คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง เข้าอยู่ในพื้นที่แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย —ไทย (Indonesia — Malaysia - Thailand Growth Triangle : IMT-GT) ตามผลการประชุมระดับรัฐมนตรีของแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอดังนี้
1. แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ฯ ได้ริเริ่มในปี 2536 โดยมีเป้าหมายความร่วมมือเพื่อเร่งรัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อยกระดับรายได้ของประชาชนในพื้นที่ความร่วมมือตามแผน โดยรัฐบาลทั้งสามประเทศมอบหมายหน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นหน่วยงานประสานกลางในการดำเนินแผนงานมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสรวมแล้ว 11 ครั้ง และมีการประชุมสภาธุรกิจสามฝ่ายรวมแล้ว 15 ครั้ง โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 11 ที่จังหวัดปัตตานี รวมทั้งการประชุมสภาธุรกิจสามฝ่าย ครั้งที่ 15 ที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อเดือนสิงหาคม 2547
2. วัตถุประสงค์หลักของ IMT-GT มุ่งหมายให้ภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศในพื้นที่เป็นผู้นำในการค้าการลงทุน โดยภาครัฐสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและขจัดอุปสรรคในการผ่านแดนและมาตรการกีดกันในการค้าเพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้างความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และพัฒนาความเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การสื่อสาร โทรคมนาคมในพื้นที่ IMT-GT ซึ่งในส่วนของไทยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนภาคใต้สู่นานาชาติ โดยเฉพาะการค้าการลงทุนกับเกาะสุมาตราให้เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่นหรือไปทำงานในมาเลเซียอย่างถูกระบบ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ภาครัฐจะใช้นโยบายส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้เป็นกลไกหลักเพื่อนำการในพื้นที่ IMT-GT ให้สัมฤทธิ์ผล
3. พื้นที่แผนงาน IMT-GT มีพื้นที่รวมกันทั้งสามประเทศ ประมาณกว่า 505,900 ตารางกิโลเมตร ส่วนของอินโดนีเซีย ประมาณ 430,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่เกือบทั้งหมดของเกาะสุมาตรา ได้แก่ จังหวัดสุมาตราเหนือ สุมาตราตะวันตก เรียว เบงกูลู จัมบี สุมาตราใต้ และมณฑลพิเศษอาเจห์ ส่วนของมาเลเซีย ประมาณ 55,100 ตาราง-กิโลเมตร ซึ่งมี 6 รัฐ คือ เกดะห์ เประ ปีนัง ปะลิส สลังงอร์ และกลันตัน และไทย ประมาณ 20,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมี 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
3.1 ในที่ประชุมแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting) เมื่อวันที่ 24-25 สิงหาคม 2547 ได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของสภาธุรกิจ IMT-GT ดังนี้
(1) มาเลเซียขอให้รวมพื้นที่รัฐกลันตันเข้าไว้ในพื้นที่ตามแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย ซึ่งจะทำให้มาเลเซียมีพื้นที่การพัฒนาติดต่อกับไทย ตลอดแนวชายแดนไทย- มาเลเซียทั้งหมด และทำให้มาเลเซียมีพื้นที่การพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 55,100 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในพื้นที่ความร่วมมือสามฝ่ายรวม 10.5 ล้านคน
(2) ไทยขอให้เพิ่มพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง เข้าในพื้นที่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ซึ่งจะทำให้ไทยมีพื้นที่การพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 39,300 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในพื้นที่ความร่วมมือสามฝ่าย รวม 6.2 ล้านคน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2547 ได้เห็นชอบข้อเสนอข้างต้นด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--
1. แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ฯ ได้ริเริ่มในปี 2536 โดยมีเป้าหมายความร่วมมือเพื่อเร่งรัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อยกระดับรายได้ของประชาชนในพื้นที่ความร่วมมือตามแผน โดยรัฐบาลทั้งสามประเทศมอบหมายหน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นหน่วยงานประสานกลางในการดำเนินแผนงานมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสรวมแล้ว 11 ครั้ง และมีการประชุมสภาธุรกิจสามฝ่ายรวมแล้ว 15 ครั้ง โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 11 ที่จังหวัดปัตตานี รวมทั้งการประชุมสภาธุรกิจสามฝ่าย ครั้งที่ 15 ที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อเดือนสิงหาคม 2547
2. วัตถุประสงค์หลักของ IMT-GT มุ่งหมายให้ภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศในพื้นที่เป็นผู้นำในการค้าการลงทุน โดยภาครัฐสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและขจัดอุปสรรคในการผ่านแดนและมาตรการกีดกันในการค้าเพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้างความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และพัฒนาความเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การสื่อสาร โทรคมนาคมในพื้นที่ IMT-GT ซึ่งในส่วนของไทยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนภาคใต้สู่นานาชาติ โดยเฉพาะการค้าการลงทุนกับเกาะสุมาตราให้เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่นหรือไปทำงานในมาเลเซียอย่างถูกระบบ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ภาครัฐจะใช้นโยบายส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้เป็นกลไกหลักเพื่อนำการในพื้นที่ IMT-GT ให้สัมฤทธิ์ผล
3. พื้นที่แผนงาน IMT-GT มีพื้นที่รวมกันทั้งสามประเทศ ประมาณกว่า 505,900 ตารางกิโลเมตร ส่วนของอินโดนีเซีย ประมาณ 430,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่เกือบทั้งหมดของเกาะสุมาตรา ได้แก่ จังหวัดสุมาตราเหนือ สุมาตราตะวันตก เรียว เบงกูลู จัมบี สุมาตราใต้ และมณฑลพิเศษอาเจห์ ส่วนของมาเลเซีย ประมาณ 55,100 ตาราง-กิโลเมตร ซึ่งมี 6 รัฐ คือ เกดะห์ เประ ปีนัง ปะลิส สลังงอร์ และกลันตัน และไทย ประมาณ 20,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมี 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
3.1 ในที่ประชุมแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting) เมื่อวันที่ 24-25 สิงหาคม 2547 ได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของสภาธุรกิจ IMT-GT ดังนี้
(1) มาเลเซียขอให้รวมพื้นที่รัฐกลันตันเข้าไว้ในพื้นที่ตามแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย ซึ่งจะทำให้มาเลเซียมีพื้นที่การพัฒนาติดต่อกับไทย ตลอดแนวชายแดนไทย- มาเลเซียทั้งหมด และทำให้มาเลเซียมีพื้นที่การพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 55,100 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในพื้นที่ความร่วมมือสามฝ่ายรวม 10.5 ล้านคน
(2) ไทยขอให้เพิ่มพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง เข้าในพื้นที่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ซึ่งจะทำให้ไทยมีพื้นที่การพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 39,300 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในพื้นที่ความร่วมมือสามฝ่าย รวม 6.2 ล้านคน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2547 ได้เห็นชอบข้อเสนอข้างต้นด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--