1. สรุปนโยบายโดยรองนายกรัฐมนตรี
รอง นรม. และประธาน กบอ. (ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี) ได้ประชุมชี้แจงและตรวจผลการดำเนินงานตาม 8 มาตรการ ไม่ให้มีไฟป่าและหมอกควันใน 9 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และตาก) ระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2556 สรุปผลได้ดังนี้
1) ปัญหาไฟป่า-หมอกควัน เป็นภัยคุกคามระดับภูมิภาคของประเทศ เนื่องจากส่งผลกระทบทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้ ชีวิตทรัพย์สิน ระบบสาธารณสุข การศึกษา การท่องเที่ยว
2) ยุทธศาสตร์ 4 ประการ เพื่อการดำเนินการป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควัน
2.1 ใช้ระบบ Single Command ในการบริหารจัดการ
2.2 ในด้านกฎหมาย ใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหลัก โดยร่วมกับ พระราชบัญญัติป่าไม้
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
และกฎหมายอาญา ในการปฏิบัติงาน
2.3 ใช้ระบบ Area Approach ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ
2.4 ในพื้นที่เสี่ยง จะต้องมีระบบ Forward command เพื่อพร้อมในการเผชิญเหตุ
3) ยุทธวิธีหรือข้อปฏิบัติมี 11 ข้อ
3.1 “ไม่มีการเผา” โดยให้ความสำคัญกับ “ควัน” เพราะเป็นปัญหาสำคัญ
3.2 แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ป่า / พื้นที่เกษตร / พื้นที่เมือง
3.3 เจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดผลกระทบจากประเทศเพื่อนบ้าน
3.4 ใช้กฎหมายอย่างตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก และเจ้าหน้าที่ต้องไม่หย่อนยาน
3.5 เน้น 100 วัน (15 ม.ค.-30 เม.ย.56) ในพื้นที่เสี่ยง 9 จังหวัด เพราะเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูง
3.6 กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้ดูแลพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรมอบกระทรวงเกษตรฯและเขตเมืองให้ อบต.
เทศบาลและจังหวัดรับผิดชอบ
3.7 เมื่อเกิดเหตุไฟป่าขนาดใหญ่ ให้มีการสนธิกำลังทุกหน่วยงาน และอาจขอกำลังจากกองทัพ และตำรวจได้ด้วย
3.8 ให้มีการลาดตระเวนที่ถี่มากขึ้น เพื่อเป็นการกดดันผู้ที่จะทำการเผาป่า
3.9 มีตัวชี้วัด มี 6 ข้อ คือ 1) จำนวน Hot spots ที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม
2) ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ (PM10) 3) จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา 4) จำนวนโรงเรียนที่ต้องปิดทำการเนื่องจากได้รับผลกระทบ 5) อุบัติเหตุที่เกิดจากหมอกควัน 6) เที่ยวบินที่ต้องหยุดหรือเลื่อน
3.10 ระบบรายงานเป็นแบบ Real Time ได้แก่ 1) ทุกหน่วยงานต้องรายงาน ผู้ว่าราชการจังหวัด 2) ทุก 4 ชั่วโมง ผวจ.ต้องรายงานสถานการณ์มายัง กบอ. 3) ทุกวันจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องรายงานต่อรองนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเข้ารายงานต่อคณะรัฐมนตรี ต่อไป
3.11 ให้พยายามเปลี่ยนผู้เผา ให้มาร่วมกับราชการ เช่น การจ้างมาทำงาน และเปลี่ยนความเชื่อ
2. สรุปข้อสั่งการรองนายกรัฐมนตรี
ข้อสั่งการ หน่วยงานหลักที่รับข้อสั่งการ กำหนดเวลาที่ต้องดำเนินการ ให้แล้วเสร็จตามข้อสั่งการ 1. ลด Hot spots ให้ได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 15 มกราคม-30 เมษายน 2556 ใน 100 วัน เน้นพิเศษ ทุกหน่วยงานในพื้นที่ ช่วงวันที่ 15 ก.พ.- 15 มี.ค. 56 จังหวัด 9 จังหวัด 2. ผู้สั่งการในพื้นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด 9 15 มกราคม-30 เมษายน 2556 รับผิดชอบของจังหวัด จังหวัด 3. ลดพื้นที่ปลูกพืชไร่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 15 มกราคม-30 เมษายน 2556 โดยต้องทำอย่างจริงจัง ทุกหน่วยงานในพื้นที่ เปลี่ยนพืชไร่เป็นไม้ยืนต้น จังหวัด 9 จังหวัด 4.