เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกประกันหรือหลักประกัน
การปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานฯ ที่อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกประกันหรือหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 ที่เห็นว่า ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... เป็นเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาในกรณีผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือคดีที่มีอัตราโทษจำคุกและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ซึ่งทนายความมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด แต่เนื่องจากบทนิยามคำว่า “ยุติธรรมจังหวัด” เป็นคำที่ได้กำหนดขึ้นใหม่เพื่อรองรับในอนาคต ยังไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้อง และเป็นคำที่ยังไม่มีกฎหมายฉบับใดกำหนดไว้โดยเฉพาะ อาจเป็นปัญหาในทางปฏิบัติได้ สมควรพิจารณาใช้คำว่า “ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม” แทน จะมีความเหมาะสมและชัดเจนมากกว่า ไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของ สำนักงบประมาณเกี่ยวกับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายทนายความตามร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... ไปดำเนินการต่อไป
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกประกันหรือหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การเรียกประกันหรือหลักประกันในชั้นสอบสวน การใช้บุคคลเป็นประกันหรือการกำหนดให้หลักทรัพย์ใดเป็นหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราว ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับประธานศาลฎีกามาใช้โดยอนุโลม
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้สภาทนายความเสนอบัญชีรายชื่อบุคคลที่รับเป็นทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ต่อกระทรวงยุติธรรมภายใน 30 วัน
2. ให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหา โดยเลือกจากบัญชีรายชื่อทนายความที่ได้จัดไว้ และทนายความมีสิทธิรับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม
3. ทนายความจะต้องเข้าร่วมสอบปากคำในชั้นสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน และให้คำแนะนำทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหา
4. ทนายความอาจขอถอนตัวได้ และรัฐต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาใหม่ภายใน 7 วัน ระหว่าง จัดหาทนายความเดิมคงทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการตั้งทนายความใหม่
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมชี้แจงว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 ได้บัญญัติให้มีการออกกฎกระทรวงเพื่อเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาที่สำคัญรวม 2 ประการ ได้แก่ การเรียกประกันหรือหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญาพนักงานสอบสวนจะเรียกจำนวนที่เกินสมควรไม่ได้ และกำหนดบังคับให้รัฐต้องจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาในกรณีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี และคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตสำหรับคดีที่มีอัตราโทษจำคุกและผู้ต้องหาต้องการทนายความรัฐก็ต้องจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาเช่นเดียวกัน อันเป็นการสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการออกกฎหมายลำดับรองเพื่อบังคับการตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการคลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสภาทนายความ โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงจำนวน 2 ฉบับเสร็จแล้ว
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... อาจมีผลกระทบต่อทนายความ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นและหารือร่วมกับสภาทนายความในรายละเอียดที่อาจเป็นอุปสรรคในการดำเนินการด้วยแล้ว เช่น การจัดทำบัญชี รายชื่อทนายความที่รัฐสามารถจัดให้เข้าร่วมในชั้นสอบสวน การจัดหาหรือคัดเลือกทนายความของพนักงานสอบสวน หลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่าย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติปริมาณคดีอาญาในปัจจุบันมีคดีที่คาดว่าจะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่รัฐต้องจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาประมาณ 80,000 — 100,000 คดี มีความจำเป็นต้องได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนในการจ่ายเป็นเงินรางวัล และค่าใช้จ่ายให้แก่ทนายความโดยรวมประมาณ 100 ล้านบาท จึงเสนอร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--
การปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานฯ ที่อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกประกันหรือหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 ที่เห็นว่า ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... เป็นเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาในกรณีผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือคดีที่มีอัตราโทษจำคุกและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ซึ่งทนายความมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด แต่เนื่องจากบทนิยามคำว่า “ยุติธรรมจังหวัด” เป็นคำที่ได้กำหนดขึ้นใหม่เพื่อรองรับในอนาคต ยังไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้อง และเป็นคำที่ยังไม่มีกฎหมายฉบับใดกำหนดไว้โดยเฉพาะ อาจเป็นปัญหาในทางปฏิบัติได้ สมควรพิจารณาใช้คำว่า “ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม” แทน จะมีความเหมาะสมและชัดเจนมากกว่า ไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของ สำนักงบประมาณเกี่ยวกับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายทนายความตามร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... ไปดำเนินการต่อไป
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกประกันหรือหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การเรียกประกันหรือหลักประกันในชั้นสอบสวน การใช้บุคคลเป็นประกันหรือการกำหนดให้หลักทรัพย์ใดเป็นหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราว ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับประธานศาลฎีกามาใช้โดยอนุโลม
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้สภาทนายความเสนอบัญชีรายชื่อบุคคลที่รับเป็นทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ต่อกระทรวงยุติธรรมภายใน 30 วัน
2. ให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหา โดยเลือกจากบัญชีรายชื่อทนายความที่ได้จัดไว้ และทนายความมีสิทธิรับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม
3. ทนายความจะต้องเข้าร่วมสอบปากคำในชั้นสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน และให้คำแนะนำทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหา
4. ทนายความอาจขอถอนตัวได้ และรัฐต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาใหม่ภายใน 7 วัน ระหว่าง จัดหาทนายความเดิมคงทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการตั้งทนายความใหม่
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมชี้แจงว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 ได้บัญญัติให้มีการออกกฎกระทรวงเพื่อเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาที่สำคัญรวม 2 ประการ ได้แก่ การเรียกประกันหรือหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญาพนักงานสอบสวนจะเรียกจำนวนที่เกินสมควรไม่ได้ และกำหนดบังคับให้รัฐต้องจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาในกรณีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี และคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตสำหรับคดีที่มีอัตราโทษจำคุกและผู้ต้องหาต้องการทนายความรัฐก็ต้องจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาเช่นเดียวกัน อันเป็นการสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการออกกฎหมายลำดับรองเพื่อบังคับการตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการคลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสภาทนายความ โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงจำนวน 2 ฉบับเสร็จแล้ว
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหา พ.ศ. .... อาจมีผลกระทบต่อทนายความ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นและหารือร่วมกับสภาทนายความในรายละเอียดที่อาจเป็นอุปสรรคในการดำเนินการด้วยแล้ว เช่น การจัดทำบัญชี รายชื่อทนายความที่รัฐสามารถจัดให้เข้าร่วมในชั้นสอบสวน การจัดหาหรือคัดเลือกทนายความของพนักงานสอบสวน หลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่าย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติปริมาณคดีอาญาในปัจจุบันมีคดีที่คาดว่าจะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่รัฐต้องจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาประมาณ 80,000 — 100,000 คดี มีความจำเป็นต้องได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนในการจ่ายเป็นเงินรางวัล และค่าใช้จ่ายให้แก่ทนายความโดยรวมประมาณ 100 ล้านบาท จึงเสนอร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--