คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) รายงานผลการดำเนินงานตามดำริของนายกรัฐมนตรีที่ให้จัดพบผู้ค้าหาบเร่ แผงลอยในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกคุกคามของมาเฟียและผู้มีอิทธิพล ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันพุธที่ 6 เมษายน 2548 โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์ดำรงธรรม คณะอนุกรรมการปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่กระทำความผิดเกี่ยวกับบาทวิถีและเรียกรับผลประโยชน์จากการจอดรถผิดกฎหมายในพื้นที่ กทม. โดย พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ประธานอนุกรรมการ สส. กทม. และผู้แทนกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันดำเนินการรับลงทะเบียนและรับแจ้งข้อมูลให้กับผู้ค้าหาบเร่ แผงลอย ดังกล่าว สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. การรับเรื่องลงทะเบียนที่เกี่ยวกับผู้มีอิทธิพล มีประชาชนเดินทางมาทั้งหมด จำนวน 2,750 คน โดยแยกประเภท ดังนี้
1.1 ผู้ประกอบการ จำนวน 1,435 ราย เป็นผู้ค้าแผงลอย 863 ราย หาบเร่ 72 ราย รถเข็น 238 ราย อื่น ๆ 262 ราย
1.2 ประเภทสินค้าที่จำหน่าย คือ เสื้อผ้า 551 ราย อาหาร 352 ราย ผลไม้ 72 ราย อื่น ๆ 460 ราย
1.3 ลักษณะพฤติกรรมการถูกข่มขู่ คือ ด้วยวาจา 431 ราย ทำลายทรัพย์สิน 125 ราย ทำร้ายร่างกาย 57 ราย อื่น ๆ 822 ราย
1.4 ประเภทผู้มีอิทธิพล คือ นักเลง 361 ราย ทหาร 79 ราย ตำรวจ 75 ราย เทศกิจ 422 ราย อื่น ๆ 498 ราย
1.5 สำนักงานเขตที่เกิดเหตุมากที่สุด 4 ลำดับ ได้แก่ เขตป้อมปราบฯ 425 ราย เขตบางรัก 72 ราย เขตบางแค 76 ราย เขตพระนคร 33 ราย
1.6 สถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุมากที่สุด 4 ลำดับแรก ได้แก่ สน.พลับพลาไชย 236 ราย สน.นางเลิ้ง 131 ราย สน.บางรัก 42 ราย สน.ห้วยขวาง 32 ราย
นอกจากนี้ ประชาชนได้มาร้องเรียนประชาชนที่ร้องเรียนเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับกรณีผู้มีอิทธิพลจำนวน 680 ราย เป็นการร้องเรียนเพื่อขอพื้นที่ประกอบการค้า และขอผ่อนผันเวลาอนุญาตให้ขายสินค้าบนทางเท้า เป็นต้น และยังมีประชาชนนอกพื้นที่ กทม. จำนวน 34 ราย เป็นการร้องเรียนขอให้จัดพื้นที่ประกอบการค้าและการไม่มีเงินทุนประกอบการค้าด้วย
2. การร้องเรียนกับพนักงานสอบสวน
พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอยร้องเรียนกับพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวนทั้งสิ้น 351 ราย ดังนี้
2.1 กรณีเคยถูกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเรียกเก็บผลประโยชน์ในลักษณะค่าคุ้มครองจากการค้าขายที่แผงลอย จำนวน 131 ราย
2.2 กรณีเคยถูกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลทำร้ายร่างกายจากการค้าที่แผงลอย จำนวน 4 ราย
2.3 กรณีเคยถูกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลข่มขู่จะทำร้ายร่างกายจากการค้าที่แผงลอย จำนวน 27 ราย
2.4 กรณีร้องเรียนเรื่องอื่น ๆ นอกเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ราย
2.5 กรณีร้องเรียนข้าราชการตำรวจ และเร่งให้เร่งรัดคดี จำนวน 3 ราย
นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนเรื่องอื่น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่เทศกิจไล่ที่ ไม่มีสถานที่ประกอบอาชีพ เช่าที่ค้าขายในราคาแพง เวลาอนุญาตให้ขายไม่เหมาะสม สถานที่ไม่สะดวก เป็นต้น
3. ความคิดเห็นของฝ่ายต่าง ๆ
สำนักโฆษกได้ติดตามความเห็นของฝ่ายต่าง ๆ ที่มีต่อการแก้ปัญหาหาบเร่ แผงลอยของรัฐบาล สรุปได้ดังนี้
3.1 สื่อมวลชนส่วนใหญ่เห็นว่าการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าเข้าร้องเรียนต่อรัฐบาลโดยตรงเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ขอให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ และให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้รักษากฎหมายที่ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเสียเอง
3.2 ประชาชนและพ่อค้าแม่ค้าเห็นด้วยกับการจัดเวทีเช่นนี้ แต่ก็เกรงว่ารัฐบาลจะไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด แต่ก็ขอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างจริงจัง
3.3 สมาชิกสภาทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นด้วย และพร้อมให้ความร่วมมือกับการแก้ปัญหา
4. การติดตามผลการดำเนินการ
ในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มาร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว ได้จัดแบ่งความรับผิดชอบการปฏิบัติงาน คือ
4.1 การดำเนินการตามกระบวนการของพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาลมอบหมายให้ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รับผิดชอบ และรายงานให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์) โดยตรง