ไถกลบตอซังพืชไร่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 15 มกราคม-30 เมษายน 2556 ทุกหน่วยงานในพื้นที่ จังหวัด 9 จังหวัด 5. เปลี่ยนคนเผาให้เป็นฝ่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 15 มกราคม-30 เมษายน 2556 เจ้าหน้าที่ เช่น จ้างเป็น ทุกหน่วยงานในพื้นที่ พนักงานชั่วคราวไฟป่า จังหวัด 9 จังหวัด 6. ดูแลพื้นที่เสี่ยงเป็นกรณี จังหวัดเชียงใหม่ 15 มกราคม-30 เมษายน 2556 พิเศษ เช่น อ.อมก๋อย และตาก จ.เชียงใหม่ 7. ให้ทำความเข้าใจกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทันที ชาวเขาในการป้องกันไฟป่า ทุกหน่วยงานในพื้นที่ จังหวัด 9 จังหวัด 8. ให้ทุกจังหวัดใช้เครื่องมือ ผู้ว่าราชการจังหวัด 9 ดำเนินการทันที อุปกรณ์การประชาสัมพันธ์ จังหวัด และประชา ของจังหวัดในการเสนอข่าว สัมพันธ์จังหวัด 9 จังหวัด เกี่ยวกับการป้องกันไฟป่า และหมอกควัน 9. ให้มีการกระจายเครื่องมือ กรมควบคุมมลพิษ ดำเนินการทันที วัดค่าปริมาณฝุ่นละอองใน อากาศ (PM10) ให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ 10.ปรับการอ่านและแปลค่า สำนักงานพัฒนา ดำเนินการทันที ภาพถ่ายดาวเทียม ให้แยก เทคโนโลยีอวกาศและ ประเภทจุด Hot spot ภูมิสารสนเทศ ตามแหล่งความร้อน เช่น (GISTDA) ไฟป่า โรงโม่ สังกะสี และแผ่นหินขนาดใหญ่ 11.ให้ประสานการรถไฟ ศูนย์อำนวยการป้องกัน ดำเนินการทันที แห่งประเทศไทย กรณีมีการ ไฟป่าและหมอกควัน เผาป่าสองข้างทางรถไฟ (ส่วนกลาง) 12.เฉพาะจังหวัดลำปาง โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ดำเนินการทันที ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ตรวจสอบ รายงานตัวเลขเขม่าควันให้ ตรงความจริง
3. การอบรมระบบการรายงานข้อมูลและใช้เว็บไซต์ไฟป่าและหมอกควัน
คณะเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์จัดการอบรมเจ้าหน้าที่ของทั้ง 9 จังหวัดและหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องในการรายงานสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินงานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 104 คน
4. สรุปรายงานการเกิดไฟป่าและหมอกควัน ของ 9 จังหวัดในช่วง 7 วัน ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 มีรายละเอียดดังนี้
ประเภทจังหวัด มีดังนี้ 1. จังหวัดเชียงราย เกิดไฟป่า 1 ครั้ง รวมพื้นที่ 23 ไร่ ค่า PM10 สูงสุด 89 2. จังหวัดเชียงใหม่ เกิดไฟป่า 1 ครั้ง รวมพื้นที่ 1 ไร่ ค่า PM10 สูงสุด 86 3. จังหวัดลำปาง เกิดไฟป่า 27 ครั้ง ค่า PM10 สูงสุด 132 ณ สถานี สนง.การประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะ (เกินค่ามาตรฐาน 120) 4. จังหวัดลำพูน เกิดไฟป่า 99 ครั้ง รวมพื้นที่ 248 ไร่ ค่า PM10 สูงสุด 90 5. จังหวัดแม่ฮ่องสอนยังไม่มีรายงานการเกิดไฟป่า ค่า PM10 สูงสุด 45 6. จังหวัดน่านเกิดไฟป่า 1 ครั้ง รวมพื้นที่ 60 ไร่ ค่า PM10 สูงสุด 64 7. จังหวัดแพร่เกิดไฟป่า 8 ครั้ง รวมพื้นที่ 1310 ไร่ ค่า PM10 สูงสุด 109 8. จังหวัดพะเยาเกิดไฟป่า 3 ครั้งคิดเป็นพื้นที่ 9 ไร่ ค่า PM10 สูงสุด 73 9. จังหวัดตากเกิดไฟป่า 1 ครั้ง รวมพื้นที่ 200 ไร่ ค่า PM10 สูงสุด 68
ประเภทพื้นที่ สรุปรายงาน รวม 460 จุด มีดังนี้ 1. พื้นที่ป่าอนุรักษณ์ 220 จุด 2. พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 161 จุด 3. พื้นที่การเกษตร 50 จุด 4. พื้นที่ ส.ป.ก. 10 จุด 5. พื้นที่สองข้างทางหลวง 10 จุด 6. พื้นที่อื่นๆ 18 จุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556--จบ--