แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงการคลัง
กระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันประกันเงินฝาก พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงยุติธรรม ไปพิจารณาประกอบด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทน-ราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังเสนอว่า ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มเปิดเสรีมากขึ้น อีกทั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินยังมีขอบเขต อำนาจและหน้าที่ไม่ชัดเจนเพียงพอในการคุ้มครองและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฝากเงินอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว สมควรให้จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากที่มีขอบเขตอำนาจและหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ฝากเงินอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันประกันเงินฝาก พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1.1 ประกันเงินฝากของประชาชนในสถาบันการเงินสมาชิก
1.2 เสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
1.3 ดำเนินการสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกควบคุม และชำระบัญชีสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัติ
2. ให้กำหนดทุนประเดิมของสถาบันประกันเงินฝากเป็นจำนวนหนึ่งพันล้านบาท
3. ให้สถาบันประกันเงินฝากตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล และจะจัดตั้งสาขา ณ ที่ใดที่หนึ่งในราชอาณาจักรก็ได้
4. ให้มี “คณะกรรมการสถาบันประกันเงินฝาก” ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ผู้แทนธนาคาร แห่งประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงการคลัง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 3 คน และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอชื่อประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
5. สมาชิกของสถาบันประกันเงินฝาก ประกอบด้วย
5.1 ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
5.2 สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งรับเงินฝากจากประชาชนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
6. ให้สถาบันการเงินสมาชิกนำส่งเบี้ยประกันเข้าสถาบันตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อัตราดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละหนึ่งต่อปีของยอดเงินฝากเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี
7. สถาบันประกันเงินฝากมีอำนาจสั่งให้สถาบันการเงินสมาชิกยื่นรายงานลับตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวก็ได้ และสถาบันจะร้องขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นของทางการที่กำกับดูแลสถาบันการเงินสมาชิกทำการตรวจสอบ เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ฐานะ หรือการดำเนินงานของสมาชิกเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้
8. จำนวนเงินสูงสุดของเงินฝากที่ประกันสำหรับผู้ฝากแต่ละรายในแต่ละสถาบันการเงินไม่เกินจำนวนตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
9. เมื่อสถาบันการเงินสมาชิกถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้สถาบันประกันเงินฝากเป็นผู้ชำระบัญชี
10. ให้สถาบันประกันเงินฝากทำรายงานเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปีละครั้งภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้ประกาศงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วในราชกิจจานุเบกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547--จบ--
กระทรวงการคลังเสนอว่า ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มเปิดเสรีมากขึ้น อีกทั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินยังมีขอบเขต อำนาจและหน้าที่ไม่ชัดเจนเพียงพอในการคุ้มครองและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฝากเงินอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว สมควรให้จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากที่มีขอบเขตอำนาจและหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ฝากเงินอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันประกันเงินฝาก พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1.1 ประกันเงินฝากของประชาชนในสถาบันการเงินสมาชิก
1.2 เสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
1.3 ดำเนินการสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกควบคุม และชำระบัญชีสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัติ
2. ให้กำหนดทุนประเดิมของสถาบันประกันเงินฝากเป็นจำนวนหนึ่งพันล้านบาท
3. ให้สถาบันประกันเงินฝากตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล และจะจัดตั้งสาขา ณ ที่ใดที่หนึ่งในราชอาณาจักรก็ได้
4. ให้มี “คณะกรรมการสถาบันประกันเงินฝาก” ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ผู้แทนธนาคาร แห่งประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงการคลัง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 3 คน และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอชื่อประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
5. สมาชิกของสถาบันประกันเงินฝาก ประกอบด้วย
5.1 ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
5.2 สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งรับเงินฝากจากประชาชนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
6. ให้สถาบันการเงินสมาชิกนำส่งเบี้ยประกันเข้าสถาบันตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อัตราดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละหนึ่งต่อปีของยอดเงินฝากเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี
7. สถาบันประกันเงินฝากมีอำนาจสั่งให้สถาบันการเงินสมาชิกยื่นรายงานลับตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวก็ได้ และสถาบันจะร้องขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นของทางการที่กำกับดูแลสถาบันการเงินสมาชิกทำการตรวจสอบ เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ฐานะ หรือการดำเนินงานของสมาชิกเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้
8. จำนวนเงินสูงสุดของเงินฝากที่ประกันสำหรับผู้ฝากแต่ละรายในแต่ละสถาบันการเงินไม่เกินจำนวนตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
9. เมื่อสถาบันการเงินสมาชิกถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้สถาบันประกันเงินฝากเป็นผู้ชำระบัญชี
10. ให้สถาบันประกันเงินฝากทำรายงานเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปีละครั้งภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้ประกาศงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วในราชกิจจานุเบกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547--จบ--