คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก รายงานสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ณ ปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น กล่าวคือมีจำนวนพื้นที่เกิดการระบาดของโรคลดน้อยลงจากช่วงมาตรการ X—RAY ซึ่งวันที่ 29 ตุลาคม 2547 มีพื้นที่พบเชื้อไข้หวัดนก 575 ตำบล 43 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 มีพื้นที่พบเชื้อไข้หวัดนกและอยู่ระหว่างการควบคุมเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน จำนวน 104 ตำบล 21 จังหวัด จำแนกตามรายการดังนี้
- ภาคเหนือตอนบน จำนวน 1 จังหวัด 2 ตำบล ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่
- ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 9 จังหวัด 51ตำบล ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย นครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
- ภาคกลาง จำนวน 7 จังหวัด 46 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี นครปฐม นนทบุรี สระบุรี และปทุมธานี
- ภาคตะวันออก จำนวน 4 จังหวัด 5 ตำบล ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สมุทรปราการ และสระแก้ว
2. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในนกธรรมชาติ
2.1 ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2547 มีการสุ่มตัวอย่างจากนก 52 ชนิด จำนวน 1,552 ตัว ผลการตรวจพบเชื้อ H5N1 จำนวน 3 ชนิด 16 ตัว ดังนี้ จังหวัดนครสวรรค์ ที่บึงบรเพ็ด จำนวน 11 ตัว (นกปากห่าง 10 ตัว นกกาน้ำเล็ก 1 ตัว) จังหวัดสระบุรี ที่พระพุทธบาท จำนวน 5 ตัว (นกกระติ๊ดขี้หมู)
2.2 กรณีสวนเสือศรีราชา พบว่ามีเสือป่วยตายและถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ 14-28 ตุลาคม 2547 จำนวน 147 ตัว โดยพบเชื้อไข้หวัดนก H5N1 และสาเหตุน่าจะมาจากการนำโครงไก่ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบหรือได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ไปเป็นอาหารเสือ อย่างไรก็ตามสวนเสือศรีราชาได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้ทำการเปิดได้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 หลังการตายของเสือตัวสุดท้ายและได้ทำลายเชื้อโรคเสร็จสิ้น เป็นเวลา21 วัน และไม่พบการป่วยตายของเสือเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดซึ่งถือว่าภาวะโรคสงบ
2.3 กรณีคดีลักลอบนำนกเหยี่ยวภูเขาออกนอกราชอาณาจักร ได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายพูนศักดิ์ ซึ่งได้อ้างว่าซื้อนกเหยี่ยวดังกล่าวมาจากตลาดนัดสวนจตุจักร และได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบภายในตลาดนัดสวนจตุจักรด้วยแล้ว
3. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม-30 พฤศจิกายน 2547 ไม่พบมีผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกเพิ่มเติมแต่อย่างใด
4. การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกภายหลังจาก X-RAY พื้นที่ในช่วงเดือน ตุลาคม 2547 คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกให้คณะทำงานและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ทำงานอย่างต่อเนื่อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยให้คงมีคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกประจำจังหวัดและประจำอำเภอ
5. การควบคุมเคลื่อนย้ายไก่พื้นเมืองและไก่ชน กำหนดให้ต้องมีการขึ้นทะเบียนไก่พื้นเมืองและไก่ชน และต้องทำการทดสอบโรคจากการตรวจ Cloacal Swab ก่อนการเคลื่อนย้ายทุกครั้ง หากไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดนี้ เมื่อเกิดโรคระบาดทางภาครัฐจะไม่จ่ายเงินค่าชดใช้ในการทำลายสัตว์ปีก และให้กระทรวงมหาดไทยและกรมปศุสัตว์ศึกษาและกำหนดแนวทางป้องกันโรคในไก่ชนโดยใช้มาตรการห้ามเปิดบ่อนไก่ชน หรือ อนุญาตให้เปิดได้แต่ต้องมีการตรวจโรคไก่ชนทุกตัว ซึ่งในระหว่างนี้ได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดชะลอการพิจารณาอนุญาตให้ใช้สถานที่เพื่อการแข่งขันชนไก่ จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2547 หากมีการฝ่าฝืนลักลอบเปิดบ่อนไก่ชนหรือนำไก่ชนที่ไม่ได้รับการตรวจโรคมาชน จะมีความผิดทั้งเจ้าของไก่ชนและเจ้าของบ่อน
6. คณะทำงานควบคุมและตรวจสอบระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งและการเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้รายงานการสำรวจ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2547 ยอดการจดทะเบียนเป็ดไล่ทุ่งรวมทั้งสิ้น 3,982 ฝูง พื้นที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งอยู่ใน 36 จังหวัด มีการทำลายเป็ด 100 ฝูง ย้ายเข้าโรงฆ่า 7 ฝูง ย้ายเข้าฟาร์ม 15 ฝูง คงเหลือเป็ด-ห่านไล่ทุ่ง 3,860 ฝูง โดยในการนี้ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์กำหนดแนวทางให้ชัดเจนถึงการอุดหนุนหรือจูงใจผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งให้เป็นแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต
7. มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและเกษตรกรทางการเงินของธนาคารภาครัฐ โดยระหว่างวันที่ 10 มีนาคม-31 ตุลาคม 2547 มีเกษตรกรได้รับความช่วยเหลือเป็นเงิน 1,941 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 10,000 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดความหมายของผู้เสียหายจากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกไว้ค่อนข้างแคบ กระทรวงการคลังจึงขอมติจากที่ประชุมเพื่อขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทบทวนความหมายของผู้เสียหายจากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกให้กว้างกว่าเดิม โดยเฉพาะให้ครอบคลุมถึงเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่เลี้ยงสัตว์ปีกและไม่เกิดโรคไข้หวัดนก แต่ได้รับผลกระทบในทางอ้อมด้วย
8. คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกเห็นชอบให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการโครงการรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในสถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองและเป็ดไล่ทุ่งซึ่งจะดำเนินการระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน — 30 ธันวาคม 2547 และให้กรมปศุสัตว์ทำการตรวจสุ่มตรวจสอบสถานที่ฝังสัตว์ปีกมีความปลอดภัย หรือมีเชื้อโรคไข้หวัดนกคงค้างอยู่หรือไม่
9.จัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการควบคุม ป้องกัน กำจัดโรคไข้หวัดนกของประเทศไทยเดินทางไปศึกษา ดูงานการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในประเทศจีน เวียดนาม และฮ่องกง เพื่อนำความรู้มาปรับใช้กับสถานการณ์ภายในประเทศไทยในช่วงเดือนธันวาคม 2547
10.มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์หามาตรการให้ความช่วยเหลือ สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ที่ได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกให้รับซื้อไข่ไก่ที่เก็บไว้ในห้องเย็น จำนวน 60 ล้านฟอง ในราคาฟองละ 1.60 บาท โดยในเบื้องต้นให้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคไข่ไก่ของประชาชน และให้ศึกษาเทคนิคการทำความสะอาดไข่ไก่ที่ผ่านการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค รวมทั้งให้ประสานสมาคม ชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้เข้ามีส่วนร่วมและบทบาทในการรณรงค์การบริโภคไข่ไก่ และมอบหมายให้ประสานกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจาเรื่องการส่งออกเนื้อไก่ตามที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเห็นชอบร่วมกัน ในการประชุมที่เวียดนาม โดยหากมีการตรวจรับรองโรงงานไก่ทั้งหมดแล้ว จะทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่ในปี 2548 เป็นจำนวนประมาณ 3 แสนตัน มูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท จากเดิมประมาณการในปี 2547 ที่ 200,000 ตัน
11. กรมประชาสัมพันธ์รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสัตว์ปีกอย่างปลอดภัย โดยมีจุดมุ่งหมายกระตุ้นยอดการบริโภคไก่และไข่ พร้อมให้ความรู้ด้านสุขอนามัยในครัวเรือนโดยกรมประชาสัมพันธ์ได้ออกอากาศทางสื่อของกรมประชาสัมพันธ์นำเสนอเรื่อง “มั่นใจปลอดภัย กินไก่ กินไข่ ทำสุก ปลอดภัยแน่นอน”และจัดกิจกรรมรณรงค์การบริโภคไก่และไข่ ชื่องาน “รวมพล คนกินไก่ สะอาดปลอดภัย กินไก่ กินไข่ ทุกวัน” ระหว่างวันที่ 28 พศจิกายน- 8 ธันวาคม2547 และมอบหมายให้ประชาสัมพันธ์เรื่องการทำความสะอาดไก่และไข่ไก่ก่อนการบริโภคทางสถานีโทรทัศน์และประชาสัมพันธ์เรื่องกระบวนการผลิตไก่และไข่ที่สะอาดทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
12. จากการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 สรุปว่าประเทศต่างๆ จะอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นและเปิดเผย หากจะมีการออกมาตรการใดๆ ให้มีการปรึกษาระหว่างประเทศล่วงหน้าก่อน เพื่อสามารถปรับให้มีการยืดหยุ่นมากขึ้น และประทศต่างๆ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ รวมถึงโรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ จัดทำมาตรการทรัพยากรเฝ้าระวังโรค ส่งเสริมนโยบาย Food Safety และการเลี้ยงสัตว์อย่างปลอดภัย อีกทั้งให้ทุกพื้นที่เตรียมจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ธันวาคม 2547--จบ--
1. สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ณ ปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น กล่าวคือมีจำนวนพื้นที่เกิดการระบาดของโรคลดน้อยลงจากช่วงมาตรการ X—RAY ซึ่งวันที่ 29 ตุลาคม 2547 มีพื้นที่พบเชื้อไข้หวัดนก 575 ตำบล 43 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 มีพื้นที่พบเชื้อไข้หวัดนกและอยู่ระหว่างการควบคุมเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน จำนวน 104 ตำบล 21 จังหวัด จำแนกตามรายการดังนี้
- ภาคเหนือตอนบน จำนวน 1 จังหวัด 2 ตำบล ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่
- ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 9 จังหวัด 51ตำบล ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย นครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
- ภาคกลาง จำนวน 7 จังหวัด 46 ตำบล ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี นครปฐม นนทบุรี สระบุรี และปทุมธานี
- ภาคตะวันออก จำนวน 4 จังหวัด 5 ตำบล ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สมุทรปราการ และสระแก้ว
2. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในนกธรรมชาติ
2.1 ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2547 มีการสุ่มตัวอย่างจากนก 52 ชนิด จำนวน 1,552 ตัว ผลการตรวจพบเชื้อ H5N1 จำนวน 3 ชนิด 16 ตัว ดังนี้ จังหวัดนครสวรรค์ ที่บึงบรเพ็ด จำนวน 11 ตัว (นกปากห่าง 10 ตัว นกกาน้ำเล็ก 1 ตัว) จังหวัดสระบุรี ที่พระพุทธบาท จำนวน 5 ตัว (นกกระติ๊ดขี้หมู)
2.2 กรณีสวนเสือศรีราชา พบว่ามีเสือป่วยตายและถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ 14-28 ตุลาคม 2547 จำนวน 147 ตัว โดยพบเชื้อไข้หวัดนก H5N1 และสาเหตุน่าจะมาจากการนำโครงไก่ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบหรือได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ไปเป็นอาหารเสือ อย่างไรก็ตามสวนเสือศรีราชาได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้ทำการเปิดได้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 หลังการตายของเสือตัวสุดท้ายและได้ทำลายเชื้อโรคเสร็จสิ้น เป็นเวลา21 วัน และไม่พบการป่วยตายของเสือเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดซึ่งถือว่าภาวะโรคสงบ
2.3 กรณีคดีลักลอบนำนกเหยี่ยวภูเขาออกนอกราชอาณาจักร ได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายพูนศักดิ์ ซึ่งได้อ้างว่าซื้อนกเหยี่ยวดังกล่าวมาจากตลาดนัดสวนจตุจักร และได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบภายในตลาดนัดสวนจตุจักรด้วยแล้ว
3. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม-30 พฤศจิกายน 2547 ไม่พบมีผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกเพิ่มเติมแต่อย่างใด
4. การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกภายหลังจาก X-RAY พื้นที่ในช่วงเดือน ตุลาคม 2547 คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกให้คณะทำงานและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ทำงานอย่างต่อเนื่อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยให้คงมีคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกประจำจังหวัดและประจำอำเภอ
5. การควบคุมเคลื่อนย้ายไก่พื้นเมืองและไก่ชน กำหนดให้ต้องมีการขึ้นทะเบียนไก่พื้นเมืองและไก่ชน และต้องทำการทดสอบโรคจากการตรวจ Cloacal Swab ก่อนการเคลื่อนย้ายทุกครั้ง หากไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดนี้ เมื่อเกิดโรคระบาดทางภาครัฐจะไม่จ่ายเงินค่าชดใช้ในการทำลายสัตว์ปีก และให้กระทรวงมหาดไทยและกรมปศุสัตว์ศึกษาและกำหนดแนวทางป้องกันโรคในไก่ชนโดยใช้มาตรการห้ามเปิดบ่อนไก่ชน หรือ อนุญาตให้เปิดได้แต่ต้องมีการตรวจโรคไก่ชนทุกตัว ซึ่งในระหว่างนี้ได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดชะลอการพิจารณาอนุญาตให้ใช้สถานที่เพื่อการแข่งขันชนไก่ จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2547 หากมีการฝ่าฝืนลักลอบเปิดบ่อนไก่ชนหรือนำไก่ชนที่ไม่ได้รับการตรวจโรคมาชน จะมีความผิดทั้งเจ้าของไก่ชนและเจ้าของบ่อน
6. คณะทำงานควบคุมและตรวจสอบระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งและการเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้รายงานการสำรวจ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2547 ยอดการจดทะเบียนเป็ดไล่ทุ่งรวมทั้งสิ้น 3,982 ฝูง พื้นที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งอยู่ใน 36 จังหวัด มีการทำลายเป็ด 100 ฝูง ย้ายเข้าโรงฆ่า 7 ฝูง ย้ายเข้าฟาร์ม 15 ฝูง คงเหลือเป็ด-ห่านไล่ทุ่ง 3,860 ฝูง โดยในการนี้ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์กำหนดแนวทางให้ชัดเจนถึงการอุดหนุนหรือจูงใจผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งให้เป็นแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต
7. มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและเกษตรกรทางการเงินของธนาคารภาครัฐ โดยระหว่างวันที่ 10 มีนาคม-31 ตุลาคม 2547 มีเกษตรกรได้รับความช่วยเหลือเป็นเงิน 1,941 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 10,000 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดความหมายของผู้เสียหายจากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกไว้ค่อนข้างแคบ กระทรวงการคลังจึงขอมติจากที่ประชุมเพื่อขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทบทวนความหมายของผู้เสียหายจากสถานการณ์โรคไข้หวัดนกให้กว้างกว่าเดิม โดยเฉพาะให้ครอบคลุมถึงเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่เลี้ยงสัตว์ปีกและไม่เกิดโรคไข้หวัดนก แต่ได้รับผลกระทบในทางอ้อมด้วย
8. คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกเห็นชอบให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการโครงการรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคในสถานที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองและเป็ดไล่ทุ่งซึ่งจะดำเนินการระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน — 30 ธันวาคม 2547 และให้กรมปศุสัตว์ทำการตรวจสุ่มตรวจสอบสถานที่ฝังสัตว์ปีกมีความปลอดภัย หรือมีเชื้อโรคไข้หวัดนกคงค้างอยู่หรือไม่
9.จัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการควบคุม ป้องกัน กำจัดโรคไข้หวัดนกของประเทศไทยเดินทางไปศึกษา ดูงานการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในประเทศจีน เวียดนาม และฮ่องกง เพื่อนำความรู้มาปรับใช้กับสถานการณ์ภายในประเทศไทยในช่วงเดือนธันวาคม 2547
10.มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์หามาตรการให้ความช่วยเหลือ สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ที่ได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกให้รับซื้อไข่ไก่ที่เก็บไว้ในห้องเย็น จำนวน 60 ล้านฟอง ในราคาฟองละ 1.60 บาท โดยในเบื้องต้นให้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคไข่ไก่ของประชาชน และให้ศึกษาเทคนิคการทำความสะอาดไข่ไก่ที่ผ่านการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค รวมทั้งให้ประสานสมาคม ชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้เข้ามีส่วนร่วมและบทบาทในการรณรงค์การบริโภคไข่ไก่ และมอบหมายให้ประสานกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจาเรื่องการส่งออกเนื้อไก่ตามที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเห็นชอบร่วมกัน ในการประชุมที่เวียดนาม โดยหากมีการตรวจรับรองโรงงานไก่ทั้งหมดแล้ว จะทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่ในปี 2548 เป็นจำนวนประมาณ 3 แสนตัน มูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท จากเดิมประมาณการในปี 2547 ที่ 200,000 ตัน
11. กรมประชาสัมพันธ์รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสัตว์ปีกอย่างปลอดภัย โดยมีจุดมุ่งหมายกระตุ้นยอดการบริโภคไก่และไข่ พร้อมให้ความรู้ด้านสุขอนามัยในครัวเรือนโดยกรมประชาสัมพันธ์ได้ออกอากาศทางสื่อของกรมประชาสัมพันธ์นำเสนอเรื่อง “มั่นใจปลอดภัย กินไก่ กินไข่ ทำสุก ปลอดภัยแน่นอน”และจัดกิจกรรมรณรงค์การบริโภคไก่และไข่ ชื่องาน “รวมพล คนกินไก่ สะอาดปลอดภัย กินไก่ กินไข่ ทุกวัน” ระหว่างวันที่ 28 พศจิกายน- 8 ธันวาคม2547 และมอบหมายให้ประชาสัมพันธ์เรื่องการทำความสะอาดไก่และไข่ไก่ก่อนการบริโภคทางสถานีโทรทัศน์และประชาสัมพันธ์เรื่องกระบวนการผลิตไก่และไข่ที่สะอาดทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
12. จากการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 สรุปว่าประเทศต่างๆ จะอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นและเปิดเผย หากจะมีการออกมาตรการใดๆ ให้มีการปรึกษาระหว่างประเทศล่วงหน้าก่อน เพื่อสามารถปรับให้มีการยืดหยุ่นมากขึ้น และประทศต่างๆ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ รวมถึงโรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ จัดทำมาตรการทรัพยากรเฝ้าระวังโรค ส่งเสริมนโยบาย Food Safety และการเลี้ยงสัตว์อย่างปลอดภัย อีกทั้งให้ทุกพื้นที่เตรียมจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ธันวาคม 2547--จบ--