คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ประสบอุทกภัย ปี 2546 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยรัฐบาลชดเชยเงินเป็นจำนวน 724.63 ล้านบาท
ตามที่กระทรวงการคลัง ได้เสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ประสบอุทกภัย ปี 2546 เพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ ทั้งนี้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1.2 (คกก.1.2) ได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 ซึ่งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว และมีมติรับทราบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ประสบอุทกภัย ปี 2546 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และมอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับไปปรับปรุงรายละเอียดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2546 ให้ชัดเจนและทันสมัย ทั้งจำนวนพื้นที่ เกษตรกร มูลค่าวงเงินที่เสียหาย และวงเงินที่จะขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล แล้วนำเสนอคณะกรรมการฯ คกก.1.2 พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้หารือร่วมกับสำนักงบประมาณ และรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปประกอบการพิจารณา
ธ.ก.ส. ได้หารือร่วมกับสำนักงบประมาณตามที่ คกก.1.2 มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 แล้ว และได้ชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2546 ช่วงเดือนพฤษภาคม — ธันวาคม 2546 ได้เกิดอุทกภัยทั่วประเทศ มีเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ประสบภัย จำนวน 114,980 ครัวเรือน ในพื้นที่ 29 จังหวัด รวมพื้นที่การเกษตรเสียหาย 1.07 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหาย 5,627.98 ล้านบาท ทั้งนี้ผู้แทนรัฐบาลได้ไปตรวจเยี่ยมและรับทราบความเดือดร้อน จึงรับที่จะเสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2546 ให้รัฐบาลพิจารณา โดยจะช่วยเหลือเช่นเดียวกับมาตรการช่วยเหลืออุทกภัยปี 2544 และ 2545 ดังนี้
หนี้เงินกู้เดิมก่อนประสบภัย
(1) เกษตรกรลูกค้าที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนสูญเสียชีวิตและไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. จะจำหน่ายลูกหนี้ดังกล่าวออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. จะรับภาระเอง
(2) เกษตรกรลูกค้าที่ประสบความเสียหายอย่างร้ายแรง (ไม่รวมหนี้เงินกู้โครงการนโยบายรัฐ) ธ.ก.ส. จะผัดผ่อนการชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธ.ก.ส. 3 ปี และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส. แทนเกษตรกรลูกค้าในอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีเยี่ยม (MRR) ซึ่งขณะนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี ทั้งนี้ เกษตรกรลูกค้าที่สามารถชำระหนี้เมื่อครบกำหนดผัดผ่อน 1 ปี และไม่มีหนี้เงินกู้อื่นค้างชำระ จะได้รับการเลื่อนชั้นเกษตรกรลูกค้าขึ้น 1 ชั้น ทันที ณ วันที่เกษตรกรลูกค้าชำระหนี้ เพื่อจะได้กู้เงินจาก ธ.ก.ส. ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเดิม
หนี้เงินกู้ฟื้นฟูการผลิต กรณีเกษตรกรลูกค้ามีความประสงค์จะขอกู้เงินสัญญาใหม่ ธ.ก.ส. จะให้เงินกู้แก่เกษตรกร ลูกค้าเพื่อฟื้นฟูการผลิตในวงเงินรายละไม่เกิน 30,000 บาท กำหนดชำระคืนเป็นรายปี ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 3 ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยปกติตามชั้นลูกค้า โดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในส่วนที่ ธ.ก.ส. ได้ลดให้แก่เกษตรกรลูกค้า สำหรับเกษตรกรลูกค้าในโครงการพักชำระหนี้ จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าวด้วย แต่ความช่วยเหลือจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
2. วงเงินที่ ธ.ก.ส. ขอชดเชยตามมาตรการ ธ.ก.ส. ได้สำรวจข้อมูลเกษตรกรลูกค้าเป็นรายคนแล้วพบว่ามีเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (ผลผลิตได้รับความเสียหายตั้งแต่ 50% ขึ้นไปของผลผลิตที่ได้รับตามปกติ) ที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าว จำนวน 34,768 ครัวเรือน จึงขอให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดเชยให้ ธ.ก.ส. เป็นจำนวนเงิน 724.63 ล้านบาท ดังนี้
2.1 การงดคิดดอกเบี้ยเกษตรกรลูกค้าเป็นเวลา 3 ปี (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 — 31 มีนาคม 2549) ขอชดเชยในอัตราดอกเบี้ย MRR ซึ่งขณะนี้มีอัตราร้อยละ 7 ต่อปี เป็นวงเงินชดเชย 688.63 ล้านบาท
2.2 การให้เงินกู้ฟื้นฟูการผลิตแก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. โดยลดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยปกติตามชั้นเกษตรกรลูกค้า เป็นเวลา 3 ปี ขอชดเชยเป็นเงิน 36 ล้านบาท
3. การรับภาระของ ธ.ก.ส.
