คณะรัฐมนตรีพิจารณาการปรับปรุงค่าตอบแทนผู้บริหาร และสมาชิกสภาเมืองพัทยา ตามที่คณะกรรมการพิจารณาเงินเดืนอแห่งชาติ (กงช.) เสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบผลการพิจารณาปรับปรุงค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิกเมืองพัทยาตามที่ กงช. (กงช.) เสนอการกำหนดอัตราค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิกสภาเมืองพัทยาเท่ากับอัตราค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นตำแหน่งลักษณะเดียวกัน และการกำหนดให้ผู้บริหารเมืองพัทยาได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนพิเศษเท่ากับเงินประจำตำแหน่งของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงมหาดไทยเสนอดังนี้
2.1 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาเมืองพัทยา รองประธานสภาเมืองพัทยา สมาชิกสภาเมืองพัทยา เลขานุการนายเมืองพัทยาผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา และกรรมการหรืออนุกรรรมการของสภาเมืองพัทยา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ
2.2 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา และประธานที่ปรึกษาหรือที่ปรึกษาของนายกเมืองทัพยา (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
3. ให้สำนักงาน ก.พ. และกระทรวงมหาดไทยรับข้อสังเกตของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งคณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันได้มีการแก้ไขหรือกำหนดกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ กำหนดค่าตอบแทนของผู้ปฎิบัติงานในสังกัดได้ตามอำนาจที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่ โดยอาจไม่ต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานกลางหรือไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ มีผลให้หลายหน่วยงานพิจารณากำหนดค่าตอบแทนให้ผู้ปฏิบัติงานในสังกัดโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักการกำหนดค่าตอบแทนอย่างมีเหตุมีผล และผลกระทบในภาพรวม ก่อให้เกิดปัญหาในด้านการบริหารจัดการงานบุคคลภาครัฐ นอกจากนี้ การขอกำหนดค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากปัจจัยด้านความเท่าเทียมกันหรือการคงความแตกต่างของค่าตอบแทนบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐทำให้การกำหนดค่าตอบแทนเพื่อไล่ตามกันเป็นวังวนไม่รู้จบ โดยขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงหลักการบริหารจัดการภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงสมควรปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 ให้รับผิดชอบการพิจารณาค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐทั้งระบบ เพื่อให้โครงสร้างค่าตอบแทนมีความเหมาะสม
นอกจากนี้การพิจารณากำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ผ่านมาได้คำนึงถึงรายได้เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งไม่สามารถสะท้อนภาระความรับผิดชอบและค่าของงานท้องถิ่นนั้นอย่างแท้จริง สมควรนำหลักการ
การพิจารณาการกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองถิ่นได้คำนึงถึงปัจจัยสำคัญหลายประการ ซึ่งได้แก่ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ขนาดขององค์กร ภารกิจและความรับผิดชอบต่อความสำเร็จขององค์กรผลกระทบในการดำเนินการมาใช้เป็นแนวทางการพิจารณาในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ธันวาคม 2547--จบ--
1. เห็นชอบผลการพิจารณาปรับปรุงค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิกเมืองพัทยาตามที่ กงช. (กงช.) เสนอการกำหนดอัตราค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิกสภาเมืองพัทยาเท่ากับอัตราค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นตำแหน่งลักษณะเดียวกัน และการกำหนดให้ผู้บริหารเมืองพัทยาได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนพิเศษเท่ากับเงินประจำตำแหน่งของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงมหาดไทยเสนอดังนี้
2.1 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาเมืองพัทยา รองประธานสภาเมืองพัทยา สมาชิกสภาเมืองพัทยา เลขานุการนายเมืองพัทยาผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา และกรรมการหรืออนุกรรรมการของสภาเมืองพัทยา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ
2.2 ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเมืองพัทยา รองนายกเมืองพัทยา เลขานุการนายกเมืองพัทยา ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา และประธานที่ปรึกษาหรือที่ปรึกษาของนายกเมืองทัพยา (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
3. ให้สำนักงาน ก.พ. และกระทรวงมหาดไทยรับข้อสังเกตของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งคณะกรรมการฯ มีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันได้มีการแก้ไขหรือกำหนดกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ กำหนดค่าตอบแทนของผู้ปฎิบัติงานในสังกัดได้ตามอำนาจที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่ โดยอาจไม่ต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานกลางหรือไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ มีผลให้หลายหน่วยงานพิจารณากำหนดค่าตอบแทนให้ผู้ปฏิบัติงานในสังกัดโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักการกำหนดค่าตอบแทนอย่างมีเหตุมีผล และผลกระทบในภาพรวม ก่อให้เกิดปัญหาในด้านการบริหารจัดการงานบุคคลภาครัฐ นอกจากนี้ การขอกำหนดค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากปัจจัยด้านความเท่าเทียมกันหรือการคงความแตกต่างของค่าตอบแทนบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐทำให้การกำหนดค่าตอบแทนเพื่อไล่ตามกันเป็นวังวนไม่รู้จบ โดยขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงหลักการบริหารจัดการภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงสมควรปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 ให้รับผิดชอบการพิจารณาค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐทั้งระบบ เพื่อให้โครงสร้างค่าตอบแทนมีความเหมาะสม
นอกจากนี้การพิจารณากำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ผ่านมาได้คำนึงถึงรายได้เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งไม่สามารถสะท้อนภาระความรับผิดชอบและค่าของงานท้องถิ่นนั้นอย่างแท้จริง สมควรนำหลักการ
การพิจารณาการกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองถิ่นได้คำนึงถึงปัจจัยสำคัญหลายประการ ซึ่งได้แก่ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ขนาดขององค์กร ภารกิจและความรับผิดชอบต่อความสำเร็จขององค์กรผลกระทบในการดำเนินการมาใช้เป็นแนวทางการพิจารณาในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ธันวาคม 2547--จบ--