คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พื้นที่เขตตรวจราชการที่ 17 ณ จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เสนอ ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) พร้อมด้วยรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายธนากร นันที) และคณะได้เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 17 ที่จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ในระหว่างวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2547 มีผลการตรวจราชการที่สำคัญดังนี้
1. การประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และพังงา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารของท้องถิ่นพร้อมทั้งภาคเอกชน เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2547 โดยมีข้อสรุป ดังนี้
1.1 การมอบหมายนโยบาย
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) สถานการณ์ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) รัฐบาลกำลังแก้ไขสถานการณ์ของ 3 จังหวัดชายแดน โดยมีแนวทางหนึ่งที่จะให้ประชาชนทั่วประเทศได้ส่งกำลังใจในการเรียกร้องหาสันติภาพ สันติสุขคืนสู่ประชาชนของ 3 จังหวัดดังกล่าว โดยขอเชิญชวนคนไทยทั้งประเทศพับนกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ เพื่อจะนำไปโปรยให้กับพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัด ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมศกนี้ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนช่วยกันเป็นกำลังใจที่จะดูแล สนับสนุน ในเรื่องที่จะนำความสงบสุขไปสู่ภาคใต้
2) การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวนับเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะรายได้ของทั้งสามจังหวัดมาจากการท่องเที่ยวจำนวนมาก และยุทธศาสตร์หลักของทั้งสามจังหวัดคือการท่องเที่ยว จึงอยากจะเรียกสามจังหวัดนี้ว่าสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ดังนั้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสามจังหวัดจะต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นพื้นที่เดียวกัน แต่แบ่งแยกพื้นที่ในการปกครอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและ SHARING ร่วมกันได้ สามารถที่จะสร้างเครือข่ายที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน การสร้างโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมต่าง ๆ ถ้ามองเป็นภูมิภาคเป็นแผ่นดินเดียวกันจะเกิดการประหยัด แต่ถ้าต่างคนต่างทำจะเกิดความไม่ประหยัด และยังเกิดความซ้ำซ้อน ฉะนั้น จากนี้ไปแนวทางในการพัฒนาทั้งสามจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัดจะต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพในการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกิดการประหยัด มีการจัดทำแผนในเชิงบูรณาการของพื้นที่เพื่อรองรับภารกิจทางด้านการท่องเที่ยว และต้องพัฒนาสามจังหวัดนี้ให้เป็นสามเหลี่ยมเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง
1.2 การติดตามงาน/โครงการตามนโยบายของรัฐบาลในจังหวัดภูเก็ตและพังงา จากการรับฟังผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน/โครงการตามนโยบายของรัฐบาลของทั้ง 2 จังหวัด แล้วได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีบางหมู่บ้านของจังหวัดพังงาที่ยังไม่ได้รับเงินกองทุน ได้ขอให้จังหวัดช่วยติดตามเรื่องนี้ สินเชื่อนโยบายรัฐ (โครงการธนาคารประชาชน) มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทุกจังหวัด ดังนั้น ควรเข้มงวดกวดขันในเรื่องของการมีวินัย หรือการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกที่กู้ยืมเงินมีความรับผิดชอบในการชำระคืน และใช้เงินที่กู้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ฯลฯ
1.3 การติดตามงานที่เป็นปัญหาของจังหวัดภูเก็ตและพังงา ได้มีข้อสั่งการ ดังนี้
1) จังหวัดภูเก็ต
(1) โครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการเลือกสถานที่ก่อสร้างระหว่างพื้นที่บริเวณสะพานหินและพื้นที่บริเวณหาดไม้ขาว ขอมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กรมโยธาธิการและผังเมือง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไปพิจารณาหารือร่วมกันในเรื่องของพื้นที่ก่อสร้างว่าพื้นที่ใดมีความเหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่จะก่อสร้างในพื้นที่บริเวณสะพานหินให้หารือในเรื่องของการกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้เพื่อการกีฬาด้วย และหากจำเป็นจะต้องก่อสร้างโดยการถมทะเล ให้คำนึงถึงผังเมืองที่กรมโยธาธิการและผังเมืองจะออกแบบ MASTER PLAN ไว้ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว
(2) โครงการพัฒนาท่าเทียบเรืออ่าวฉลองหรือท่าเทียบเรือสำราญกีฬาหรือเรือยอช์ท ขอมอบหมายให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พิจารณาออกแบบท่าเทียบเรือเดิมที่มีอยู่แล้วว่าแบบที่ทางจังหวัดเสนอไปเหมาะสมหรือไม่ พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการบริหารจัดการ หรือในกรณีให้เอกชนเข้าไปดำเนินการ ซึ่งผู้แทนกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีรับไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
(3) โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือน้ำลึกอ่าวมะขามเป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่(CRUISE) ซึ่งออกแบบในการที่จะขยายให้เป็นท่าเทียบเรือที่จะรับนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันก็ให้ทำแนวทางในเรื่องของการที่จะให้เอกชนเข้ามาบริหารโดยให้มีการประสานงานไปที่กระทรวงการคลังในการขอให้ชะลอการต่อสัญญาที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้จัดทำเสนอไป โดยขอให้พิจารณารูปแบบของการบริหารด้วยว่า แทนที่จะเป็นท่าเรือสินค้าอย่างเดียว ขอให้เป็นท่าเรือท่องเที่ยวด้วย โดยมอบหมายให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีดำเนินการและประสานกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการจัดทำ EIA
(4) โครงการแก้ไขปัญหาจราจรสี่แยกไทนานและสี่แยกโลตัส การขยายถนนความยาว 8 กิโลเมตร ช่วง BYPASS และบริเวณจุดตัดไทนานและโลตัส ส่วนนี้ได้มอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรไปดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและจัดลำดับความสำคัญว่าควรที่จะขยายถนนในปีใด เพื่อให้กรมทางหลวงไปพิจารณาขอตั้งงบประมาณตามความเหมาะสมต่อไป โดยที่ขณะนี้บริเวณดังกล่าวกำลังมีการก่อสร้างถนน จึงขอให้กรมทางหลวงเร่งรัดการก่อสร้างกับบริษัทผู้รับเหมาเพราะทำงานค่อนข้างล่าช้ากว่าเป้าหมาย จึงอาจจะไม่แล้วเสร็จตามสัญญาในเดือนกันยายน 2548
(5) โครงการก่อสร้างถนนสายหลักด้านใต้ ระยะทาง 600 เมตร ของเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องตัดผ่านพื้นที่ป่าชายเลน คลองเกาะผี ดังนั้น การก่อสร้างถนนในช่วงนี้จะต้องได้รับอนุมัติให้ผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ก่อน แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 ไม่เห็นชอบให้ก่อสร้างถนนตามแนวที่กรมโยธาธิการและผังเมืองออกแบบไว้ เพราะจะเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม คือ ถนนจะขวางกั้นทางน้ำทะเลขึ้นลง โดยขอให้ก่อสร้างถนนทางเบี่ยงแทน แต่เนื่องจากเห็นว่าแนวถนนเส้นใหม่มีความคดเคี้ยวไม่สะดวกและปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ รวมทั้งขนาดความกว้างไม่ได้มาตรฐาน จึงขอมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปประชุมหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถ้าปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ก่อสร้างถนนแนวใหม่จะพบปัญหาอุปสรรคประการใด และจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร ทั้งนี้ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบในการใช้ประกอบการที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
(6) โครงการก่อสร้างโรงผลิตน้ำประปาเพื่อรองรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ ซึ่งกรมชลประทานมีงบประมาณแล้ว จำนวน 146 ล้านบาท และได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าเดือนธันวาคมศกนี้จะสามารถดำเนินการประกวดราคา ดังนั้น การประปาภูมิภาคต้องรีบทำโครงการที่จะทำการผลิตน้ำประปา ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบเพื่อวางแนวท่อเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อที่ดิน จึงขอให้ตั้งงบประมาณไว้ในปี 2549 เพื่อให้สอดรับกับการดำเนินการของกรมชลประทาน ขณะเดียวกันโครงการคลองกะทะขอให้กรมชลประทานได้ตั้งงบประมาณไว้ในปี 2549 ด้วย ดังนั้น จังหวัดภูเก็ตจะมีอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 อ่าง ซึ่งจะมีปริมาณน้ำเพียงพอในการให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัด
