คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสถานการณ์พายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า” (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน
2547) ตามที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย 2547 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย เสนอดังนี้
1. สถานการณ์พายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า”
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 พายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า” ได้เคลื่อนตัวทางตะวันตก
ค่อนทางเหนือ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กม./ซม.
และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อเวลา 22.00 น. และเคลื่อนตัวผ่านจังหวัด
ระนองลงสู่ทะเลอันดามัน
2. สรุปความเสียหาย
2.1 จังหวัดที่ประสบความเสียหาย มี 5 จังหวัด ใน 21 อำเภอ (เรียงลำดับ
ความเสียหายจากมากไปน้อย) ดังนี้
ลำดับ จังหวัด พื้นที่และผู้ประสบภัย ความเสียหาย
อำเภอ ครัวเรือน คน อพยพ (คน) ด้านชีวิต บ้านเรือน สิงสาธารณประโยชน์ เรือประมง
เสียชีวิต (คน) บาดเจ็บ(คน) ทั้งหลัง บางส่วน ถนน คอสะพาน ฝายน้ำล้น
1 ชุมพร 5 1,260 6,175 4,010 1 - 3 221 58 5 2 -
2 ประจวบคีรีขันธ์ 2 - - - - 3 - - - - - 8
3 ระนอง 1 9 27 - - - - 2 - - - -
4 สุราษฎร์ธานี 7 - 1,962 1,957 - - - 1 - - - -
5 นครศรีธรรมราช 6 - 14,444 14,444 - - - - - - - -
21 1,269 22,609 20,411 1 3 3 214 58 5 2 8
หมายเหตุ ยังไม่มีรายงานความเสียหายด้านการเกษตร
2.2 จังหวัดในภาคใต้ที่ไม่ได้รับผลกระทบ จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา
ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล พัทลุง ตรัง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
3. มาตรการเตรียมการรับสถานการณ์พายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า”
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีวิทยุ
แจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภาคใต้ทุกจังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ให้เตรียมรับ
สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2547 รวม 11 ฉบับ ดังนี้
1) แจ้งสถานการณ์เกิดพายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า” และพื้นที่ที่คาดว่าจะได้
รับผลกระทบ
2) ให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
วาตภัย และโคลนถล่มระดับจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง
3) ดำเนินการตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ โดยการ
เตรียมบุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์ เรือท้องแบนการ การสั่งการ ใช้มวลชน การประชาสัมพันธ์ การเตรียมการ
อพยพประชาชน และรายงานสถานการณ์ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
4) ให้จังหวัดแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกที่พายุอาจเคลื่อนผ่าน
ดำเนินการอพยพประชาชนและเคลื่อนย้ายทรัพย์สินในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยโดยด่วน ให้แล้ว
เสร็จก่อนเวลา 18.00 น. ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547
4. การสนับสนุนและการให้ความช่วยเหลือ
1) สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต
11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลาส่งเรือท้องแบนไปสนับสนุนเตรียมความพร้อมเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
6 ลำ รถบรรทุก 6 ล้อ 1 คัน
2) ประสานงานกับกองบังคับการตำรวจน้ำและกองทัพเรือในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ในทะเล
3) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 ได้จัดส่งถุงยังชีพ จำนวน 4,000 ชุด ไปยัง
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี เพื่อสนับสนุนจังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานี แจกจ่าย
แก่ประชาชนที่ประสบภัย
4) ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถอนุมัติเงินทดรองราชการ ในวงเงิน 50 ล้านบาท
ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติงานช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยที่จะเกิดขึ้นใน
ครั้งนี้
5) จังหวัดที่ได้รับผลกระทบได้ดำเนินการอพยพประชาชนไปอยู่ในจุดรองรับการ
อพยพจำนวน 20,411 คน
5. การตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสุธรรม แสงประทุม) พร้อมคณะ ได้
เดินทางไปตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยพร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ที่อำเภอปะทิว
จังหวัดชุมพร อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และวันที่ 29พฤศจิกายน 2547 ที่อำเภอชะอวก จังหวัดนครศรี-
ธรรมราช
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547--จบ--
2547) ตามที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย 2547 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย เสนอดังนี้
1. สถานการณ์พายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า”
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 พายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า” ได้เคลื่อนตัวทางตะวันตก
ค่อนทางเหนือ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กม./ซม.
และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อเวลา 22.00 น. และเคลื่อนตัวผ่านจังหวัด
ระนองลงสู่ทะเลอันดามัน
2. สรุปความเสียหาย
2.1 จังหวัดที่ประสบความเสียหาย มี 5 จังหวัด ใน 21 อำเภอ (เรียงลำดับ
ความเสียหายจากมากไปน้อย) ดังนี้
ลำดับ จังหวัด พื้นที่และผู้ประสบภัย ความเสียหาย
อำเภอ ครัวเรือน คน อพยพ (คน) ด้านชีวิต บ้านเรือน สิงสาธารณประโยชน์ เรือประมง
เสียชีวิต (คน) บาดเจ็บ(คน) ทั้งหลัง บางส่วน ถนน คอสะพาน ฝายน้ำล้น
1 ชุมพร 5 1,260 6,175 4,010 1 - 3 221 58 5 2 -
2 ประจวบคีรีขันธ์ 2 - - - - 3 - - - - - 8
3 ระนอง 1 9 27 - - - - 2 - - - -
4 สุราษฎร์ธานี 7 - 1,962 1,957 - - - 1 - - - -
5 นครศรีธรรมราช 6 - 14,444 14,444 - - - - - - - -
21 1,269 22,609 20,411 1 3 3 214 58 5 2 8
หมายเหตุ ยังไม่มีรายงานความเสียหายด้านการเกษตร
2.2 จังหวัดในภาคใต้ที่ไม่ได้รับผลกระทบ จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา
ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล พัทลุง ตรัง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
3. มาตรการเตรียมการรับสถานการณ์พายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า”
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีวิทยุ
แจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภาคใต้ทุกจังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ให้เตรียมรับ
สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2547 รวม 11 ฉบับ ดังนี้
1) แจ้งสถานการณ์เกิดพายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า” และพื้นที่ที่คาดว่าจะได้
รับผลกระทบ
2) ให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
วาตภัย และโคลนถล่มระดับจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง
3) ดำเนินการตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ โดยการ
เตรียมบุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์ เรือท้องแบนการ การสั่งการ ใช้มวลชน การประชาสัมพันธ์ การเตรียมการ
อพยพประชาชน และรายงานสถานการณ์ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
4) ให้จังหวัดแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกที่พายุอาจเคลื่อนผ่าน
ดำเนินการอพยพประชาชนและเคลื่อนย้ายทรัพย์สินในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยโดยด่วน ให้แล้ว
เสร็จก่อนเวลา 18.00 น. ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547
4. การสนับสนุนและการให้ความช่วยเหลือ
1) สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต
11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลาส่งเรือท้องแบนไปสนับสนุนเตรียมความพร้อมเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
6 ลำ รถบรรทุก 6 ล้อ 1 คัน
2) ประสานงานกับกองบังคับการตำรวจน้ำและกองทัพเรือในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ในทะเล
3) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 ได้จัดส่งถุงยังชีพ จำนวน 4,000 ชุด ไปยัง
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี เพื่อสนับสนุนจังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานี แจกจ่าย
แก่ประชาชนที่ประสบภัย
4) ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถอนุมัติเงินทดรองราชการ ในวงเงิน 50 ล้านบาท
ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติงานช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยที่จะเกิดขึ้นใน
ครั้งนี้
5) จังหวัดที่ได้รับผลกระทบได้ดำเนินการอพยพประชาชนไปอยู่ในจุดรองรับการ
อพยพจำนวน 20,411 คน
5. การตรวจเยี่ยมประชาชนที่ประสบภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสุธรรม แสงประทุม) พร้อมคณะ ได้
เดินทางไปตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยพร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ที่อำเภอปะทิว
จังหวัดชุมพร อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และวันที่ 29พฤศจิกายน 2547 ที่อำเภอชะอวก จังหวัดนครศรี-
ธรรมราช
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547--จบ--