คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหมรายงานผลการปฏิบัติงานที่สำคัญตามนโยบายความมั่นคงและพัฒนาประเทศในรอบสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน — 2 ธันวาคม 2547สรุปได้ดังนี้
1. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
1.1 ในห้วงรายงานเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดสงขลา, จังหวัดปัตตานี, จังหวัดยะลา และ จังหวัดนราธิวาส ) จำนวน 23 ครั้ง แยกเป็นพื้นที่จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง, จังหวัดปัตตานี 6 ครั้ง, จังหวัดยะลา 2 ครั้ง, จังหวัดนราธิวาส 13 ครั้ง เป็นการลอบยิงมากที่สุด 18 ครั้ง รวมการก่อเหตุร้ายลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
1.2 เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจที่ 3 ร่วมกับตำรวจภูธรภาค 9 ได้สังหารสมาชิกกลุ่มโจรที่มีหมายจับ 1 คน พร้อมยึดเสื้อเกราะ 4 ตัว อาวุธปืนเล็กยาว 7 กระบอก (เอ็ม 16 /4 กระบอก, เอเค 47 /2 กระบอก และนาโต้ 05/1กระบอก )รวมทั้งกระสุนและวัตถุระเบิดจำนวนมากที่ ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี นอกจากนี้หน่วยเฉพาะกิจทุกหน่วยได้เพิ่มปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปิดล้อม ตรวจค้นและตั้งจุดตรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหามีอาวุธปืนพกครอบครองโดยผิดกฏหมาย 2 คนและผู้ต้องหาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 10 คน พร้อมยาเสพติดจำนวนหนึ่ง
2. การเตรียมความพร้อม
2.1 การวิจัยและพัฒนากองทัพบกได้พัฒนาระบบกำลังสำรองเพื่อความพร้อมในการบรรจุให้เต็มอัตราทดแทนการสูญเสียและขยายการจัดหน่วยในยามสงครามซึ่งได้ปฏิรูป กำหนดระบบการผลิตกำลังพลวิธีใหม่ โดยยกเลิกการผ่อนผันเข้ารับราชการ เนื่องจากการเรียนวิชาทหาร และทุกคนต้องเข้ารับการตรวจเลือกหรือสมัครเพื่อเข้ารับราชการเป็นเวลา 2 ปี ในลักษณะทหารกองประจำการชั้นยศ พลทหาร, นายทหารประทวน, และนายทหารสัญญาบัตร ตามวุฒิการศึกษา และวุฒิการศึกษาวิชาทหาร บรรจุตามอัตรากำลังพลสำรองของหน่วยแตกต่างจากปัจจุบันที่เมื่อถูกตรวจเลือกแล้วจะเป็นพลทหารอย่างเดียว โดยเมื่อรับราชการครบ 2 ปี ปลดประจำการแล้ว กำลังพลดังกล่าวเป็นกำลังสำรองตามบัญชีบรรจุกำลัง 3 - 5 ปีต่อไป ซึ่งการดำเนินการตามแนวทางนี้จะประหยัดงบประมาณด้านกำลังพล การฝึก และหน่วยรบจะมีกำลังพลที่หนุ่ม และสดชื่นมีระบบกำลังสำรองที่มีประสิทธิภาพและปรับเพิ่มหรือลดกำลังพลได้ตามความต้องการซึ่งแนวทางดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบจากโครงการนำร่องของกองทัพบกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 — 31 สิงหาคม 2547 และผ่านการสัมมนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางในการขยายโครงการที่จะนำกำลังสำรองมาปฏิบัติงานทดแทนกำลังประจำการตั้งแต่ยามปกติ ทั้งนี้กองทัพจะนำแนวทางดังกล่าวเป็นข้อพิจารณาในการทบทวนจัดทำร่างพระราชบัญญัติกำลังสำรองแห่งชาติต่อไป
2.2 การฝึกเพื่อการพร้อมรบ กองทัพอากาศได้กำหนดการฝึกร่วมกับกองทัพอากาศจากประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐสิงคโปร์ภายใต้รหัสการฝึกผสมโคปไทเกอร์ 2005 ในห้วง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548โดยทำการฝึก 2 ภาคคือภาคที่บังคับการที่ฐานทัพอากาศปายาเลบาร์ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ และภาคการฝึกปฏิบัติการบินที่กองบินที่ 1 จังหวัดนคราชสีมาและสนามฝึกการใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ และเพิ่มพูนประสบการณ์ของนักบินรวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการบินโดยเฉพาะในการปฏิบัติการทางอากาศผสมระหว่างกองทัพอากาศทั้งสามชาติ