(7) โครงการภูเก็ต ICT CITY ในเรื่องของ ICT ของจังหวัดภูเก็ต ปัญหาที่พบคือ การขาดบุคลากรพวกโปรแกรมเมอร์ การลงทุนจะมีอยู่ตลอดเวลาแต่ยังขาดบุคลากร แม้สำนักงาน SOFTWARE INDUSTRY PROMOTION AGENCY (SIPA) ในจังหวัดภูเก็ตได้ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรแล้วก็ตาม ประกอบกับหลายหน่วยงานยังไม่มีงบประมาณหรือยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางให้มีหรือนำ ICT มาใช้อย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาเกิดความล่าล้า จึงขอมอบหมายให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยรับไปปรับปรุงวิธีการ รวมทั้งให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(8) โครงการจัดตั้ง CALL CENTER ปัจจุบันเอเยนอยู่ในกรุงเทพฯ จึงต้องกำหนดเป็นหมายเลข 9 หลัก ที่กรุงเทพฯ แต่จากการตรวจสอบพบว่าในพื้นที่ได้กำหนดหมายเลข 4 หลักไว้ให้ใช้แล้ว คือหมายเลข 1565 ซึ่งทางจังหวัดยังไม่เคยนำมาใช้งาน จึงขอให้นำมาใช้ใน 3 จังหวัดนี้ก่อนเป็นการ POOL ภารกิจร่วมกัน ในระยะต่อไปค่อยไปขออนุมัติ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถโทรติดต่อโดยตรงได้ทั่วประเทศ แต่ขอให้ไม่เรียกชื่อว่า CALL CENTER แต่จะเรียกเป็นชื่ออะไรนั้น ขอมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไปดำเนินการ
(9) โครงการก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลท์คอนกรีต สายฉลอง-ป่าตอง โดยที่ถนนสายดังกล่าวผ่านพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้มีการทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้กำลังรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขานาคเกิด หากได้พื้นที่แล้ว กรมทางหลวงชนบทจะได้พิจารณาเสนอขอตั้งงบประมาณต่อไป
(10) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ได้ดำเนินการขยายตัว WAREHOUSE กับตัวTERMINAL แล้ว เหลือเรื่องเดียวคือลานจอดเครื่องบิน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการประกาศประกวดราคา ส่วนการขอขยายระยะทางวิ่งโดยการต่อความยาวอีก 300 เมตร ขณะนี้บริษัทท่าอากาศยานไทยกำลังทำการศึกษา
2) จังหวัดพังงา
(11) จังหวัดพังงา ประสบปัญหาด้านน้ำเสีย ขยะ และด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าไปช่วยทำแผนปฏัติการในการออกแบบการกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันความเสียหายบริเวณเขาหลัก ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วของนักท่องเที่ยว ในด้านของถนนได้มอบให้กรมทางหลวงไปพิจารณาขอบทางซึ่งค่อนข้างแคบของถนนที่ผ่านบริเวณเขาหลัก เนื่องจากเป็นถนนในเขตท่องเที่ยว และเส้นทางคดเคี้ยวมาก การออกแบบขยายถนนควรคำนึงถึง CONCEPT เพื่อการท่องเที่ยว โดยควรจะมีเลนจักรยานและมีช่องทางเดินให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวเล่นเพื่อชมเขาชมทะเลได้รับความปลอดภัย
(12) โครงการสร้างสะพานเชื่อมเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ ซึ่งทั้งสองเกาะขณะนี้มีรีสอร์ทเป็นจำนวนมาก และมีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยว เกาะทั้งสองดังกล่าวเป็นที่นิยมในเรื่องความสวยงามนักท่องเที่ยวไปกันมาก 2 เกาะนี้อยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ จังหวัดพังงาได้เสนอให้มีการก่อสร้างสะพานเชื่อม 2 เกาะ และเป็นความต้องการของประชาชน ซึ่งอาศัยอยู่ทั้ง 2 เกาะ ประมาณ 13,000 คน หากไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นความต้องการของท้องถิ่น ก็จะสนับสนุนให้มีการก่อสร้างสะพานเชื่อมทั้งสองเกาะเข้าด้วยกัน สำหรับเกาะปันหยี ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ปรากฏว่าในช่วง HIGH SEASON มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวมากกว่า 10,000 คน/วัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบไฟฟ้าอย่างถาวร ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับจะไปเร่งพิจารณาแนวทางที่จะวางสายเคเบิลใต้น้ำในการที่จะนำไฟฟ้าจากแผ่นดินใหญ่ไปที่เกาะปันหยี
(13) โครงการจัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดพังงา โครงการนี้ควรให้มีการบูรณาการร่วมกันในการจัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวทางทะเล ทั้ง 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ เพราะขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมในเรื่องของกิจกรรมทางน้ำ เช่นการลดภาษีเรือยอร์ท การส่งเสริมการสร้างท่าเทียบเรือมารีน่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น การท่องเที่ยวทางน้ำมีมากขึ้น แต่ในเรื่องของอุปกรณ์การดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวทางน้ำจะต้องเพิ่มให้ครบถ้วนเพื่อเป็นภาพพจน์และเป็นหลักประกันให้กับนักท่องเที่ยวด้วย