คณะรัฐมนตรีรับทราบการแก้ไขปัญหาภัยแล้งแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้าไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่ และประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งน้ำแบบครบวงจร โดยมีข้อสรุปดังนี้
สถานการณ์ทั่วไปของจังหวัดพังงาและภูเก็ต
จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต อยู่ในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยทั่วไปมีฝนตกชุก และมีปริมาณฝนสูง ที่ผ่านจึงไม่เคยมีปัญหาการขาดแลนน้ำเพื่อการเกษตรมาก่อน แต่จะมีปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคบ้างในช่วงที่ฝนขาดช่วงนานเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยในการเก็บกักน้ำ และขาดแคลนภาชนะรองรับน้ำ ซึ่งสถานการณ์ในปี 2548 นี้อยู่ในเกณฑ์แล้งจัด เนื่องจากมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยปกติของจังหวัดถึงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามปัญหาได้คลี่คลายลงตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2548 แล้ว
แนวทางในการแก้ไขปัญหา
ระยะสั้น
- ควรเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำที่มีศักยภาพ เพื่อเก็กกับน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งซึ่งจังหวัดได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีหรือบรรจุโครงการในแผนงบประมาณปี 2549 ไปแล้ว เช่น อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ จังหวัดภูเก็ตของกรมชลประทาน และอ่างเก็บน้ำบ้านดอกแดง จังหวัดพังงา
- ควรสร้างกลไกความร่วมมือของเอกชนที่ดูแลขุมเหมืองเพื่อให้สามารถบริหารจัดการแหล่งน้ำ (ขุมเหมือง) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ซึ่งบางส่วนใช้น้ำจากขุมเหมืองที่มีอยู่จำนวนมากใน จังหวัดภูเก็ต และพังงา ควรให้มีการตรวจสอบสารปนเปื้อนโดยสม่ำเสมอ
ระยะยาว
- เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ควรให้มีการศึกษาความต้องการใช้น้ำ อุปโภค บริโภค เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เนื่องจากทั้งสองจังหวัดมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากและมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นทุกปีจึงควรเตรียมการเพื่อรองรับการขาดแคลนน้ำในอนาคตไว้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 มิถุนายน 2548--จบ--
สถานการณ์ทั่วไปของจังหวัดพังงาและภูเก็ต
จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต อยู่ในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยทั่วไปมีฝนตกชุก และมีปริมาณฝนสูง ที่ผ่านจึงไม่เคยมีปัญหาการขาดแลนน้ำเพื่อการเกษตรมาก่อน แต่จะมีปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคบ้างในช่วงที่ฝนขาดช่วงนานเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยในการเก็บกักน้ำ และขาดแคลนภาชนะรองรับน้ำ ซึ่งสถานการณ์ในปี 2548 นี้อยู่ในเกณฑ์แล้งจัด เนื่องจากมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยปกติของจังหวัดถึงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามปัญหาได้คลี่คลายลงตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2548 แล้ว
แนวทางในการแก้ไขปัญหา
ระยะสั้น
- ควรเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำที่มีศักยภาพ เพื่อเก็กกับน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งซึ่งจังหวัดได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีหรือบรรจุโครงการในแผนงบประมาณปี 2549 ไปแล้ว เช่น อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ จังหวัดภูเก็ตของกรมชลประทาน และอ่างเก็บน้ำบ้านดอกแดง จังหวัดพังงา
- ควรสร้างกลไกความร่วมมือของเอกชนที่ดูแลขุมเหมืองเพื่อให้สามารถบริหารจัดการแหล่งน้ำ (ขุมเหมือง) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ซึ่งบางส่วนใช้น้ำจากขุมเหมืองที่มีอยู่จำนวนมากใน จังหวัดภูเก็ต และพังงา ควรให้มีการตรวจสอบสารปนเปื้อนโดยสม่ำเสมอ
ระยะยาว
- เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ควรให้มีการศึกษาความต้องการใช้น้ำ อุปโภค บริโภค เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เนื่องจากทั้งสองจังหวัดมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากและมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นทุกปีจึงควรเตรียมการเพื่อรองรับการขาดแคลนน้ำในอนาคตไว้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 มิถุนายน 2548--จบ--