3. การปฏิบัติการทหารที่มิใช่การสงคราม
3.1 การดำเนินการทางโครงการพระราชดำริกองทัพภาคที่ 4 (ส่วนหน้า) ได้ดำเนินการก่อสร้างธนาคารข้าวพระราชทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 30 หมู่บ้าน ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้ว จำนวน 26หมู่บ้านและดำเนินการประสานหน่วยกำลังพื้นที่รวมกับประชาชนในหมู่บ้านจัดทำมาตรการรักษาความปลอดภัยมิให้ถูกกระทำจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบรวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการและจัดหาข้าวสารหมุนเวียนเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
3.2 การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกองทัพไทยมีการปฏิบัติดังนี้ ลาดตระเวนพิสูจน์ทราบเป้าหมาย จำนวน 1,367 ครั้ง, ปิดล้อมตรวจค้นโดยมีผลการจับกุมจำนวน 58 ครั้ง ได้ผู้ต้องหา 211 คน ยึดยาบ้าได้จำนวน 85,935 เม็ด เงินสดจำนวน 257,263 บาท ยึดอาวุธปืนได้ 30 กระบอก กระสุนปืน 91 นัด ลูกระเบิดขว้าง 1 ลูก ระเบิดหัวค้อน 1 ลูก ขณะที่กองทัพบกได้ดำเนินการตามโครงการ ศูนย์ทะเบียนทหารยาเสพติดโดยตรวจสารเสพติดจากทหารกองประจำการผลัดที่ 2/47 จำนวน 27,154นาย ตรวจพบจำนวน 240 นาย คิดเป็นร้อยละ 0.88
3.3 โครงการพับนกกระดาษเพื่อสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพอากาศจัดอากาศยานของกองทัพอากาศร่วมกับอากาศยานจากกองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม และหน่วยบินของส่วนราชการต่างๆ รวม 45 เครื่อง เคลื่อนย้ายเข้าที่กองบิน 56 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 3 และ 4 ธันวาคม ๒๕๔๗ โดยปฏิบัติการปล่อยควันสีธงชาติ และโปรยนกกระดาษเหนือพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันที่ 5 ธันวาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ธันวาคม 2547--จบ--
1. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
1.1 ในห้วงรายงานเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดสงขลา, จังหวัดปัตตานี, จังหวัดยะลา และ จังหวัดนราธิวาส ) จำนวน 23 ครั้ง แยกเป็นพื้นที่จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง, จังหวัดปัตตานี 6 ครั้ง, จังหวัดยะลา 2 ครั้ง, จังหวัดนราธิวาส 13 ครั้ง เป็นการลอบยิงมากที่สุด 18 ครั้ง รวมการก่อเหตุร้ายลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
1.2 เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจที่ 3 ร่วมกับตำรวจภูธรภาค 9 ได้สังหารสมาชิกกลุ่มโจรที่มีหมายจับ 1 คน พร้อมยึดเสื้อเกราะ 4 ตัว อาวุธปืนเล็กยาว 7 กระบอก (เอ็ม 16 /4 กระบอก, เอเค 47 /2 กระบอก และนาโต้ 05/1กระบอก )รวมทั้งกระสุนและวัตถุระเบิดจำนวนมากที่ ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี นอกจากนี้หน่วยเฉพาะกิจทุกหน่วยได้เพิ่มปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปิดล้อม ตรวจค้นและตั้งจุดตรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหามีอาวุธปืนพกครอบครองโดยผิดกฏหมาย 2 คนและผู้ต้องหาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 10 คน พร้อมยาเสพติดจำนวนหนึ่ง
2. การเตรียมความพร้อม