4.2 การดำเนินการสำหรับเรื่องร้องเรียนอื่น ๆ ได้มอบหมายให้คณะผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
4.3 สำหรับการรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินการของฝ่ายต่าง ๆ มอบหมายให้คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ติดตามและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเป็นระยะ ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
1. การรับเรื่องลงทะเบียนที่เกี่ยวกับผู้มีอิทธิพล มีประชาชนเดินทางมาทั้งหมด จำนวน 2,750 คน โดยแยกประเภท ดังนี้
1.1 ผู้ประกอบการ จำนวน 1,435 ราย เป็นผู้ค้าแผงลอย 863 ราย หาบเร่ 72 ราย รถเข็น 238 ราย อื่น ๆ 262 ราย
1.2 ประเภทสินค้าที่จำหน่าย คือ เสื้อผ้า 551 ราย อาหาร 352 ราย ผลไม้ 72 ราย อื่น ๆ 460 ราย
1.3 ลักษณะพฤติกรรมการถูกข่มขู่ คือ ด้วยวาจา 431 ราย ทำลายทรัพย์สิน 125 ราย ทำร้ายร่างกาย 57 ราย อื่น ๆ 822 ราย
1.4 ประเภทผู้มีอิทธิพล คือ นักเลง 361 ราย ทหาร 79 ราย ตำรวจ 75 ราย เทศกิจ 422 ราย อื่น ๆ 498 ราย
1.5 สำนักงานเขตที่เกิดเหตุมากที่สุด 4 ลำดับ ได้แก่ เขตป้อมปราบฯ 425 ราย เขตบางรัก 72 ราย เขตบางแค 76 ราย เขตพระนคร 33 ราย
1.6 สถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุมากที่สุด 4 ลำดับแรก ได้แก่ สน.พลับพลาไชย 236 ราย สน.นางเลิ้ง 131 ราย สน.บางรัก 42 ราย สน.ห้วยขวาง 32 ราย
นอกจากนี้ ประชาชนได้มาร้องเรียนประชาชนที่ร้องเรียนเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับกรณีผู้มีอิทธิพลจำนวน 680 ราย เป็นการร้องเรียนเพื่อขอพื้นที่ประกอบการค้า และขอผ่อนผันเวลาอนุญาตให้ขายสินค้าบนทางเท้า เป็นต้น และยังมีประชาชนนอกพื้นที่ กทม. จำนวน 34 ราย เป็นการร้องเรียนขอให้จัดพื้นที่ประกอบการค้าและการไม่มีเงินทุนประกอบการค้าด้วย
2. การร้องเรียนกับพนักงานสอบสวน
พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอยร้องเรียนกับพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวนทั้งสิ้น 351 ราย ดังนี้
2.1 กรณีเคยถูกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเรียกเก็บผลประโยชน์ในลักษณะค่าคุ้มครองจากการค้าขายที่แผงลอย จำนวน 131 ราย
2.2 กรณีเคยถูกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลทำร้ายร่างกายจากการค้าที่แผงลอย จำนวน 4 ราย
2.3 กรณีเคยถูกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลข่มขู่จะทำร้ายร่างกายจากการค้าที่แผงลอย จำนวน 27 ราย
2.4 กรณีร้องเรียนเรื่องอื่น ๆ นอกเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ราย
2.5 กรณีร้องเรียนข้าราชการตำรวจ และเร่งให้เร่งรัดคดี จำนวน 3 ราย
นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนเรื่องอื่น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่เทศกิจไล่ที่ ไม่มีสถานที่ประกอบอาชีพ เช่าที่ค้าขายในราคาแพง เวลาอนุญาตให้ขายไม่เหมาะสม สถานที่ไม่สะดวก เป็นต้น
3. ความคิดเห็นของฝ่ายต่าง ๆ
สำนักโฆษกได้ติดตามความเห็นของฝ่ายต่าง ๆ ที่มีต่อการแก้ปัญหาหาบเร่ แผงลอยของรัฐบาล สรุปได้ดังนี้
3.1 สื่อมวลชนส่วนใหญ่เห็นว่าการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าเข้าร้องเรียนต่อรัฐบาลโดยตรงเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ขอให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ และให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้รักษากฎหมายที่ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเสียเอง
3.2 ประชาชนและพ่อค้าแม่ค้าเห็นด้วยกับการจัดเวทีเช่นนี้ แต่ก็เกรงว่ารัฐบาลจะไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด แต่ก็ขอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างจริงจัง
3.3 สมาชิกสภาทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นด้วย และพร้อมให้ความร่วมมือกับการแก้ปัญหา
4. การติดตามผลการดำเนินการ
ในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มาร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว ได้จัดแบ่งความรับผิดชอบการปฏิบัติงาน คือ
4.1 การดำเนินการตามกระบวนการของพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาลมอบหมายให้ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รับผิดชอบ และรายงานให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์) โดยตรง
4.2 การดำเนินการสำหรับเรื่องร้องเรียนอื่น ๆ ได้มอบหมายให้คณะผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
4.3 สำหรับการรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินการของฝ่ายต่าง ๆ มอบหมายให้คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ติดตามและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเป็นระยะ ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--