คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง ขออนุมัติขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ และกู้เงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอแล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ จำนวน 1,282.34 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 778.38 ล้านบาท และค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภคจำนวน 503.96 ล้านบาท
2. อนุมัติให้ กทพ. ขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการฯ และกู้เงินเพิ่มอีกจำนวน 1,100.84 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 917.36 ล้านบาท และค่าอุทธรณ์และฟ้องร้องคดีจำนวน 183.48 ล้านบาท ทั้งนี้โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้จัดหาเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้จำนวนดังกล่าวและให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณเพื่อชำระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการกู้เงินดังกล่าว
กระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ได้รับรายงานจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยว่า
1. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ประสานงานกับกระทรวงคมนาคม เพื่อจัดหาแหล่งเงินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 1,282.34 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 778.38 ล้านบาท และค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภค จำนวน 503.96 ล้านบาท ซึ่งต่อมากระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ไม่สามารถจัดหาเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้กำหนดให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงินจำนวนดังกล่าว หากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องใช้ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติม ก็ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำเรื่องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ประสานกับสำนักงบประมาณ เพื่อขออนุมัติงบกลางปีประมาณ 2548 จำนวน 1,282.34 ล้านบาท ซึ่งต่อมาสำนักงบประมาณแจ้งว่า เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 งบกลางมีความจำเป็นต้องสำรองไว้ใช้ในภารกิจเร่งด่วน จึงเห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยประสานกับกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณากู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในกรอบวงเงินดังกล่าว
3. กรมทางหลวงแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทราบว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้โอนเงินให้กรมทางหลวงจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วจนถึง ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 เป็นเงิน 4,611.74 ล้านบาท และกรมทางหลวงได้ตรวจสอบค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์ โดยใช้ราคาปัจจุบัน ซึ่งค่าที่ดินและวัสดุก่อสร้างได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกครั้งหนึ่งแล้ว ผลปรากฎว่าวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 1,600 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่ได้รวมถึงเงินค่าทดแทนที่เพิ่มจากผลการพิจารณาอุทธรณ์ และค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาของศาล รวมทั้งค่าทดแทนเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามผลการรังวัดของสำนักงานที่ดิน จึงขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนิการจัดหาและโอนเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มจากวงเงินเดิมอีกจำนวน 1,600 ล้านบาท ให้กรมทางหลวงโดยด่วนด้วย ทั้งนี้ จำนวนเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ขอเพิ่มจำนวน 1,600 ล้านบาท เป็นจำนวนที่เพิ่มยอดจากที่ กทพ. ได้โอนให้กรมทางหลวงจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ไปแล้ว 4,611.74 ล้านบาท
4. จากข้อ 3. ทำให้ กทพ. จะต้องขออนุมัติขยายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มอีก 917.36 ล้านบาท
{1,600 - (5,294.38 - 4,611.74 = 682.64) }
นอกจากนี้โดยที่ผู้ถูกเวรคืนมีสิทธิตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่า ด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องร้องคดีต่อศาลได้ ดังนั้น ควรขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเงินค่าทดแทนในขั้นตอนค่าอุทธรณ์และฟ้องร้องคดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของจำนวนเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่กรมทางหลวงขอเพิ่มอีกจำนวน 917.36 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นเงินเพิ่มอีกจำนวน 183.48 ล้านบาท
รวมเป็นเงินค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินที่ กทพ. จะต้องขออนุมัติขยายวงเงินเพิ่มอีกทั้งสิ้น 1,100.84 ล้านบาท (917.36 + 183.48)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--
1. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ จำนวน 1,282.34 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 778.38 ล้านบาท และค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภคจำนวน 503.96 ล้านบาท
2. อนุมัติให้ กทพ. ขยายวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการฯ และกู้เงินเพิ่มอีกจำนวน 1,100.84 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 917.36 ล้านบาท และค่าอุทธรณ์และฟ้องร้องคดีจำนวน 183.48 ล้านบาท ทั้งนี้โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้จัดหาเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้จำนวนดังกล่าวและให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณเพื่อชำระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการกู้เงินดังกล่าว
กระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ได้รับรายงานจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยว่า
1. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ประสานงานกับกระทรวงคมนาคม เพื่อจัดหาแหล่งเงินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 1,282.34 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 778.38 ล้านบาท และค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภค จำนวน 503.96 ล้านบาท ซึ่งต่อมากระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ไม่สามารถจัดหาเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้กำหนดให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงินจำนวนดังกล่าว หากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องใช้ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติม ก็ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยนำเรื่องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ประสานกับสำนักงบประมาณ เพื่อขออนุมัติงบกลางปีประมาณ 2548 จำนวน 1,282.34 ล้านบาท ซึ่งต่อมาสำนักงบประมาณแจ้งว่า เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 งบกลางมีความจำเป็นต้องสำรองไว้ใช้ในภารกิจเร่งด่วน จึงเห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยประสานกับกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณากู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในกรอบวงเงินดังกล่าว
3. กรมทางหลวงแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทราบว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้โอนเงินให้กรมทางหลวงจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วจนถึง ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 เป็นเงิน 4,611.74 ล้านบาท และกรมทางหลวงได้ตรวจสอบค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์ โดยใช้ราคาปัจจุบัน ซึ่งค่าที่ดินและวัสดุก่อสร้างได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกครั้งหนึ่งแล้ว ผลปรากฎว่าวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 1,600 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่ได้รวมถึงเงินค่าทดแทนที่เพิ่มจากผลการพิจารณาอุทธรณ์ และค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาของศาล รวมทั้งค่าทดแทนเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามผลการรังวัดของสำนักงานที่ดิน จึงขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนิการจัดหาและโอนเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มจากวงเงินเดิมอีกจำนวน 1,600 ล้านบาท ให้กรมทางหลวงโดยด่วนด้วย ทั้งนี้ จำนวนเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ขอเพิ่มจำนวน 1,600 ล้านบาท เป็นจำนวนที่เพิ่มยอดจากที่ กทพ. ได้โอนให้กรมทางหลวงจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ไปแล้ว 4,611.74 ล้านบาท
4. จากข้อ 3. ทำให้ กทพ. จะต้องขออนุมัติขยายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มอีก 917.36 ล้านบาท
{1,600 - (5,294.38 - 4,611.74 = 682.64) }
นอกจากนี้โดยที่ผู้ถูกเวรคืนมีสิทธิตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่า ด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องร้องคดีต่อศาลได้ ดังนั้น ควรขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเงินค่าทดแทนในขั้นตอนค่าอุทธรณ์และฟ้องร้องคดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของจำนวนเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่กรมทางหลวงขอเพิ่มอีกจำนวน 917.36 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นเงินเพิ่มอีกจำนวน 183.48 ล้านบาท
รวมเป็นเงินค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินที่ กทพ. จะต้องขออนุมัติขยายวงเงินเพิ่มอีกทั้งสิ้น 1,100.84 ล้านบาท (917.36 + 183.48)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--