3.1 เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2546 จำนวน 114,980 ครัวเรือน เป็นเกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัยอย่างร้ายแรงที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้ จำนวน 34,768 ครัวเรือน ทั้งนี้ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 80,212 ครัวเรือน ธ.ก.ส. ได้ช่วยเหลือตามมาตรการปกติของธนาคารแล้ว โดยการผัดผ่อนการชำระหนี้ (ไม่ปรับดอกเบี้ยเพิ่ม) และปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3.2 หนี้เงินกู้เดิมของเกษตรกรลูกค้าที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าว มีอัตราดอกเบี้ยปกติหลายอัตราตั้งแต่ร้อยละ 7 ถึงร้อยละ 10 ต่อปี (ยังไม่คิดอัตราปรับ) ทั้งนี้เฉพาะรายได้ดอกเบี้ยที่ ธ.ก.ส. ควรจะได้รับจากเกษตรกรลูกค้าในปีแรก คือ จำนวน 297.82 ล้านบาท แต่ ธ.ก.ส. ขอชดเชยจากรัฐบาลเพียง 245 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. จะต้องรับภาระ จำนวน 52.82 ล้านบาท
3.3 การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัยปี 2546 แตกต่างจากโครงการนโยบายรัฐอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จำหน่ายเป็นหนี้สูญ เนื่องจากการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัยปี 2546 เป็นมาตรการพิเศษที่รัฐบาลต้องการให้ ธ.ก.ส. ช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้ามากกว่ามาตรการปกติที่ธนาคารดำเนินการอยู่แล้ว โดยเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการอุทกภัยปี 2546 ยังคงเป็นเกษตรกรลูกค้าปกติของธนาคาร ธ.ก.ส. จึงไม่สามารถรับภาระต้นทุนดำเนินงานได้เช่นเดียวกับโครงการนโยบายรัฐอื่น ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--
ตามที่กระทรวงการคลัง ได้เสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ประสบอุทกภัย ปี 2546 เพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ ทั้งนี้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1.2 (คกก.1.2) ได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 ซึ่งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว และมีมติรับทราบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ประสบอุทกภัย ปี 2546 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และมอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับไปปรับปรุงรายละเอียดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2546 ให้ชัดเจนและทันสมัย ทั้งจำนวนพื้นที่ เกษตรกร มูลค่าวงเงินที่เสียหาย และวงเงินที่จะขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล แล้วนำเสนอคณะกรรมการฯ คกก.1.2 พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้หารือร่วมกับสำนักงบประมาณ และรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปประกอบการพิจารณา
ธ.ก.ส. ได้หารือร่วมกับสำนักงบประมาณตามที่ คกก.1.2 มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 แล้ว และได้ชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2546 ช่วงเดือนพฤษภาคม — ธันวาคม 2546 ได้เกิดอุทกภัยทั่วประเทศ มีเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ประสบภัย จำนวน 114,980 ครัวเรือน ในพื้นที่ 29 จังหวัด รวมพื้นที่การเกษตรเสียหาย 1.07 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหาย 5,627.98 ล้านบาท ทั้งนี้ผู้แทนรัฐบาลได้ไปตรวจเยี่ยมและรับทราบความเดือดร้อน จึงรับที่จะเสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2546 ให้รัฐบาลพิจารณา โดยจะช่วยเหลือเช่นเดียวกับมาตรการช่วยเหลืออุทกภัยปี 2544 และ 2545 ดังนี้
หนี้เงินกู้เดิมก่อนประสบภัย
(1) เกษตรกรลูกค้าที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนสูญเสียชีวิตและไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. จะจำหน่ายลูกหนี้ดังกล่าวออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. จะรับภาระเอง
