็บของแหล่งน้ำเดิม โดยขุดลอกหรือเพิ่มสันเขื่อนและพัฒนาระบบคู คลองส่งเข้าสู่พื้นที่ทำการเกษตรให้ทั่วถึง
2) ปรับปรุงทางน้ำที่ตื้นเขินและกีดขวางทางน้ำไหล เพื่อให้น้ำที่เอ่อท่วมขังในฤดูฝนระบายได้ดีและเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
3) พัฒนาโครงการข่ายผันน้ำท่วม ระหว่างลุ่มน้ำและพัฒนาโครงข่ายคลองเปิดและท่อเชื่อมระหว่างแหล่งเก็บน้ำทุกขนาด พร้อมสร้างสถานีสูบน้ำ บริเวณตอนปลายลุ่มน้ำมูล
4) พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาและที่สาธารณะ สนับสนุนการขุดสระในไร่นาและที่สารธารณและพัฒนาประปาบาดาลโดยให้เกษตรกรสมทบหรือใช้กลไก SML สนับสนุน
5)พัฒนาที่น้ำท่วมซ้ำซากให้เป็นแก้มลิง เพื่อรับน้ำที่มีปริมาณมากในฤดูฝน
6)ขุดลอกลำน้ำมูลท้ายเมืองอุบลราชานีถึงอำเภอพิบูลมังสาหารและทำแก้มลิงบริเวณลำมูลน้อยเพื่อเร่งระบาย หรือพัฒนาคลองผันน้ำใต้ตัวเมืองอุบลราชธานีไปที่ท้ายแก่งสะพือ
3. การเสริมการค้าชายแดน มีแนวทางหลักประกอบด้วย
1) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณด่านชายแดนช่องเม็กและด่านช่องสะงำ
2) เร่งดำเนินการจัดระเบียบชุมชนและสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ของผู้ประกอบการรายย่อย บริเวณด่านพรหมแดนช่องเม็กให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารร้านค้าและพัฒนาตลาดชุมชน
3) ส่งเสริมการทำกิจกรรมการเจรจาด้านการค้าและการท่องเที่ยว โดยสนับสนุนคณะกรรมการเจรจาการค้าและการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น (Trade /Tourism Forum) ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีความเข้มแข็ง
4. การดำเนินงานทั้งหมดต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งการบริหารจัดการจังหวัดแบบบูรณาการโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดในจังหวัด (CEO) นี้เป็นการบริหารจัดการ/จัดสรรทรัพยากรในระดับพื้นที่(Final Resource Allocation) ที่จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีบูรณาการมีประสิทธิภาพรวดเร็วและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่ โดยอาศัยโครงสร้างการบริหารงานที่มีคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ทำหน้าที่ในการจัดยุทธศาสตร์บูรณาการแผนงาน โครงการ กำกับ ให้คำแนะนำและติดตามประเมินผล ซึ่งในทางปฏิบัติภาคประชาชนขาดโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาเป็นกรรมการ บางครั้งส่งผลให้การพัฒนาชนบทขาดข้อคิดเห็นหรือเสียงสะท้อนจากประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจรากหญ้าอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการตั้งคณะผู้แทนภาคประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรและกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านทำหน้าที่ใหคำปรึกษา (Advisory Body) กับผู้ว่า CEO เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท เพื่อให้การทำงานมีความรอบคอบไม่ส่งผลกระทบหรือกระทบน้อยที่สุดกับประชาชนและกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่
แผนงานโครงการที่จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 14 เสนอขอรับการสนับสนุนและ สศช. ได้กลั่นกรองในเบื้องต้นแล้ว มีจำนวนทั้งสิ้น 52 โครงการ วงเงินประมาณ 4,007.6 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. ด้านการเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิ จำนวน 11 โครงการ งบประมาณ 213.7 ล้านบาท
2. ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวน 32 โครงการ งบประมาณ 3,000.7 ล้านบาท
3. ด้านการส่งเสริมการค้าชายแดน จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ 793.2 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2547 ณ จังหวัดนครพนม คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ (1)การยกระดับฐานการผลิตหลักของภาค (2)การขยายฐานเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดน (3)การสร้างศักยภาพและโอกาสให้คนจน (4)การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ (5)การสร้างคนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเห็นชอบโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ โครงการพัฒนาชายแดนและด่านชายแดน โครงการจัดหาน้ำเพื่อการผลิตการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2547 (ณ จังหวัดหนองคาย) คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแนวทางการเพิ่มรายได้เกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเมื่อพิจารณาศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ประกอบกับยุทธศาสตร์ภาคและมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวขอ้งแล้วมีความสอดคล้องกัน และเห็นควรเน้นการดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ การเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการส่งเสริมการค้าชายแดน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
การเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิ มีแนวทางหลักประกอบด้วย
1) สนับสนุนการพัฒนาพื้นฐานการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ มีแหล่งศึกษาและสอนการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร
2) สร้างการเชื่อมโยงระหว่างการผลิตและการตลาด โดยรัฐ NGOs และเอกชน ร่วมสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ จัดฝึกอบรมการผลิตให้ได้มาตรฐานที่ตลาดต้องการ และส่งเสริม Contract Farming
3) สนับสนุนและพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ให้เป็นที่ยอมรับของทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยมีค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรม
4) ให้ทุกภาคส่วนร่วมสนับสนุนการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยภาครัฐพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ภาคเอกชนให้ความรู้ด้านการผลิตที่สอดคล้องกับตลาดเกษตรสร้างพื้นฐานความรู้การผลิตให้กับตนเองปราชญ์ชาวบ้าน เผยแพร่องค์ความรู้ที่มีให้เกษตรกรในชุมชน
5) สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสนับสนุนเงินทุน เทคโนโลยีการตลาด พร้อมสิทธิประโยชน์และมาตรการจูงใจต่าง ๆ ให้แก่เอกชนและชุมชน ในการแปรรูปข้าว
6) พัฒนาระบบชลประธานและบริหารจัดการน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ไร่นาของเกษตรกร โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ (อยู่ในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ)
7) ปรับระบบไร่นาให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชของเกษตรกร โดยดำเนินตามแนวทางของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อระบายน้ำและจัดหาน้ำให้เพียงพอเช่นเดียวกับทุ่งกุลาร้องไห้
8) พัฒนาโรงสีให้มีมาตรฐานและส่งเสริมโรงสีข้าวชุมชนให้มากขึ้น โดยใช้กลไกและงบประมาณหมู่บ้าน SML สนับสนุน
2. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มีแนวทางหลักประกอบด้วย
1) เพิ่มน้ำต้นทุนและชะลอปริมาณการไหลของน้ำในลำน้ำหลัก โดยเร่งสร้างอ่างเก็บน้ำในที่มีศักยภาพและเสริมความสามารถในการกักเก็บของแหล่งน้ำเดิม โดยขุดลอกหรือเพิ่มสันเขื่อนและพัฒนาระบบคู คลองส่งเข้าสู่พื้นที่ทำการเกษตรให้ทั่วถึง
2) ปรับปรุงทางน้ำที่ตื้นเขินและกีดขวางทางน้ำไหล เพื่อให้น้ำที่เอ่อท่วมขังในฤดูฝนระบายได้ดีและเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
3) พัฒนาโครงการข่ายผันน้ำท่วม ระหว่างลุ่มน้ำและพัฒนาโครงข่ายคลองเปิดและท่อเชื่อมระหว่างแหล่งเก็บน้ำทุกขนาด พร้อมสร้างสถานีสูบน้ำ บริเวณตอนปลายลุ่มน้ำมูล
4) พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาและที่สาธารณะ สนับสนุนการขุดสระในไร่นาและที่สารธารณและพัฒนาประปาบาดาลโดยให้เกษตรกรสมทบหรือใช้กลไก SML สนับสนุน
5)พัฒนาที่น้ำท่วมซ้ำซากให้เป็นแก้มลิง เพื่อรับน้ำที่มีปริมาณมากในฤดูฝน
6)ขุดลอกลำน้ำมูลท้ายเมืองอุบลราชานีถึงอำเภอพิบูลมังสาหารและทำแก้มลิงบริเวณลำมูลน้อยเพื่อเร่งระบาย หรือพัฒนาคลองผันน้ำใต้ตัวเมืองอุบลราชธานีไปที่ท้ายแก่งสะพือ
3. การเสริมการค้าชายแดน มีแนวทางหลักประกอบด้วย
1) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณด่านชายแดนช่องเม็กและด่านช่องสะงำ
2) เร่งดำเนินการจัดระเบียบชุมชนและสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ของผู้ประกอบการรายย่อย บริเวณด่านพรหมแดนช่องเม็กให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารร้านค้าและพัฒนาตลาดชุมชน
3) ส่งเสริมการทำกิจกรรมการเจรจาด้านการค้าและการท่องเที่ยว โดยสนับสนุนคณะกรรมการเจรจาการค้าและการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น (Trade /Tourism Forum) ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีความเข้มแข็ง
4. การดำเนินงานทั้งหมดต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งการบริหารจัดการจังหวัดแบบบูรณาการโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดในจังหวัด (CEO) นี้เป็นการบริหารจัดการ/จัดสรรทรัพยากรในระดับพื้นที่(Final Resource Allocation) ที่จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีบูรณาการมีประสิทธิภาพรวดเร็วและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่ โดยอาศัยโครงสร้างการบริหารงานที่มีคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ทำหน้าที่ในการจัดยุทธศาสตร์บูรณาการแผนงาน โครงการ กำกับ ให้คำแนะนำและติดตามประเมินผล ซึ่งในทางปฏิบัติภาคประชาชนขาดโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาเป็นกรรมการ บางครั้งส่งผลให้การพัฒนาชนบทขาดข้อคิดเห็นหรือเสียงสะท้อนจากประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจรากหญ้าอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการตั้งคณะผู้แทนภาคประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรและกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านทำหน้าที่ใหคำปรึกษา (Advisory Body) กับผู้ว่า CEO เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท เพื่อให้การทำงานมีความรอบคอบไม่ส่งผลกระทบหรือกระทบน้อยที่สุดกับประชาชนและกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่
แผนงานโครงการที่จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 14 เสนอขอรับการสนับสนุนและ สศช. ได้กลั่นกรองในเบื้องต้นแล้ว มีจำนวนทั้งสิ้น 52 โครงการ วงเงินประมาณ 4,007.6 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. ด้านการเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิ จำนวน 11 โครงการ งบประมาณ 213.7 ล้านบาท
2. ด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวน 32 โครงการ งบประมาณ 3,000.7 ล้านบาท
3. ด้านการส่งเสริมการค้าชายแดน จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ 793.2 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547--จบ--
-กภ-