คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เสนอ และอนุมัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 61,082,700 บาท เพื่อดำเนินการเฉพาะกิจกรรมในแผนงานที่ 1 การจัดตั้งจุด ตรวจร่วม ตามความเห็นสำนักงบประมาณ สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในแผนงานที่ 2 และ 3 ซึ่งได้มีการจัดสรรงบประมาณไว้ในแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการป้องกันและแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไว้แล้วนั้น ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ รับไปประสานและตรวจสอบกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องขอตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้ยึดหลักความถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุตามมาตรการฯ ดังกล่าวข้างต้นต่อไป
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่างปีจะมีวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน และเป็นช่วงที่มีประชาชนใช้รถใช้ถนนเพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนา และเดินทางท่องเที่ยวไปยังต่างจังหวัดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เป็นผลทำให้ปริมาณการใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงสายต่าง ๆ มีเป็นจำนวนมาก และเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าช่วงเวลาปกติ ซึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2547 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2546 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2547 รวม 7 วัน มีผู้เสียชีวิต 612 คน บาดเจ็บ 25,580 คน สาเหตุการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ส่วนใหญ่เกิดจากการเมาสุราในขณะขับรถ การขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และการไม่สวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2548 (มติคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547) เพื่อเพิ่มความเข้มและความต่อเนื่องให้จังหวัดทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือเป็นแนวทางการปฏิบัติในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 อย่างเคร่งครัด โดยมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวดแบบบูรณาการเป็นผู้รับผิดชอบนำมาตรการสู่การ ปฏิบัติในส่วนภูมิภาค ในส่วนกลางมีศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ ทั้งนี้ ให้ยึดยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22, 28 เมษายน 2546 และวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 เป็นแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
1. เป้าหมายการลดจำนวนผู้เสียชีวิต ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2548 จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนของแต่ละจังหวัด ไม่เกินจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของเทศกาลปีใหม่ 2547 ที่ผ่านมา
2. มาตรการทั่วไป เน้นมาตรมาตรการที่สำคัญเร่งด่วน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 ที่ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่องในเรื่องมาตรการ 3 ม. 2 ข. 1 ร. เข้มงวดการปฏิบัติใน 6 พื้นที่ควบคุมวินัยการจราจร การแก้ไขจุดเสี่ยงอันตราย ระบบการบำบัดรักษา ระบบการเชื่อมโยงข้อมูล และการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
3. มาตรการเน้นหนัก (วันที่ 29 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2548) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ ทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ เพื่อควบคุม กำกับ ดูแล และปฏิบัติงานเฉพาะกิจ โดยดำเนินการตาม 8 มาตรการเสริมอย่างจริงจัง คือ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านระบบข้อมูล ด้านคน ด้านรถ ด้านถนน ด้านการบำบัดรักษา ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการติดตามประเมินผล โดยมีแผนงานและงบประมาณในการดำเนินการ 3 แผนงาน คือ
แผนงานที่ 1 : การจัดตั้งจุดตรวจร่วม เพื่อเป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขนส่ง สาธารณสุข ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทหาร อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และอาสาสมัครอื่น ในการตั้งด่านตรวจตามมาตรการบังคับใช้กฎหมายทั่วประเทศ จำนวน 3,009 จุด จุดละ 3 ผลัด ๆ ละ 10 คน ๆ ละ 100 บาท รวม 7 วัน ทั้งนี้ การจัดสรรจะคำนึงถึงเกณฑ์ประชากรของจังหวัดและจำนวนสถิติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ประกอบการพิจารณาในการสนับสนุนงบประมาณ โดยให้จังหวัดสามารถปรับจำนวนจุดตรวจ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และจังหวัดจะต้องจัดสรรให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจ ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของยอดที่ได้รับจัดสรร
แผนงานที่ 2 : จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 ระดับต่าง ๆ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฯ ค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการประสานงาน ติดตามแก้ไขปัญหาและประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 ในส่วนกลาง และระดับพื้นที่
แผนงานที่ 3 : การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีหน่วยปฏิบัติระดับภาค/เขต
ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กองบังคับการตำรวจทางหลวง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานอื่น ๆ ในการสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรการช่วงเทศกาลปีใหม่ 2548 ของศูนย์ปฏิบัติการส่วนกลาง ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดและในพื้นที่ รวมทั้งการตรวจสอบ การบริการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2547--จบ--
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่างปีจะมีวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน และเป็นช่วงที่มีประชาชนใช้รถใช้ถนนเพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนา และเดินทางท่องเที่ยวไปยังต่างจังหวัดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เป็นผลทำให้ปริมาณการใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงสายต่าง ๆ มีเป็นจำนวนมาก และเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าช่วงเวลาปกติ ซึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2547 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2546 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2547 รวม 7 วัน มีผู้เสียชีวิต 612 คน บาดเจ็บ 25,580 คน สาเหตุการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ส่วนใหญ่เกิดจากการเมาสุราในขณะขับรถ การขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และการไม่สวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2548 (มติคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547) เพื่อเพิ่มความเข้มและความต่อเนื่องให้จังหวัดทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือเป็นแนวทางการปฏิบัติในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 อย่างเคร่งครัด โดยมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวดแบบบูรณาการเป็นผู้รับผิดชอบนำมาตรการสู่การ ปฏิบัติในส่วนภูมิภาค ในส่วนกลางมีศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ ทั้งนี้ ให้ยึดยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22, 28 เมษายน 2546 และวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 เป็นแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
1. เป้าหมายการลดจำนวนผู้เสียชีวิต ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2548 จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนของแต่ละจังหวัด ไม่เกินจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของเทศกาลปีใหม่ 2547 ที่ผ่านมา
2. มาตรการทั่วไป เน้นมาตรมาตรการที่สำคัญเร่งด่วน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 ที่ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่องในเรื่องมาตรการ 3 ม. 2 ข. 1 ร. เข้มงวดการปฏิบัติใน 6 พื้นที่ควบคุมวินัยการจราจร การแก้ไขจุดเสี่ยงอันตราย ระบบการบำบัดรักษา ระบบการเชื่อมโยงข้อมูล และการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
3. มาตรการเน้นหนัก (วันที่ 29 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2548) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ ทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ เพื่อควบคุม กำกับ ดูแล และปฏิบัติงานเฉพาะกิจ โดยดำเนินการตาม 8 มาตรการเสริมอย่างจริงจัง คือ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านระบบข้อมูล ด้านคน ด้านรถ ด้านถนน ด้านการบำบัดรักษา ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการติดตามประเมินผล โดยมีแผนงานและงบประมาณในการดำเนินการ 3 แผนงาน คือ
แผนงานที่ 1 : การจัดตั้งจุดตรวจร่วม เพื่อเป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขนส่ง สาธารณสุข ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทหาร อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และอาสาสมัครอื่น ในการตั้งด่านตรวจตามมาตรการบังคับใช้กฎหมายทั่วประเทศ จำนวน 3,009 จุด จุดละ 3 ผลัด ๆ ละ 10 คน ๆ ละ 100 บาท รวม 7 วัน ทั้งนี้ การจัดสรรจะคำนึงถึงเกณฑ์ประชากรของจังหวัดและจำนวนสถิติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ประกอบการพิจารณาในการสนับสนุนงบประมาณ โดยให้จังหวัดสามารถปรับจำนวนจุดตรวจ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และจังหวัดจะต้องจัดสรรให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจ ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของยอดที่ได้รับจัดสรร
แผนงานที่ 2 : จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 ระดับต่าง ๆ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฯ ค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการประสานงาน ติดตามแก้ไขปัญหาและประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 ในส่วนกลาง และระดับพื้นที่
แผนงานที่ 3 : การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีหน่วยปฏิบัติระดับภาค/เขต
ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กองบังคับการตำรวจทางหลวง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานอื่น ๆ ในการสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรการช่วงเทศกาลปีใหม่ 2548 ของศูนย์ปฏิบัติการส่วนกลาง ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดและในพื้นที่ รวมทั้งการตรวจสอบ การบริการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2547--จบ--