คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานการปรับลดค่าธรรมเนียมที่ท่าอากาศยานภูเก็ตสำหรับเที่ยวบินเหมาลำ (Charter flight) ดังนี้
1. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ปรับลดค่าธรรมเนียมการขึ้น-ลง ของอากาศยาน (Landing Fee) สำหรับเที่ยวบินเหมาลำ ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต ลงร้อยละ 50 ของอัตราที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน มีกำหนด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม — ธันวาคม 2548
2. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ขยายระยะเวลาปรับลดค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศลงร้อยละ 15 สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งเที่ยวบินเหมาลำที่ขึ้น-ลง ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต มีกำหนด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม — ธันวาคม 2548
3. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ปรับลดค่าบริการภาคพื้น (Ground Handling) ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต ร้อยละ 10 ของอัตราที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบันเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2548 รวมระยะเวลา 6 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดการประชุมเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 โดยมี ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในการประชุมและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วมีมติสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. เหตุผลและความจำเป็น
จากการรวบรวมสถิติจำนวนเที่ยวบินไม่ประจำ (ซึ่งประกอบด้วยเที่ยวบินเหมาลำและเที่ยวบินพิเศษ) ที่ทำการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ตในปี 2547 ที่ผ่านมา พบว่า เที่ยวบินส่วนใหญ่มาจากประเทศในกลุ่มตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ เกาหลี จำนวน 205 เที่ยวบิน สวีเดน 159 เที่ยวบิน ฟินแลนด์ 104 เที่ยวบิน จีน 104 เที่ยวบิน รัสเซีย 61 เที่ยวบิน ไต้หวัน 50 เที่ยวบิน และจากประเทศอื่น ๆ อีก 110 เที่ยวบิน โดยขนส่งผู้โดยสารจากต่างประเทศเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ต 155,437 คน ทั้งนี้ ในภาพรวมช่วงระยะเวลาที่มีความถี่ของการทำการบินค่อนข้างสูงได้แก่ มกราคม — มีนาคม และพฤศจิกายน - ธันวาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปี 2548 เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนเที่ยวบินไม่ประจำที่ทำการบินเข้าสู่ภูเก็ตอย่างมาก โดยมีจำนวนเที่ยวบินลดลงกว่าร้อยละ 80 และขนส่งผู้โดยสารเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ตเพียง 18,633 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 80 เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินมาจากประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย โดยในช่วง 7 เดือนดังกล่าว มีเพียงเที่ยวบิน ที่บินมาจากสวีเดน และฟินแลนด์เป็นหลัก แต่ก็ยังมีจำนวนลดลงกว่าปีที่ผ่านมาถึง ร้อยละ 50 ในขณะที่เที่ยวบินไม่ประจำจากภูมิภาคเอเชียเพิ่งทำการบินจากจีนเข้ามายังภูเก็ตในช่วงเดือนกรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมาเท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบผลกระทบภายหลังธรณีพิบัติภัยต่อ สถานการณ์ด้านการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ตแล้ว จะเห็นได้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ที่ผ่านมา มีจำนวนเที่ยวประจำทำการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ตลดลงกว่าร้อยละ 30 ในขณะที่ทำการบินด้วยเครื่องบินไม่ประจำ กลับมีจำนวนลดลง กว่าร้อยละ 80 จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มที่เดินทางมาโดยเที่ยวบินไม่ประจำได้รับ ผลกระทบมากกว่ากลุ่มที่จัดการเดินทางเข้ามาด้วยเที่ยวบินประจำ ดังนั้น หากสามารถกระตุ้นกลุ่มตลาดที่เดินทางเข้ามา โดยเที่ยวบินไม่ประจำให้เดินทางกลับเข้ามาในภูเก็ตได้อีกครั้ง ก็จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ที่ช่วยให้ สถานการณ์การท่องเที่ยวของภูเก็ตและชายฝั่งอันดามัน ฟื้นตัวกลับมาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สรุปจำนวนเที่ยวบินประจำและไม่ประจำที่ทำการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
จำนวนเที่ยวบิน มกราคม — มิถุนายน 2548 มกราคม — มิถุนายน 2547 การเปลี่ยนแปลง (%)
เที่ยวบินประจำ 1,977 3,107 -36.37
เที่ยวบินไม่ประจำ 94 538 -82.53
2. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการขึ้น-ลงอากาศยาน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เรียกเก็บจากเที่ยวบินไม่ประจำที่ทำการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ต จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดให้บริษัทนำเที่ยวและสายการบินจัดแพ็คเก็จเที่ยวบินเหมาลำกลับมาสู่ภูเก็ตอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการบินเข้ามาของเที่ยวบินเหมาลำดังกล่าวจะมีผลในแง่ของการทดสอบการฟื้นตัวของตลาดในระยะเริ่มต้น หากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาโดยเที่ยวบินเหมาลำที่ทำการบินเข้าสู่พื้นที่ภูเก็ตและอันดามันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอก็จะสร้างความมั่นใจให้สายการบินที่ทำการบินประจำกลับมาทำการบินเที่ยวบินประจำในเส้นทางเข้าสู่ภูเก็ตอันจะเป็นส่วนช่วยให้สถานการณ์ท่องเที่ยวในภูเก็ต และแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน ฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ปรับลดค่าธรรมเนียมการขึ้น-ลง ของอากาศยาน (Landing Fee) สำหรับเที่ยวบินเหมาลำ ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต ลงร้อยละ 50 ของอัตราที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน มีกำหนด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม — ธันวาคม 2548
2. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ขยายระยะเวลาปรับลดค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศลงร้อยละ 15 สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งเที่ยวบินเหมาลำที่ขึ้น-ลง ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต มีกำหนด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม — ธันวาคม 2548
3. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ปรับลดค่าบริการภาคพื้น (Ground Handling) ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต ร้อยละ 10 ของอัตราที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบันเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2548 รวมระยะเวลา 6 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดการประชุมเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 โดยมี ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในการประชุมและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วมีมติสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. เหตุผลและความจำเป็น
จากการรวบรวมสถิติจำนวนเที่ยวบินไม่ประจำ (ซึ่งประกอบด้วยเที่ยวบินเหมาลำและเที่ยวบินพิเศษ) ที่ทำการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ตในปี 2547 ที่ผ่านมา พบว่า เที่ยวบินส่วนใหญ่มาจากประเทศในกลุ่มตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ เกาหลี จำนวน 205 เที่ยวบิน สวีเดน 159 เที่ยวบิน ฟินแลนด์ 104 เที่ยวบิน จีน 104 เที่ยวบิน รัสเซีย 61 เที่ยวบิน ไต้หวัน 50 เที่ยวบิน และจากประเทศอื่น ๆ อีก 110 เที่ยวบิน โดยขนส่งผู้โดยสารจากต่างประเทศเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ต 155,437 คน ทั้งนี้ ในภาพรวมช่วงระยะเวลาที่มีความถี่ของการทำการบินค่อนข้างสูงได้แก่ มกราคม — มีนาคม และพฤศจิกายน - ธันวาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปี 2548 เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยได้ส่งผลกระทบต่อจำนวนเที่ยวบินไม่ประจำที่ทำการบินเข้าสู่ภูเก็ตอย่างมาก โดยมีจำนวนเที่ยวบินลดลงกว่าร้อยละ 80 และขนส่งผู้โดยสารเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ตเพียง 18,633 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 80 เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินมาจากประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย โดยในช่วง 7 เดือนดังกล่าว มีเพียงเที่ยวบิน ที่บินมาจากสวีเดน และฟินแลนด์เป็นหลัก แต่ก็ยังมีจำนวนลดลงกว่าปีที่ผ่านมาถึง ร้อยละ 50 ในขณะที่เที่ยวบินไม่ประจำจากภูมิภาคเอเชียเพิ่งทำการบินจากจีนเข้ามายังภูเก็ตในช่วงเดือนกรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมาเท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบผลกระทบภายหลังธรณีพิบัติภัยต่อ สถานการณ์ด้านการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ตแล้ว จะเห็นได้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ที่ผ่านมา มีจำนวนเที่ยวประจำทำการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ตลดลงกว่าร้อยละ 30 ในขณะที่ทำการบินด้วยเครื่องบินไม่ประจำ กลับมีจำนวนลดลง กว่าร้อยละ 80 จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มที่เดินทางมาโดยเที่ยวบินไม่ประจำได้รับ ผลกระทบมากกว่ากลุ่มที่จัดการเดินทางเข้ามาด้วยเที่ยวบินประจำ ดังนั้น หากสามารถกระตุ้นกลุ่มตลาดที่เดินทางเข้ามา โดยเที่ยวบินไม่ประจำให้เดินทางกลับเข้ามาในภูเก็ตได้อีกครั้ง ก็จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ที่ช่วยให้ สถานการณ์การท่องเที่ยวของภูเก็ตและชายฝั่งอันดามัน ฟื้นตัวกลับมาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สรุปจำนวนเที่ยวบินประจำและไม่ประจำที่ทำการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
จำนวนเที่ยวบิน มกราคม — มิถุนายน 2548 มกราคม — มิถุนายน 2547 การเปลี่ยนแปลง (%)
เที่ยวบินประจำ 1,977 3,107 -36.37
เที่ยวบินไม่ประจำ 94 538 -82.53
2. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการขึ้น-ลงอากาศยาน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เรียกเก็บจากเที่ยวบินไม่ประจำที่ทำการบินเข้าสู่ท่าอากาศยานภูเก็ต จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดให้บริษัทนำเที่ยวและสายการบินจัดแพ็คเก็จเที่ยวบินเหมาลำกลับมาสู่ภูเก็ตอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการบินเข้ามาของเที่ยวบินเหมาลำดังกล่าวจะมีผลในแง่ของการทดสอบการฟื้นตัวของตลาดในระยะเริ่มต้น หากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาโดยเที่ยวบินเหมาลำที่ทำการบินเข้าสู่พื้นที่ภูเก็ตและอันดามันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอก็จะสร้างความมั่นใจให้สายการบินที่ทำการบินประจำกลับมาทำการบินเที่ยวบินประจำในเส้นทางเข้าสู่ภูเก็ตอันจะเป็นส่วนช่วยให้สถานการณ์ท่องเที่ยวในภูเก็ต และแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน ฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--