2.1 การวิจัยและพัฒนากองทัพบกได้พัฒนาระบบกำลังสำรองเพื่อความพร้อมในการบรรจุให้เต็มอัตราทดแทนการสูญเสียและขยายการจัดหน่วยในยามสงครามซึ่งได้ปฏิรูป กำหนดระบบการผลิตกำลังพลวิธีใหม่ โดยยกเลิกการผ่อนผันเข้ารับราชการ เนื่องจากการเรียนวิชาทหาร และทุกคนต้องเข้ารับการตรวจเลือกหรือสมัครเพื่อเข้ารับราชการเป็นเวลา 2 ปี ในลักษณะทหารกองประจำการชั้นยศ พลทหาร, นายทหารประทวน, และนายทหารสัญญาบัตร ตามวุฒิการศึกษา และวุฒิการศึกษาวิชาทหาร บรรจุตามอัตรากำลังพลสำรองของหน่วยแตกต่างจากปัจจุบันที่เมื่อถูกตรวจเลือกแล้วจะเป็นพลทหารอย่างเดียว โดยเมื่อรับราชการครบ 2 ปี ปลดประจำการแล้ว กำลังพลดังกล่าวเป็นกำลังสำรองตามบัญชีบรรจุกำลัง 3 - 5 ปีต่อไป ซึ่งการดำเนินการตามแนวทางนี้จะประหยัดงบประมาณด้านกำลังพล การฝึก และหน่วยรบจะมีกำลังพลที่หนุ่ม และสดชื่นมีระบบกำลังสำรองที่มีประสิทธิภาพและปรับเพิ่มหรือลดกำลังพลได้ตามความต้องการซึ่งแนวทางดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบจากโครงการนำร่องของกองทัพบกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 — 31 สิงหาคม 2547 และผ่านการสัมมนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางในการขยายโครงการที่จะนำกำลังสำรองมาปฏิบัติงานทดแทนกำลังประจำการตั้งแต่ยามปกติ ทั้งนี้กองทัพจะนำแนวทางดังกล่าวเป็นข้อพิจารณาในการทบทวนจัดทำร่างพระราชบัญญัติกำลังสำรองแห่งชาติต่อไป
2.2 การฝึกเพื่อการพร้อมรบ กองทัพอากาศได้กำหนดการฝึกร่วมกับกองทัพอากาศจากประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐสิงคโปร์ภายใต้รหัสการฝึกผสมโคปไทเกอร์ 2005 ในห้วง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548โดยทำการฝึก 2 ภาคคือภาคที่บังคับการที่ฐานทัพอากาศปายาเลบาร์ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ และภาคการฝึกปฏิบัติการบินที่กองบินที่ 1 จังหวัดนคราชสีมาและสนามฝึกการใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ และเพิ่มพูนประสบการณ์ของนักบินรวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการบินโดยเฉพาะในการปฏิบัติการทางอากาศผสมระหว่างกองทัพอากาศทั้งสามชาติ
3. การปฏิบัติการทหารที่มิใช่การสงคราม
3.1 การดำเนินการทางโครงการพระราชดำริกองทัพภาคที่ 4 (ส่วนหน้า) ได้ดำเนินการก่อสร้างธนาคารข้าวพระราชทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 30 หมู่บ้าน ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้ว จำนวน 26หมู่บ้านและดำเนินการประสานหน่วยกำลังพื้นที่รวมกับประชาชนในหมู่บ้านจัดทำมาตรการรักษาความปลอดภัยมิให้ถูกกระทำจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบรวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการและจัดหาข้าวสารหมุนเวียนเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
3.2 การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกองทัพไทยมีการปฏิบัติดังนี้ ลาดตระเวนพิสูจน์ทราบเป้าหมาย จำนวน 1,367 ครั้ง, ปิดล้อมตรวจค้นโดยมีผลการจับกุมจำนวน 58 ครั้ง ได้ผู้ต้องหา 211 คน ยึดยาบ้าได้จำนวน 85,935 เม็ด เงินสดจำนวน 257,263 บาท ยึดอาวุธปืนได้ 30 กระบอก กระสุนปืน 91 นัด ลูกระเบิดขว้าง 1 ลูก ระเบิดหัวค้อน 1 ลูก ขณะที่กองทัพบกได้ดำเนินการตามโครงการ ศูนย์ทะเบียนทหารยาเสพติดโดยตรวจสารเสพติดจากทหารกองประจำการผลัดที่ 2/47 จำนวน 27,154นาย ตรวจพบจำนวน 240 นาย คิดเป็นร้อยละ 0.88
3.3 โครงการพับนกกระดาษเพื่อสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพอากาศจัดอากาศยานของกองทัพอากาศร่วมกับอากาศยานจากกองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม และหน่วยบินของส่วนราชการต่างๆ รวม 45 เครื่อง เคลื่อนย้ายเข้าที่กองบิน 56 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 3 และ 4 ธันวาคม ๒๕๔๗ โดยปฏิบัติการปล่อยควันสีธงชาติ และโปรยนกกระดาษเหนือพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันที่ 5 ธันวาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ธันวาคม 2547--จบ--