ฉะนั้น ใน 3 จังหวัด ควรจะได้มีการประชุมหารือร่วมกันในการจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมกัน โดยจะมีการลงทุนในการที่จะใช้เครือข่าย มีการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือการรักษาความปลอดภัย เช่น เรือเร็ว อุปกรณ์ช่วยชีวิต เครื่องมือสื่อสาร ฯลฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวได้ทันท่วงที เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นเมืองมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว จะเป็น IMAGE ของเมืองท่องเที่ยว ขอให้ร่วมกันทั้ง 3 จังหวัดทำเป็นโครงการขนาดใหญ่ POOL การช่วยเหลือนักท่องเที่ยวร่วมกัน โดยให้มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จังหวัด ตำรวจภูธร ตำรวจน้ำ ทหารเรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี หารือร่วมกันจัดตั้งศูนย์ ดังกล่าว และมีเครือข่ายเชื่อมโยงตามจุดท่องเที่ยวที่สำคัญต่าง ๆ โดยมีระบบสื่อสารที่ทันสมัย จะทำให้ความเป็นมาตรฐาน ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ขอมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีช่วยประสานกับทั้ง 3 จังหวัดจัดทำเป็นโครงการของกลุ่มจังหวัดนี้
2. การประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่น เมื่อวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2547 นั้น รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้มอบนโยบายดังเช่นที่จังหวัดภูเก็ต-พังงา และได้รับฟังปัญหาของจังหวัดกระบี่ ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
2.1) การติดตามงานที่เป็นปัญหาของจังหวัดกระบี่ และมีข้อสั่งการดังนี้
1) โครงการฟื้นฟูและดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียเกาะพีพี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียรวมแบบบ่อผึ่งที่เกาะพีพี ตั้งแต่เมื่อปี 2541 แต่ถูกทิ้งร้างมานาน ทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์เกิดสนิม จำเป็นต้องทำการปรับปรุงซ่อมแซมและก่อสร้างเพิ่มเติมและโครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและน้ำฝนไหลลงบริเวณหน้าหาดอ่าวนาง ซึ่งทั้ง 2 กรณีดังกล่าว จังหวัดกระบี่ได้ขอรับการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรี ในคราวที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปกระบี่เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาพิจารณาจัดทำแผนในภาพรวมและเสนอขอตั้งงบประมาณตามความจำเป็นต่อไป ดังนั้น จึงมอบหมายให้จังหวัดเร่งเสนอโครงการไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณต่อไป
2) โครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจรช่วงกระบี่-อ่าวลึกตอนที่ 1 วงเงิน 400 ล้านบาท ขอให้รีบดำเนินการหาผู้รับจ้าง และมีอีกหลายช่วงที่กำหนดไว้ในแผนที่จะต้องดำเนินการในปีต่อ ๆ ไปนั้น ขอให้กรมทางหลวงจัดลำดับความสำคัญในการก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดนี้ต่อไป
3) การพัฒนาพื้นที่เกาะลันตาเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวพิเศษ ขณะนี้เกาะลันตาใหญ่เจริญก้าวหน้ามากกว่าโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับตามได้ทัน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการท่องเที่ยวที่ไม่เกิดความยั่งยืน ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เข้าไปประสานและจัดวางระบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยการหารือร่วมกับจังหวัดและท้องถิ่นให้มีความเห็นสอดคล้องกัน ในการดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่แห่งนี้ ให้ดำรงคุณค่าและมีความยั่งยืน ทั้งนี้ขอให้มีการบูรณาการวางแผนการพัฒนาและบริหารจัดการให้เป็นพื้นที่พิเศษอย่างมีเอกภาพโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวร่วมกับจังหวัดและท้องถิ่นเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนต่อไป
2.2) การติดตามพื้นที่หมู่เกาะลันตาน้อย-ลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
พบว่าถนนบนเกาะมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก บางช่วงมีฝุ่น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้ถนน รวมทั้งนักท่องเที่ยวเกิดความไม่สะดวกต่อการสัญจรไป-มา จึงได้มอบหมายให้จังหวัดกระบี่จัดทำโครงการก่อสร้างถนนสายศาลาด่าน-สังกาอู้ โดยขอใช้งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สำหรับรองนายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้โดยเร่งด่วนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) พร้อมด้วยรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายธนากร นันที) และคณะได้เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 17 ที่จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ในระหว่างวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2547 มีผลการตรวจราชการที่สำคัญดังนี้
1. การประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และพังงา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารของท้องถิ่นพร้อมทั้งภาคเอกชน เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2547 โดยมีข้อสรุป ดังนี้
1.1 การมอบหมายนโยบาย
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) สถานการณ์ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) รัฐบาลกำลังแก้ไขสถานการณ์ของ 3 จังหวัดชายแดน โดยมีแนวทางหนึ่งที่จะให้ประชาชนทั่วประเทศได้ส่งกำลังใจในการเรียกร้องหาสันติภาพ สันติสุขคืนสู่ประชาชนของ 3 จังหวัดดังกล่าว โดยขอเชิญชวนคนไทยทั้งประเทศพับนกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ เพื่อจะนำไปโปรยให้กับพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัด ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมศกนี้ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนช่วยกันเป็นกำลังใจที่จะดูแล สนับสนุน ในเรื่องที่จะนำความสงบสุขไปสู่ภาคใต้
2) การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวนับเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะรายได้ของทั้งสามจังหวัดมาจากการท่องเที่ยวจำนวนมาก และยุทธศาสตร์หลักของทั้งสามจังหวัดคือการท่องเที่ยว จึงอยากจะเรียกสามจังหวัดนี้ว่าสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ดังนั้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสามจังหวัดจะต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นพื้นที่เดียวกัน แต่แบ่งแยกพื้นที่ในการปกครอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและ SHARING ร่วมกันได้ สามารถที่จะสร้างเครือข่ายที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน การสร้างโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมต่าง ๆ ถ้ามองเป็นภูมิภาคเป็นแผ่นดินเดียวกันจะเกิดการประหยัด แต่ถ้าต่างคนต่างทำจะเกิดความไม่ประหยัด และยังเกิดความซ้ำซ้อน ฉะนั้น จากนี้ไปแนวทางในการพัฒนาทั้งสามจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัดจะต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพในการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกิดการประหยัด มีการจัดทำแผนในเชิงบูรณาการของพื้นที่เพื่อรองรับภารกิจทางด้านการท่องเที่ยว และต้องพัฒนาสามจังหวัดนี้ให้เป็นสามเหลี่ยมเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง
1.2 การติดตามงาน/โครงการตามนโยบายของรัฐบาลในจังหวัดภูเก็ตและพังงา จากการรับฟังผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน/โครงการตามนโยบายของรัฐบาลของทั้ง 2 จังหวัด แล้วได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีบางหมู่บ้านของจังหวัดพังงาที่ยังไม่ได้รับเงินกองทุน ได้ขอให้จังหวัดช่วยติดตามเรื่องนี้ สินเชื่อนโยบายรัฐ (โครงการธนาคารประชาชน) มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทุกจังหวัด ดังนั้น ควรเข้มงวดกวดขันในเรื่องของการมีวินัย หรือการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกที่กู้ยืมเงินมีความรับผิดชอบในการชำระคืน และใช้เงินที่กู้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ฯลฯ
1.3 การติดตามงานที่เป็นปัญหาของจังหวัดภูเก็ตและพังงา ได้มีข้อสั่งการ ดังนี้
1) จังหวัดภูเก็ต
(1) โครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการเลือกสถานที่ก่อสร้างระหว่างพื้นที่บริเวณสะพานหินและพื้นที่บริเวณหาดไม้ขาว ขอมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กรมโยธาธิการและผังเมือง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไปพิจารณาหารือร่วมกันในเรื่องของพื้นที่ก่อสร้างว่าพื้นที่ใดมีความเหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่จะก่อสร้างในพื้นที่บริเวณสะพานหินให้หารือในเรื่องของการกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้เพื่อการกีฬาด้วย และหากจำเป็นจะต้องก่อสร้างโดยการถมทะเล ให้คำนึงถึงผังเมืองที่กรมโยธาธิการและผังเมืองจะออกแบบ MASTER PLAN ไว้ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว
(2) โครงการพัฒนาท่าเทียบเรืออ่าวฉลองหรือท่าเทียบเรือสำราญกีฬาหรือเรือยอช์ท ขอมอบหมายให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี พิจารณาออกแบบท่าเทียบเรือเดิมที่มีอยู่แล้วว่าแบบที่ทางจังหวัดเสนอไปเหมาะสมหรือไม่ พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการบริหารจัดการ หรือในกรณีให้เอกชนเข้าไปดำเนินการ ซึ่งผู้แทนกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีรับไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
(3) โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือน้ำลึกอ่าวมะขามเป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่(CRUISE) ซึ่งออกแบบในการที่จะขยายให้เป็นท่าเทียบเรือที่จะรับนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันก็ให้ทำแนวทางในเรื่องของการที่จะให้เอกชนเข้ามาบริหารโดยให้มีการประสานงานไปที่กระทรวงการคลังในการขอให้ชะลอการต่อสัญญาที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้จัดทำเสนอไป โดยขอให้พิจารณารูปแบบของการบริหารด้วยว่า แทนที่จะเป็นท่าเรือสินค้าอย่างเดียว ขอให้เป็นท่าเรือท่องเที่ยวด้วย โดยมอบหมายให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีดำเนินการและประสานกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการจัดทำ EIA
(4) โครงการแก้ไขปัญหาจราจรสี่แยกไทนานและสี่แยกโลตัส การขยายถนนความยาว 8 กิโลเมตร ช่วง BYPASS และบริเวณจุดตัดไทนานและโลตัส ส่วนนี้ได้มอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรไปดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและจัดลำดับความสำคัญว่าควรที่จะขยายถนนในปีใด เพื่อให้กรมทางหลวงไปพิจารณาขอตั้งงบประมาณตามความเหมาะสมต่อไป โดยที่ขณะนี้บริเวณดังกล่าวกำลังมีการก่อสร้างถนน จึงขอให้กรมทางหลวงเร่งรัดการก่อสร้างกับบริษัทผู้รับเหมาเพราะทำงานค่อนข้างล่าช้ากว่าเป้าหมาย จึงอาจจะไม่แล้วเสร็จตามสัญญาในเดือนกันยายน 2548
(5) โครงการก่อสร้างถนนสายหลักด้านใต้ ระยะทาง 600 เมตร ของเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องตัดผ่านพื้นที่ป่าชายเลน คลองเกาะผี ดังนั้น การก่อสร้างถนนในช่วงนี้จะต้องได้รับอนุมัติให้ผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ก่อน แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 ไม่เห็นชอบให้ก่อสร้างถนนตามแนวที่กรมโยธาธิการและผังเมืองออกแบบไว้ เพราะจะเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม คือ ถนนจะขวางกั้นทางน้ำทะเลขึ้นลง โดยขอให้ก่อสร้างถนนทางเบี่ยงแทน แต่เนื่องจากเห็นว่าแนวถนนเส้นใหม่มีความคดเคี้ยวไม่สะดวกและปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ รวมทั้งขนาดความกว้างไม่ได้มาตรฐาน จึงขอมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปประชุมหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถ้าปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ก่อสร้างถนนแนวใหม่จะพบปัญหาอุปสรรคประการใด และจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร ทั้งนี้ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบในการใช้ประกอบการที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
(6) โครงการก่อสร้างโรงผลิตน้ำประปาเพื่อรองรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ ซึ่งกรมชลประทานมีงบประมาณแล้ว จำนวน 146 ล้านบาท และได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าเดือนธันวาคมศกนี้จะสามารถดำเนินการประกวดราคา ดังนั้น การประปาภูมิภาคต้องรีบทำโครงการที่จะทำการผลิตน้ำประปา ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบเพื่อวางแนวท่อเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อที่ดิน จึงขอให้ตั้งงบประมาณไว้ในปี 2549 เพื่อให้สอดรับกับการดำเนินการของกรมชลประทาน ขณะเดียวกันโครงการคลองกะทะขอให้กรมชลประทานได้ตั้งงบประมาณไว้ในปี 2549 ด้วย ดังนั้น จังหวัดภูเก็ตจะมีอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 อ่าง ซึ่งจะมีปริมาณน้ำเพียงพอในการให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัด
