คณะรัฐมนตรีพิจารณาการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้คณะเจ้าหน้าที่ นักศึกษา ฯลฯ ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้รับการยกเว้นจากพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ตามที่กระทรวง การต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้กระทรวงแรงงานอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 แต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่ของสถาบัน AIT ให้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในการออกใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวให้กับบุคลากรของสถาบัน AIT ตามขอบเขตที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
2. เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนในการดำเนินการต่อหรือจัดทำสัญญาเช่าที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบัน AIT ภายใต้เงื่อนไขเดิมหรือใกล้เคียงกับเงื่อนไขเดิม
สำหรับการแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวให้กับบุคลากรของสถาบัน AIT ให้กระทรวงแรงงานพิจารณาแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน หรือเจ้าหน้าที่ของสถาบัน AIT ตามที่เห็นสมควร
กระทรวงการต่างประเทศเสนอรายงานว่า
1. สถาบันฯ ก่อตั้งขึ้นโดยมติของสภาองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ — ส.ป.อ. (SEATO) เมื่อ พ.ศ.2508 (ค.ส. 1965) ไม่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศเพราะสถาบันฯ มิได้เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างรัฐที่มีเจตนามุ่งก่อตั้งสถาบันฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศตั้งแต่ต้น
2. ในปี 2510 รัฐบาลไทยได้ทำความตกลงกับองค์การ ส.ป.อ. ให้สถาบันฯ มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยด้วย และให้สถาบัน บุคลากร นักศึกษา และสมาชิกในครอบครัว ได้รับอุปโภคเอกสิทธิและการอำนวยความสะดวกบางประการ และได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พ.ศ. 2510 ขึ้นมาบังคับใช้
3. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
3.1 ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ผู้บริหารและบุคลากรต่างชาติของสถาบันฯ ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 โดยมิต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ได้อนุโลมให้เกี่ยวกับใบอนุญาตทำงานของบุคลากรดังกล่าวตลอดมา จนต่อมาได้เกิดปัญหาการตีความว่าสถาบันฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศหรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการมีคำวินิจฉัยเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 ในแนวทางเดียวกับส่วนราชการที่รับผิดชอบ ยืนยันว่าสถาบันฯ ไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันฯ และบุคลากรจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว เป็นเหตุให้จังหวัดปทุมธานีแจ้งให้สถาบันฯ ปฏิบัติตามกฎหมายภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 สถาบันฯ จึงได้มีหนังสือร้องขอผ่านกระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองการดำเนินงานของสถาบันฯ พ.ศ. 2510 ให้พิจารณาหาทางออก
3.2 สัญญาเช่าที่ดินซึ่งสถาบันฯ ได้ลงนามไว้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของสถาบันฯ หมดอายุลงแล้วตั้งแต่ปี 2544 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวประสงค์จะต่อสัญญาเช่าให้เป็นระยะ ๆ ภายใต้ค่าเช่าที่เกิดขึ้นใหม่ และไม่อนุญาตให้ต่อสัญญาโดยอัตโนมัติตามอัตราค่าเช่าสัญญลักษณ์ (5 บาทต่อไร่ต่อปี) ตามที่ได้ถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งบัดนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547--จบ--
1. ให้กระทรวงแรงงานอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 แต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่ของสถาบัน AIT ให้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในการออกใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวให้กับบุคลากรของสถาบัน AIT ตามขอบเขตที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
2. เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนในการดำเนินการต่อหรือจัดทำสัญญาเช่าที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบัน AIT ภายใต้เงื่อนไขเดิมหรือใกล้เคียงกับเงื่อนไขเดิม
สำหรับการแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวให้กับบุคลากรของสถาบัน AIT ให้กระทรวงแรงงานพิจารณาแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน หรือเจ้าหน้าที่ของสถาบัน AIT ตามที่เห็นสมควร
กระทรวงการต่างประเทศเสนอรายงานว่า
1. สถาบันฯ ก่อตั้งขึ้นโดยมติของสภาองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ — ส.ป.อ. (SEATO) เมื่อ พ.ศ.2508 (ค.ส. 1965) ไม่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศเพราะสถาบันฯ มิได้เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างรัฐที่มีเจตนามุ่งก่อตั้งสถาบันฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศตั้งแต่ต้น
2. ในปี 2510 รัฐบาลไทยได้ทำความตกลงกับองค์การ ส.ป.อ. ให้สถาบันฯ มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยด้วย และให้สถาบัน บุคลากร นักศึกษา และสมาชิกในครอบครัว ได้รับอุปโภคเอกสิทธิและการอำนวยความสะดวกบางประการ และได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พ.ศ. 2510 ขึ้นมาบังคับใช้
3. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
3.1 ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ผู้บริหารและบุคลากรต่างชาติของสถาบันฯ ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 โดยมิต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ได้อนุโลมให้เกี่ยวกับใบอนุญาตทำงานของบุคลากรดังกล่าวตลอดมา จนต่อมาได้เกิดปัญหาการตีความว่าสถาบันฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศหรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการมีคำวินิจฉัยเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 ในแนวทางเดียวกับส่วนราชการที่รับผิดชอบ ยืนยันว่าสถาบันฯ ไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ ดังนั้น สถาบันฯ และบุคลากรจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว เป็นเหตุให้จังหวัดปทุมธานีแจ้งให้สถาบันฯ ปฏิบัติตามกฎหมายภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 สถาบันฯ จึงได้มีหนังสือร้องขอผ่านกระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองการดำเนินงานของสถาบันฯ พ.ศ. 2510 ให้พิจารณาหาทางออก
3.2 สัญญาเช่าที่ดินซึ่งสถาบันฯ ได้ลงนามไว้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของสถาบันฯ หมดอายุลงแล้วตั้งแต่ปี 2544 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวประสงค์จะต่อสัญญาเช่าให้เป็นระยะ ๆ ภายใต้ค่าเช่าที่เกิดขึ้นใหม่ และไม่อนุญาตให้ต่อสัญญาโดยอัตโนมัติตามอัตราค่าเช่าสัญญลักษณ์ (5 บาทต่อไร่ต่อปี) ตามที่ได้ถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งบัดนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547--จบ--