คณะรัฐมนตรีบทราบนโยบายส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษในกิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และ
กิจการที่ตั้งในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ตามที่กระทรวง-
อุตสาหกรรมเสนอดังนี้
1. มาตรการการยกเว้นภาษีเงินได้ ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี และลดหย่อน 50% อีก 5 ปี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่และมีการขยายการลงทุนต่อเนื่องในอนาคต จึงต้องใช้วิธีการให้สิทธิและประโยชน์นลักษณะพิเศษเป็นการจูงใจผู้ลงทุน ดังนี้
(1) สิทธิและประโยชน์สำหรับโครงการลงทุนส่วนแรก จะได้รับตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน ดังนี้
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
- ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลกึ่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปี หลังจากสิ้นสุด
เวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
- หักค่าขนส่ง ไฟฟ้า ประปา 2 เท่า 10 ปี
- หักค่าติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก 25% 10 ปี
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิต
เพื่อการส่งออก 5 ปี
ทั้งนี้โครงการส่วนแรก จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายใน 31 ธันวาคม 2550 สิทธิประโยชน์การลงทุนส่วนขยายในอนาคต ผู้ได้รับการส่งเสริมโครงการส่วนแรก หากขยายการลงทุนในอนาคตตามเงื่อนไขที่กำหนด (ในชื่อนิติบุคคลเดิม) สามารถรวมโครงการส่วนแรกเข้ากับโครงการส่วนขยาย และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก 8 ปี และลดหย่อย 50% อีก 5 ปี โดยให้รวมโครงการแรกและโครงการส่วนขยายเป็นโครงการเดียวกัน และออกบัตรส่งเสริมใหม่และเริ่มนับระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลใหม่ตั้งแต่วันที่โครงการส่วนขยายมีรายได้ระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของโครงการแรกจะสิ้นสุดไปเมื่อได้รับสิทธิใหม่
- สิทธิประโยชน์อื่นจะได้รับตามเกณฑ์ปกติ
ทั้งนี้โครงการลงทุนส่วนขยายในอนาคตจะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริม และต้องดำเนินการมีรายได้ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ของโครงการลงทุนส่วนแรก
- กำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และทุกประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมที่ตั้งโรงงานในนิคมฯ หรือเขตอุตสาหกรรมฯ ดังกล่าว เป็นกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ โดยไม่กำหนดสัดส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับการยกเว้น
- สิทธิและประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น กำหนดให้เฉพาะผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) และทุกประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมที่ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริมใน 3 จังหวัดดังกล่าว
- กรณีผู้ขอส่งเสริมไม่ประสงค์หรือไม่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็สามารถขอรับการส่งเสริมและได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ปกติได้
2. ส่วนที่เป็นมาตรการของหน่วยงานอื่น เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณากล่าวคือ กระทรวงการคลัง ในเรื่อง การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต กรมการประกันภัย ในเรื่อง การประกันชีวิตและทรัพย์สินของผู้ลงทุน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเรื่องการจัดหาแหล่งเงินทุน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเรื่องการลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 20 ของอัตราปกติ และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการสนับสนุนระบบสาธารณูปโภคจากภายนอกเข้าสู่โครงการนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--
กิจการที่ตั้งในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ตามที่กระทรวง-
อุตสาหกรรมเสนอดังนี้
1. มาตรการการยกเว้นภาษีเงินได้ ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี และลดหย่อน 50% อีก 5 ปี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่และมีการขยายการลงทุนต่อเนื่องในอนาคต จึงต้องใช้วิธีการให้สิทธิและประโยชน์นลักษณะพิเศษเป็นการจูงใจผู้ลงทุน ดังนี้
(1) สิทธิและประโยชน์สำหรับโครงการลงทุนส่วนแรก จะได้รับตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน ดังนี้
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
- ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลกึ่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปี หลังจากสิ้นสุด
เวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
- หักค่าขนส่ง ไฟฟ้า ประปา 2 เท่า 10 ปี
- หักค่าติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก 25% 10 ปี
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิต
เพื่อการส่งออก 5 ปี
ทั้งนี้โครงการส่วนแรก จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายใน 31 ธันวาคม 2550 สิทธิประโยชน์การลงทุนส่วนขยายในอนาคต ผู้ได้รับการส่งเสริมโครงการส่วนแรก หากขยายการลงทุนในอนาคตตามเงื่อนไขที่กำหนด (ในชื่อนิติบุคคลเดิม) สามารถรวมโครงการส่วนแรกเข้ากับโครงการส่วนขยาย และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก 8 ปี และลดหย่อย 50% อีก 5 ปี โดยให้รวมโครงการแรกและโครงการส่วนขยายเป็นโครงการเดียวกัน และออกบัตรส่งเสริมใหม่และเริ่มนับระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลใหม่ตั้งแต่วันที่โครงการส่วนขยายมีรายได้ระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของโครงการแรกจะสิ้นสุดไปเมื่อได้รับสิทธิใหม่
- สิทธิประโยชน์อื่นจะได้รับตามเกณฑ์ปกติ
ทั้งนี้โครงการลงทุนส่วนขยายในอนาคตจะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริม และต้องดำเนินการมีรายได้ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ของโครงการลงทุนส่วนแรก
- กำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และทุกประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมที่ตั้งโรงงานในนิคมฯ หรือเขตอุตสาหกรรมฯ ดังกล่าว เป็นกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ โดยไม่กำหนดสัดส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับการยกเว้น
- สิทธิและประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น กำหนดให้เฉพาะผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) และทุกประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมที่ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริมใน 3 จังหวัดดังกล่าว
- กรณีผู้ขอส่งเสริมไม่ประสงค์หรือไม่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็สามารถขอรับการส่งเสริมและได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ปกติได้
2. ส่วนที่เป็นมาตรการของหน่วยงานอื่น เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณากล่าวคือ กระทรวงการคลัง ในเรื่อง การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต กรมการประกันภัย ในเรื่อง การประกันชีวิตและทรัพย์สินของผู้ลงทุน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเรื่องการจัดหาแหล่งเงินทุน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเรื่องการลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 20 ของอัตราปกติ และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการสนับสนุนระบบสาธารณูปโภคจากภายนอกเข้าสู่โครงการนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--