(7) โครงการภูเก็ต ICT CITY ในเรื่องของ ICT ของจังหวัดภูเก็ต ปัญหาที่พบคือ การขาดบุคลากรพวกโปรแกรมเมอร์ การลงทุนจะมีอยู่ตลอดเวลาแต่ยังขาดบุคลากร แม้สำนักงาน SOFTWARE INDUSTRY PROMOTION AGENCY (SIPA) ในจังหวัดภูเก็ตได้ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรแล้วก็ตาม ประกอบกับหลายหน่วยงานยังไม่มีงบประมาณหรือยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางให้มีหรือนำ ICT มาใช้อย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาเกิดความล่าล้า จึงขอมอบหมายให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยรับไปปรับปรุงวิธีการ รวมทั้งให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(8) โครงการจัดตั้ง CALL CENTER ปัจจุบันเอเยนอยู่ในกรุงเทพฯ จึงต้องกำหนดเป็นหมายเลข 9 หลัก ที่กรุงเทพฯ แต่จากการตรวจสอบพบว่าในพื้นที่ได้กำหนดหมายเลข 4 หลักไว้ให้ใช้แล้ว คือหมายเลข 1565 ซึ่งทางจังหวัดยังไม่เคยนำมาใช้งาน จึงขอให้นำมาใช้ใน 3 จังหวัดนี้ก่อนเป็นการ POOL ภารกิจร่วมกัน ในระยะต่อไปค่อยไปขออนุมัติ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถโทรติดต่อโดยตรงได้ทั่วประเทศ แต่ขอให้ไม่เรียกชื่อว่า CALL CENTER แต่จะเรียกเป็นชื่ออะไรนั้น ขอมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไปดำเนินการ
(9) โครงการก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลท์คอนกรีต สายฉลอง-ป่าตอง โดยที่ถนนสายดังกล่าวผ่านพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้มีการทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้กำลังรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขานาคเกิด หากได้พื้นที่แล้ว กรมทางหลวงชนบทจะได้พิจารณาเสนอขอตั้งงบประมาณต่อไป
(10) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ได้ดำเนินการขยายตัว WAREHOUSE กับตัวTERMINAL แล้ว เหลือเรื่องเดียวคือลานจอดเครื่องบิน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการประกาศประกวดราคา ส่วนการขอขยายระยะทางวิ่งโดยการต่อความยาวอีก 300 เมตร ขณะนี้บริษัทท่าอากาศยานไทยกำลังทำการศึกษา
2) จังหวัดพังงา
(11) จังหวัดพังงา ประสบปัญหาด้านน้ำเสีย ขยะ และด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าไปช่วยทำแผนปฏัติการในการออกแบบการกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันความเสียหายบริเวณเขาหลัก ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วของนักท่องเที่ยว ในด้านของถนนได้มอบให้กรมทางหลวงไปพิจารณาขอบทางซึ่งค่อนข้างแคบของถนนที่ผ่านบริเวณเขาหลัก เนื่องจากเป็นถนนในเขตท่องเที่ยว และเส้นทางคดเคี้ยวมาก การออกแบบขยายถนนควรคำนึงถึง CONCEPT เพื่อการท่องเที่ยว โดยควรจะมีเลนจักรยานและมีช่องทางเดินให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวเล่นเพื่อชมเขาชมทะเลได้รับความปลอดภัย
(12) โครงการสร้างสะพานเชื่อมเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ ซึ่งทั้งสองเกาะขณะนี้มีรีสอร์ทเป็นจำนวนมาก และมีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยว เกาะทั้งสองดังกล่าวเป็นที่นิยมในเรื่องความสวยงามนักท่องเที่ยวไปกันมาก 2 เกาะนี้อยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ จังหวัดพังงาได้เสนอให้มีการก่อสร้างสะพานเชื่อม 2 เกาะ และเป็นความต้องการของประชาชน ซึ่งอาศัยอยู่ทั้ง 2 เกาะ ประมาณ 13,000 คน หากไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นความต้องการของท้องถิ่น ก็จะสนับสนุนให้มีการก่อสร้างสะพานเชื่อมทั้งสองเกาะเข้าด้วยกัน สำหรับเกาะปันหยี ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ปรากฏว่าในช่วง HIGH SEASON มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวมากกว่า 10,000 คน/วัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบไฟฟ้าอย่างถาวร ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับจะไปเร่งพิจารณาแนวทางที่จะวางสายเคเบิลใต้น้ำในการที่จะนำไฟฟ้าจากแผ่นดินใหญ่ไปที่เกาะปันหยี
(13) โครงการจัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดพังงา โครงการนี้ควรให้มีการบูรณาการร่วมกันในการจัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวทางทะเล ทั้ง 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ เพราะขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมในเรื่องของกิจกรรมทางน้ำ เช่นการลดภาษีเรือยอร์ท การส่งเสริมการสร้างท่าเทียบเรือมารีน่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น การท่องเที่ยวทางน้ำมีมากขึ้น แต่ในเรื่องของอุปกรณ์การดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวทางน้ำจะต้องเพิ่มให้ครบถ้วนเพื่อเป็นภาพพจน์และเป็นหลักประกันให้กับนักท่องเที่ยวด้วย ฉะนั้น ใน 3 จังหวัด ควรจะได้มีการประชุมหารือร่วมกันในการจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมกัน โดยจะมีการลงทุนในการที่จะใช้เครือข่าย มีการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือการรักษาความปลอดภัย เช่น เรือเร็ว อุปกรณ์ช่วยชีวิต เครื่องมือสื่อสาร ฯลฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวได้ทันท่วงที เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นเมืองมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว จะเป็น IMAGE ของเมืองท่องเที่ยว ขอให้ร่วมกันทั้ง 3 จังหวัดทำเป็นโครงการขนาดใหญ่ POOL การช่วยเหลือนักท่องเที่ยวร่วมกัน โดยให้มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จังหวัด ตำรวจภูธร ตำรวจน้ำ ทหารเรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี หารือร่วมกันจัดตั้งศูนย์ ดังกล่าว และมีเครือข่ายเชื่อมโยงตามจุดท่องเที่ยวที่สำคัญต่าง ๆ โดยมีระบบสื่อสารที่ทันสมัย จะทำให้ความเป็นมาตรฐาน ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ขอมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีช่วยประสานกับทั้ง 3 จังหวัดจัดทำเป็นโครงการของกลุ่มจังหวัดนี้
2. การประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่น เมื่อวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2547 นั้น รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้มอบนโยบายดังเช่นที่จังหวัดภูเก็ต-พังงา และได้รับฟังปัญหาของจังหวัดกระบี่ ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
2.1) การติดตามงานที่เป็นปัญหาของจังหวัดกระบี่ และมีข้อสั่งการดังนี้
1) โครงการฟื้นฟูและดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียเกาะพีพี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียรวมแบบบ่อผึ่งที่เกาะพีพี ตั้งแต่เมื่อปี 2541 แต่ถูกทิ้งร้างมานาน ทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์เกิดสนิม จำเป็นต้องทำการปรับปรุงซ่อมแซมและก่อสร้างเพิ่มเติมและโครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและน้ำฝนไหลลงบริเวณหน้าหาดอ่าวนาง ซึ่งทั้ง 2 กรณีดังกล่าว จังหวัดกระบี่ได้ขอรับการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรี ในคราวที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปกระบี่เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547 ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาพิจารณาจัดทำแผนในภาพรวมและเสนอขอตั้งงบประมาณตามความจำเป็นต่อไป ดังนั้น จึงมอบหมายให้จังหวัดเร่งเสนอโครงการไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณต่อไป
2) โครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจรช่วงกระบี่-อ่าวลึกตอนที่ 1 วงเงิน 400 ล้านบาท ขอให้รีบดำเนินการหาผู้รับจ้าง และมีอีกหลายช่วงที่กำหนดไว้ในแผนที่จะต้องดำเนินการในปีต่อ ๆ ไปนั้น ขอให้กรมทางหลวงจัดลำดับความสำคัญในการก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดนี้ต่อไป
3) การพัฒนาพื้นที่เกาะลันตาเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวพิเศษ ขณะนี้เกาะลันตาใหญ่เจริญก้าวหน้ามากกว่าโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับตามได้ทัน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการท่องเที่ยวที่ไม่เกิดความยั่งยืน ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เข้าไปประสานและจัดวางระบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยการหารือร่วมกับจังหวัดและท้องถิ่นให้มีความเห็นสอดคล้องกัน ในการดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่แห่งนี้ ให้ดำรงคุณค่าและมีความยั่งยืน ทั้งนี้ขอให้มีการบูรณาการวางแผนการพัฒนาและบริหารจัดการให้เป็นพื้นที่พิเศษอย่างมีเอกภาพโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวร่วมกับจังหวัดและท้องถิ่นเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนต่อไป
2.2) การติดตามพื้นที่หมู่เกาะลันตาน้อย-ลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
พบว่าถนนบนเกาะมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก บางช่วงมีฝุ่น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้ถนน รวมทั้งนักท่องเที่ยวเกิดความไม่สะดวกต่อการสัญจรไป-มา จึงได้มอบหมายให้จังหวัดกระบี่จัดทำโครงการก่อสร้างถนนสายศาลาด่าน-สังกาอู้ โดยขอใช้งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สำหรับรองนายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้โดยเร่งด่วนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 ธันวาคม 2547--จบ--