คณะรัฐมนตรีรับทราบประเด็นปัญหาและเห็นชอบแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 16 (จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช และพัทลุง) และเห็นชอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาแต่งตั้งผู้แทนภาคประชาชนและปราชญ์ชาวบ้านเป็นคณะที่ปรึกษา (Advisory Body) ในด้านการจัดทำแผนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาของจังหวัดตามระบบผู้ว่า CEO ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอมีดังนี้
สำหรับประเด็นปัญหา
1) ด้านการเกษตร
- พื้นที่นาทิ้งร้างที่เกิดจากปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์และดินเปรี้ยว รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนน้ำ และการรุกล้ำของน้ำเค็ม รวมประมาณ 2 แสนไร่
- พื้นที่ทำนาบริเวณด้านตะวันตกของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เช่น อ.ปากพะยูน และ อ.เขาชัยสน
จ.พัทลุง มีปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากระบบชลประทานยังไม่ทั่วถึง
- ขาดโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งการแปรรูปเนื้อสัตว์ใน จ. พัทลุง ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงปศุสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของภาค
2) ด้านการท่องเที่ยว
- สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวยังไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะ เกาะต่าง ๆ ใน จ.ตรัง และทะเลน้อย จ.พัทลุง
3) ด้านสินค้า OTOP/SMEs
- สินค้า OTOP/SMEs ที่มีศักยภาพยังมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการตลาดโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ
4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การบริการด้านคมนาคมขนส่งในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนเมืองยังไม่ได้มาตรฐาน เช่น ขาดสถานี
ขนส่งใน จ.ตรัง
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
1) ยุทธศาสตร์
1.1) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ มติ ครม. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้โดยมียุทธศาสตร์หลัก คือ (1) ยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์ด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชีย (2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจภายในพื้นที่ภาคใต้ และ (3) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และมติ ครม.เมื่อ 16 กรกฎาคม 2547 เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราเพื่อสู่ความเป็นเลิศและเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก โดยการพัฒนายางพาราทั้งระบบอย่างครบวงจร
1.2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช และพัทลุง โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญ คือ (1) การพัฒนาการผลิต แปรรูป และจำหน่ายข้าว โค สุกร และพืชผักปลอดสารพิษ (2) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และ (3) การพัฒนาสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานสากล โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ (1) เพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี (2) แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไปในปี 2550
2.) แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ของประชาชนในจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช และพัทลุง การพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด ได้กำหนดให้มีความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ข้างต้นและนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา ดังนี้
2.1) เป้าหมาย : (1) เพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี (2) แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไปในปี 2550 (3) เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเป็น 2 เท่าในปี 2552 (นโยบายรัฐบาล) และ (4) เพิ่มรายได้จากสินค้า OTOP ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี (นโยบายรัฐบาล)
2.2) แนวทางการพัฒนา : ประกอบด้วย 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้
(1) การเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
- พัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่การเกษตรที่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เช่น อ.ปากพะยูน และ อ.เขาชัยสน จ. พัทลุง
- ฟื้นฟูพื้นที่นาร้างเพื่อใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีผลตอบแทนสูง เช่น ปาล์มน้ำมัน โดย เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
- สนับสนุนวิชาการและปัจจัยพื้นฐานการทำเกษตรทางเลือก เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ และการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพื่อการส่งออก
- ปรับปรุงตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะตลาดกลางพืชผักและผลไม้บริเวณตลาดหัวอิฐ จ.นครศรีธรรมราช ให้ได้มาตรฐานสากล
- ส่งเสริมการเลี้ยงโคเชิงพาณิชย์ โดยการจัดหาโคพันธุ์ดีให้แก่ผู้เลี้ยงรายเดิมและรายใหม่ควบคู่กับการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการเลี้ยง การผสมเทียม การพัฒนาแปลงหญ้า
(2) การเพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
- สนับสนุนความร่วมมือของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในการจัดบริการให้เชื่อมโยงกับกลุ่มภูเก็ต-พังงา-กระบี่และสมุย เช่น การจัด package การท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันร่วมกัน
- พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
- สนับสนุนการให้บริการแบบ Home Stayและที่พัก/ภัตตาคารขนาดเล็กในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุง ซึ่งยังมีโรงแรมที่พักไม่เพียงพอ
(3) การขยายฐานอุตสาหกรรมและยกระดับ OTOP/SMEs สู่สากล
- พัฒนาโรงฆ่าสัตว์ให้ได้มาตรฐานและถูกสุขอนามัยในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหนาแน่น เพื่อรองรับกฎหมายยกเลิกการฆ่าสัตว์นอกโรงฆ่า
- ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตร โดยเฉพาะการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย เช่น ยางล้อรถจักรยานยนต์ใน จ.ตรัง และผลิตภัณฑ์อาหารจากปศุสัตว์ ใน จ.พัทลุง
- ศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปยิปซั่มในลักษณะ Cluster ขึ้นใน จ.นครศรีธรรมราช
(4) เพิ่มมาตรฐานด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงและขยายเส้นทางการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งชุมชน และพัฒนาสถานีขนส่งที่ได้มาตรฐาน
(5) การดำเนินงานทั้งหมดต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยการบริหารจัดการจังหวัดแบบบูรณาการซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดในจังหวัด (CEO) และอาศัยโครงสร้างการบริหารงานที่มีคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) รวมทั้งให้มีการแต่งตั้งคณะผู้แทนภาคประชาชนและปราชญ์ชาวบ้าน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา (Advisory Body) กับผู้ว่า CEO เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท เพื่อให้การทำงานมีความรอบคอบไม่ส่งผลกระทบหรือกระทบน้อยที่สุดกับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--