(2) เกษตรกรลูกค้าที่ประสบความเสียหายอย่างร้ายแรง (ไม่รวมหนี้เงินกู้โครงการนโยบายรัฐ) ธ.ก.ส. จะผัดผ่อนการชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธ.ก.ส. 3 ปี และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส. แทนเกษตรกรลูกค้าในอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีเยี่ยม (MRR) ซึ่งขณะนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี ทั้งนี้ เกษตรกรลูกค้าที่สามารถชำระหนี้เมื่อครบกำหนดผัดผ่อน 1 ปี และไม่มีหนี้เงินกู้อื่นค้างชำระ จะได้รับการเลื่อนชั้นเกษตรกรลูกค้าขึ้น 1 ชั้น ทันที ณ วันที่เกษตรกรลูกค้าชำระหนี้ เพื่อจะได้กู้เงินจาก ธ.ก.ส. ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเดิม
หนี้เงินกู้ฟื้นฟูการผลิต กรณีเกษตรกรลูกค้ามีความประสงค์จะขอกู้เงินสัญญาใหม่ ธ.ก.ส. จะให้เงินกู้แก่เกษตรกร ลูกค้าเพื่อฟื้นฟูการผลิตในวงเงินรายละไม่เกิน 30,000 บาท กำหนดชำระคืนเป็นรายปี ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 3 ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยปกติตามชั้นลูกค้า โดยขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในส่วนที่ ธ.ก.ส. ได้ลดให้แก่เกษตรกรลูกค้า สำหรับเกษตรกรลูกค้าในโครงการพักชำระหนี้ จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าวด้วย แต่ความช่วยเหลือจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
2. วงเงินที่ ธ.ก.ส. ขอชดเชยตามมาตรการ ธ.ก.ส. ได้สำรวจข้อมูลเกษตรกรลูกค้าเป็นรายคนแล้วพบว่ามีเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (ผลผลิตได้รับความเสียหายตั้งแต่ 50% ขึ้นไปของผลผลิตที่ได้รับตามปกติ) ที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าว จำนวน 34,768 ครัวเรือน จึงขอให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดเชยให้ ธ.ก.ส. เป็นจำนวนเงิน 724.63 ล้านบาท ดังนี้
2.1 การงดคิดดอกเบี้ยเกษตรกรลูกค้าเป็นเวลา 3 ปี (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 — 31 มีนาคม 2549) ขอชดเชยในอัตราดอกเบี้ย MRR ซึ่งขณะนี้มีอัตราร้อยละ 7 ต่อปี เป็นวงเงินชดเชย 688.63 ล้านบาท
2.2 การให้เงินกู้ฟื้นฟูการผลิตแก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. โดยลดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยปกติตามชั้นเกษตรกรลูกค้า เป็นเวลา 3 ปี ขอชดเชยเป็นเงิน 36 ล้านบาท
3. การรับภาระของ ธ.ก.ส.
3.1 เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2546 จำนวน 114,980 ครัวเรือน เป็นเกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัยอย่างร้ายแรงที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้ จำนวน 34,768 ครัวเรือน ทั้งนี้ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 80,212 ครัวเรือน ธ.ก.ส. ได้ช่วยเหลือตามมาตรการปกติของธนาคารแล้ว โดยการผัดผ่อนการชำระหนี้ (ไม่ปรับดอกเบี้ยเพิ่ม) และปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3.2 หนี้เงินกู้เดิมของเกษตรกรลูกค้าที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าว มีอัตราดอกเบี้ยปกติหลายอัตราตั้งแต่ร้อยละ 7 ถึงร้อยละ 10 ต่อปี (ยังไม่คิดอัตราปรับ) ทั้งนี้เฉพาะรายได้ดอกเบี้ยที่ ธ.ก.ส. ควรจะได้รับจากเกษตรกรลูกค้าในปีแรก คือ จำนวน 297.82 ล้านบาท แต่ ธ.ก.ส. ขอชดเชยจากรัฐบาลเพียง 245 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. จะต้องรับภาระ จำนวน 52.82 ล้านบาท
3.3 การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัยปี 2546 แตกต่างจากโครงการนโยบายรัฐอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จำหน่ายเป็นหนี้สูญ เนื่องจากการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัยปี 2546 เป็นมาตรการพิเศษที่รัฐบาลต้องการให้ ธ.ก.ส. ช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้ามากกว่ามาตรการปกติที่ธนาคารดำเนินการอยู่แล้ว โดยเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการอุทกภัยปี 2546 ยังคงเป็นเกษตรกรลูกค้าปกติของธนาคาร ธ.ก.ส. จึงไม่สามารถรับภาระต้นทุนดำเนินงานได้เช่นเดียวกับโครงการนโยบายรัฐอื่น ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--