คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติด้านการเกษตรตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์อุทกภัย ระหว่างวันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2547
จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า” ในบริเวณอ่าวไทยที่เคลื่อนตัวในแนวทิศตะวันตก และได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 เวลา 22.30 น. ที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดชุมพร ผ่านจังหวัดระนองเข้าสู่ทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547 เวลา 13.00 น. และสลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 3 จังหวัด 10 อำเภอ ดังนี้
จังหวัดชุมพร 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ประทิว ท่าแซะ และสวี
จังหวัดระนอง 5 อำเภอ คือ อำเภอเมือง กระเปอร์ ระอุ่น กระบุรี และกิ่งอำเภอสุขสำราญ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 อำเภอ คือ อำเภอบางสะพาน
เกษตรกรได้รับผลกระทบ 2,541 ราย พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 15,070 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 5,237 ไร่ สัตว์ได้รับผลกระทบ 9,835 ตัว พื้นที่ประสบภัยด้านประมง 1,262 ไร่ ลักษณะความเสียหายเป็นบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 692 บ่อ เรือประมง 18 ลำ
2. สถานการณ์ภัยแล้ง
2.1 สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
ปริมาตรน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 27,252 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 ของความจุ ใช้การได้ของอ่างเก็บน้ำ โดยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 64 57 64 และ 59 ของความจุใช้การได้ของอ่างเก็บน้ำ ตามลำดับ อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 16 และ 9 ส่วนภาคกลาง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนกระเสียว และทับเสลา คิดเป็นร้อยละ 1 และ 10 ของความจุใช้การได้
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำใช้การได้ 4,317 และ 6,082 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 45 และ 91 ของความจุใช้การได้ของอ่างเก็บน้ำ ตามลำดับ
2.2 พื้นที่ประสบภัย ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม — 16 พฤศจิกายน 2547
พื้นที่ประสบภัยแล้งทั้งสิ้น จำนวน 52 จังหวัด โดยมีพื้นที่การเกษตรประสบภัยทั้งสิ้น 44 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ภาคกลาง 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัดภาคตะวันตก 3 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด คือ จังหวัดสตูล เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 1,378,561 ราย พื้นที่การเกษตรประสบภัยทั้งสิ้น 23.50 ล้านไร่ คาดว่าจะเสียหาย 15.45 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตรเสียหายสิ้นเชิง 11.65 ล้านไร่ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ประสบภัย จำนวน 2.40 ล้านไร่ รองลงมาคือ จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ประสบภัย จำนวน 1.70 ล้านไร่
2.3 การให้ความช่วยเหลือ
(1) กรมชลประทานสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือการเพาะปลูก และเพื่อการอุปโภค — บริโภค ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน จำนวน 989 เครื่อง
(2) กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานการใช้เงินทดรองราชการของจังหวัด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว จำนวน 66,598 ราย วงเงิน 213.64 ล้านบาท ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 767,626.25 ไร่
(3) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 5 ศูนย์ 7 ฐาน ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ประจวบคีรีขันธ์ ผลการปฏิบัติการฝนหลวง 22 — 28 พฤศจิกายน ขึ้นปฏิบัติการ 94 เที่ยวบิน ทำให้ฝนตกเล็กน้อย — ปานกลาง ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ตาก ลำปาง เชียงราย ลำพูน พะเยา นครสวรรค์ ลพบุรี หนองคาย เลย อุดรธานี นครพนม ขอนแก่น มุกดาหาร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี สระแก้ว เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547--จบ--
1. สถานการณ์อุทกภัย ระหว่างวันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2547
จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “หมุ่ยฟ้า” ในบริเวณอ่าวไทยที่เคลื่อนตัวในแนวทิศตะวันตก และได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 เวลา 22.30 น. ที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดชุมพร ผ่านจังหวัดระนองเข้าสู่ทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547 เวลา 13.00 น. และสลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 3 จังหวัด 10 อำเภอ ดังนี้
จังหวัดชุมพร 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ประทิว ท่าแซะ และสวี
จังหวัดระนอง 5 อำเภอ คือ อำเภอเมือง กระเปอร์ ระอุ่น กระบุรี และกิ่งอำเภอสุขสำราญ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 อำเภอ คือ อำเภอบางสะพาน
เกษตรกรได้รับผลกระทบ 2,541 ราย พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 15,070 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 5,237 ไร่ สัตว์ได้รับผลกระทบ 9,835 ตัว พื้นที่ประสบภัยด้านประมง 1,262 ไร่ ลักษณะความเสียหายเป็นบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 692 บ่อ เรือประมง 18 ลำ
2. สถานการณ์ภัยแล้ง
2.1 สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
ปริมาตรน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 27,252 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 ของความจุ ใช้การได้ของอ่างเก็บน้ำ โดยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 64 57 64 และ 59 ของความจุใช้การได้ของอ่างเก็บน้ำ ตามลำดับ อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 16 และ 9 ส่วนภาคกลาง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนกระเสียว และทับเสลา คิดเป็นร้อยละ 1 และ 10 ของความจุใช้การได้
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำใช้การได้ 4,317 และ 6,082 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 45 และ 91 ของความจุใช้การได้ของอ่างเก็บน้ำ ตามลำดับ
2.2 พื้นที่ประสบภัย ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม — 16 พฤศจิกายน 2547
พื้นที่ประสบภัยแล้งทั้งสิ้น จำนวน 52 จังหวัด โดยมีพื้นที่การเกษตรประสบภัยทั้งสิ้น 44 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ภาคกลาง 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัดภาคตะวันตก 3 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด คือ จังหวัดสตูล เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 1,378,561 ราย พื้นที่การเกษตรประสบภัยทั้งสิ้น 23.50 ล้านไร่ คาดว่าจะเสียหาย 15.45 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตรเสียหายสิ้นเชิง 11.65 ล้านไร่ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ประสบภัย จำนวน 2.40 ล้านไร่ รองลงมาคือ จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ประสบภัย จำนวน 1.70 ล้านไร่
2.3 การให้ความช่วยเหลือ
(1) กรมชลประทานสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือการเพาะปลูก และเพื่อการอุปโภค — บริโภค ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน จำนวน 989 เครื่อง
(2) กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานการใช้เงินทดรองราชการของจังหวัด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว จำนวน 66,598 ราย วงเงิน 213.64 ล้านบาท ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 767,626.25 ไร่
(3) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 5 ศูนย์ 7 ฐาน ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ประจวบคีรีขันธ์ ผลการปฏิบัติการฝนหลวง 22 — 28 พฤศจิกายน ขึ้นปฏิบัติการ 94 เที่ยวบิน ทำให้ฝนตกเล็กน้อย — ปานกลาง ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ตาก ลำปาง เชียงราย ลำพูน พะเยา นครสวรรค์ ลพบุรี หนองคาย เลย อุดรธานี นครพนม ขอนแก่น มุกดาหาร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี สระแก้ว เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547--จบ--