สำหรับประเด็นปัญหา
1) ด้านการเกษตร
- พื้นที่นาทิ้งร้างที่เกิดจากปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์และดินเปรี้ยว รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนน้ำ และการรุกล้ำของน้ำเค็ม รวมประมาณ 2 แสนไร่
- พื้นที่ทำนาบริเวณด้านตะวันตกของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เช่น อ.ปากพะยูน และ อ.เขาชัยสน
จ.พัทลุง มีปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากระบบชลประทานยังไม่ทั่วถึง
- ขาดโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งการแปรรูปเนื้อสัตว์ใน จ. พัทลุง ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงปศุสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของภาค
2) ด้านการท่องเที่ยว
- สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวยังไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะ เกาะต่าง ๆ ใน จ.ตรัง และทะเลน้อย จ.พัทลุง
3) ด้านสินค้า OTOP/SMEs
- สินค้า OTOP/SMEs ที่มีศักยภาพยังมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการตลาดโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ
4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การบริการด้านคมนาคมขนส่งในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนเมืองยังไม่ได้มาตรฐาน เช่น ขาดสถานี
ขนส่งใน จ.ตรัง
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
1) ยุทธศาสตร์
1.1) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ มติ ครม. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้โดยมียุทธศาสตร์หลัก คือ (1) ยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์ด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชีย (2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจภายในพื้นที่ภาคใต้ และ (3) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และมติ ครม.เมื่อ 16 กรกฎาคม 2547 เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราเพื่อสู่ความเป็นเลิศและเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก โดยการพัฒนายางพาราทั้งระบบอย่างครบวงจร
1.2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช และพัทลุง โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญ คือ (1) การพัฒนาการผลิต แปรรูป และจำหน่ายข้าว โค สุกร และพืชผักปลอดสารพิษ (2) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และ (3) การพัฒนาสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานสากล โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ (1) เพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี (2) แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไปในปี 2550
2.) แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ของประชาชนในจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช และพัทลุง การพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด ได้กำหนดให้มีความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ข้างต้นและนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา ดังนี้
2.1) เป้าหมาย : (1) เพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี (2) แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไปในปี 2550 (3) เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเป็น 2 เท่าในปี 2552 (นโยบายรัฐบาล) และ (4) เพิ่มรายได้จากสินค้า OTOP ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี (นโยบายรัฐบาล)
2.2) แนวทางการพัฒนา : ประกอบด้วย 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้
(1) การเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
- พัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่การเกษตรที่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เช่น อ.ปากพะยูน และ อ.เขาชัยสน จ. พัทลุง
- ฟื้นฟูพื้นที่นาร้างเพื่อใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีผลตอบแทนสูง เช่น ปาล์มน้ำมัน โดย เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
- สนับสนุนวิชาการและปัจจัยพื้นฐานการทำเกษตรทางเลือก เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ และการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพื่อการส่งออก
- ปรับปรุงตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะตลาดกลางพืชผักและผลไม้บริเวณตลาดหัวอิฐ จ.นครศรีธรรมราช ให้ได้มาตรฐานสากล
- ส่งเสริมการเลี้ยงโคเชิงพาณิชย์ โดยการจัดหาโคพันธุ์ดีให้แก่ผู้เลี้ยงรายเดิมและรายใหม่ควบคู่กับการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการเลี้ยง การผสมเทียม การพัฒนาแปลงหญ้า
(2) การเพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
- สนับสนุนความร่วมมือของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในการจัดบริการให้เชื่อมโยงกับกลุ่มภูเก็ต-พังงา-กระบี่และสมุย เช่น การจัด package การท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันร่วมกัน
- พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
- สนับสนุนการให้บริการแบบ Home Stayและที่พัก/ภัตตาคารขนาดเล็กในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุง ซึ่งยังมีโรงแรมที่พักไม่เพียงพอ
(3) การขยายฐานอุตสาหกรรมและยกระดับ OTOP/SMEs สู่สากล
- พัฒนาโรงฆ่าสัตว์ให้ได้มาตรฐานและถูกสุขอนามัยในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหนาแน่น เพื่อรองรับกฎหมายยกเลิกการฆ่าสัตว์นอกโรงฆ่า
- ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตร โดยเฉพาะการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย เช่น ยางล้อรถจักรยานยนต์ใน จ.ตรัง และผลิตภัณฑ์อาหารจากปศุสัตว์ ใน จ.พัทลุง
- ศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปยิปซั่มในลักษณะ Cluster ขึ้นใน จ.นครศรีธรรมราช
(4) เพิ่มมาตรฐานด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงและขยายเส้นทางการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งชุมชน และพัฒนาสถานีขนส่งที่ได้มาตรฐาน
(5) การดำเนินงานทั้งหมดต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยการบริหารจัดการจังหวัดแบบบูรณาการซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดในจังหวัด (CEO) และอาศัยโครงสร้างการบริหารงานที่มีคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) รวมทั้งให้มีการแต่งตั้งคณะผู้แทนภาคประชาชนและปราชญ์ชาวบ้าน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา (Advisory Body) กับผู้ว่า CEO เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท เพื่อให้การทำงานมีความรอบคอบไม่ส่งผลกระทบหรือกระทบน้อยที่สุดกับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--