คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องเงินอุดหนุนค่าก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแล้ว มีมติเห็นชอบในหลักการและให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการต่อไป
กระทรวงการคลังแจ้งว่า ได้รับรายงานจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ดังนี้
1. กค. สงป. สศช. และ กทพ. ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาจำนวนเงินที่รัฐบาลจะอุดหนุนค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก รวม 2 ครั้ง ซึ่งผลการพิจารณาได้ข้อสรุปดังนี้
1.1 เมื่อพิจารณาถึงฐานะการเงินและภาระหนี้สินของ กทพ. ในปัจจุบัน กทพ. ไม่ควรจะลงทุนโครงการใหม่ แต่เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขยายโครงข่ายทางพิเศษเพื่อรองรับปริมาณจราจรที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต กทพ. จึงต้องดำเนินโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก
1.2 ในการพิจารณากำหนดเงินอุดหนุนค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ควรคำนึงถึงความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถปรับค่าผ่านทางตามแผนงานที่กำหนดไว้ และการเพิ่มสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งในปัจจุบันพันธบัตร กทพ. อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 5.6
1.3 โครงการทางพิเศษจะช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคม จึงมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสู่ง แต่ผลตอบแทนทางการเงินต่ำเพราะมีค่าลงทุนสูง เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้และมิให้ กทพ. มีปัญหาทางการเงินเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลควรให้เงินอุดหนุนระดับหนึ่งที่ทำให้ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยตลาด ซึ่งที่ผ่านมา กทพ. ได้กำหนดให้อัตราผลตอบแทนทางการเงินเท่ากับร้อยละ 12 และลดลงเหลือร้อยละ 8 ตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยตลาด สำหรับโครงการทางพิเศษสายรามอินทราวงแหวนรอบนอก คาดว่าจะต้องกู้เงินเพื่อจ่ายค่างานก่อสร้างในช่วงปี 2549-2551 อัตราดอกเบี้ยอาจจะเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 5.6 เป็นร้อยละ 6 หรือมากกว่า ด้วยเหตุนี้ผลตอบแทนของโครงการนี้ควรจะเป็นค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและอนาคต คือ ประมาณร้อยละ 5.8
1.4 โครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก อาจจะทำให้ปริมาณรถที่มาใช้โครงข่ายพิเศษเพิ่มขึ้น ในการพิจารณาผลตอบแทนทางการเงินควรนำรายได้ของโครงข่ายทางพิเศษที่จะเพิ่มขึ้นจากการมีโครงการนี้เข้าไปคิดรวมด้วย
1.5 ปัจจุบันรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้แก่ กทพ. เพื่อชำระค่าดอกเบี้ยของโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี ประมาณปีละ 1,700-2,000 ล้านบาท จนถึงปีงบประมาณ 2549 และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นไป รัฐบาลจะไม่จัดสรรงบประมาณเพื่อชำระค่าดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่ กทพ. ดังนั้นรัฐบาลจึงยังมีงบประมาณเพียงพอที่จะนำมาอุดหนุนค่าก่อสร้างของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกให้แก่ กทพ. ได้
1.6 เมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ และสถานะการเงินของ กทพ. ในช่วงปี 2547-2568 ปรากฎว่าถ้าผลตอบแทนของโครงการเท่ากับร้อยละ 5.8 รัฐบาลจะต้องให้เงินอุดหนุนค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน 3,429 ล้านบาท แต่ถ้ารวมรายได้ของโครงข่ายทางพิเศษที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากโครงการนี้ เงินอุดหนุนจะลดลงเหลือ 3,262 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 48.7 ของค่าก่อสร้าง และค่าควบคุมงาน สำหรับสถานะการเงินของ กทพ. ในช่วงปี 2547-2568 ถ้าไม่มีการลงทุนในโครงการใหม่ กทพ. จะประสบปัญหาเงินสดขาดมือ 7 ปี ในปี 2548-2552,2554 และ 2556 เป็นเงินทั้งสิ้น 27,416 ล้านบาท และ กทพ. จะแก้ปัญหาโดยการกู้เงินเพิ่มเติม 47,600 ล้านบาท แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีนโยบายให้ กทพ. ก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ถ้า กทพ. ได้รับเงินอุดหนุนค่า จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด และค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานร้อยละ 48.7 (ประมาณ 3,262 ล้านบาท) สถานะการเงินของ กทพ. จะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน เพราะเงินสดขาดมือ 7 ปี เช่นเดียวกัน รวมเป็นเงิน 27,408 ล้านบาท และกู้เพิ่มเติม 47,700 ล้านบาท
2. จากผลสรุปการพิจารณาตามข้อ 1 ทั้ง 4 หน่วยงาน จึงมีมติเห็นควรให้รัฐบาลสนับสนุนค่าก่อสร้างและค่าควบคุมของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ร้อยละ 48.7 ของวงเงินที่จ่ายจริง (ประมาณ 3,262 ล้านบาท) และให้ กทพ. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. เนื่องจากในการดำเนินโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก รัฐบาลให้เงินอุดหนุนแก่ กทพ. ในลักษณะการเพิ่มทุนของภาครัฐ ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดเท่าที่จ่ายจริง ซึ่งประมาณการเบื้องต้นเป็นเงิน 7,011 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานร้อยละ 48.7 ของวงเงินที่จ่ายจริง (ประมาณ 3,262 ล้านบาท) ดังนั้น ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานส่วนที่เหลือ กทพ. จะพิจารณากู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ
4. ในปีงบประมาณ 2548 กทพ. มีแผนการเบิกจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 1,599 ล้านบาท จึงได้มีหนังสือถึงสำนักงบประมาณ เพื่อขอความอนุเคราะห์จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เพื่อจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว แต่เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด สำนักงบประมาณจึงให้ กทพ. ประสานกับ กค. เพื่อพิจารณากู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินที่มีเงื่อนไขเหมาะสมไปดำเนินการก่อน และจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อชำระคืนเงินต้น ค่าใช้จ่ายทางการเงิน และดอกเบี้ยเงินกู้ตามความจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--
กระทรวงการคลังแจ้งว่า ได้รับรายงานจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ดังนี้
1. กค. สงป. สศช. และ กทพ. ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาจำนวนเงินที่รัฐบาลจะอุดหนุนค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก รวม 2 ครั้ง ซึ่งผลการพิจารณาได้ข้อสรุปดังนี้
1.1 เมื่อพิจารณาถึงฐานะการเงินและภาระหนี้สินของ กทพ. ในปัจจุบัน กทพ. ไม่ควรจะลงทุนโครงการใหม่ แต่เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขยายโครงข่ายทางพิเศษเพื่อรองรับปริมาณจราจรที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต กทพ. จึงต้องดำเนินโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก
1.2 ในการพิจารณากำหนดเงินอุดหนุนค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ควรคำนึงถึงความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถปรับค่าผ่านทางตามแผนงานที่กำหนดไว้ และการเพิ่มสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งในปัจจุบันพันธบัตร กทพ. อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 5.6
1.3 โครงการทางพิเศษจะช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคม จึงมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสู่ง แต่ผลตอบแทนทางการเงินต่ำเพราะมีค่าลงทุนสูง เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้และมิให้ กทพ. มีปัญหาทางการเงินเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลควรให้เงินอุดหนุนระดับหนึ่งที่ทำให้ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยตลาด ซึ่งที่ผ่านมา กทพ. ได้กำหนดให้อัตราผลตอบแทนทางการเงินเท่ากับร้อยละ 12 และลดลงเหลือร้อยละ 8 ตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยตลาด สำหรับโครงการทางพิเศษสายรามอินทราวงแหวนรอบนอก คาดว่าจะต้องกู้เงินเพื่อจ่ายค่างานก่อสร้างในช่วงปี 2549-2551 อัตราดอกเบี้ยอาจจะเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 5.6 เป็นร้อยละ 6 หรือมากกว่า ด้วยเหตุนี้ผลตอบแทนของโครงการนี้ควรจะเป็นค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและอนาคต คือ ประมาณร้อยละ 5.8
1.4 โครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก อาจจะทำให้ปริมาณรถที่มาใช้โครงข่ายพิเศษเพิ่มขึ้น ในการพิจารณาผลตอบแทนทางการเงินควรนำรายได้ของโครงข่ายทางพิเศษที่จะเพิ่มขึ้นจากการมีโครงการนี้เข้าไปคิดรวมด้วย
1.5 ปัจจุบันรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้แก่ กทพ. เพื่อชำระค่าดอกเบี้ยของโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี ประมาณปีละ 1,700-2,000 ล้านบาท จนถึงปีงบประมาณ 2549 และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นไป รัฐบาลจะไม่จัดสรรงบประมาณเพื่อชำระค่าดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่ กทพ. ดังนั้นรัฐบาลจึงยังมีงบประมาณเพียงพอที่จะนำมาอุดหนุนค่าก่อสร้างของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกให้แก่ กทพ. ได้
1.6 เมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ และสถานะการเงินของ กทพ. ในช่วงปี 2547-2568 ปรากฎว่าถ้าผลตอบแทนของโครงการเท่ากับร้อยละ 5.8 รัฐบาลจะต้องให้เงินอุดหนุนค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน 3,429 ล้านบาท แต่ถ้ารวมรายได้ของโครงข่ายทางพิเศษที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากโครงการนี้ เงินอุดหนุนจะลดลงเหลือ 3,262 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 48.7 ของค่าก่อสร้าง และค่าควบคุมงาน สำหรับสถานะการเงินของ กทพ. ในช่วงปี 2547-2568 ถ้าไม่มีการลงทุนในโครงการใหม่ กทพ. จะประสบปัญหาเงินสดขาดมือ 7 ปี ในปี 2548-2552,2554 และ 2556 เป็นเงินทั้งสิ้น 27,416 ล้านบาท และ กทพ. จะแก้ปัญหาโดยการกู้เงินเพิ่มเติม 47,600 ล้านบาท แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีนโยบายให้ กทพ. ก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ถ้า กทพ. ได้รับเงินอุดหนุนค่า จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด และค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานร้อยละ 48.7 (ประมาณ 3,262 ล้านบาท) สถานะการเงินของ กทพ. จะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน เพราะเงินสดขาดมือ 7 ปี เช่นเดียวกัน รวมเป็นเงิน 27,408 ล้านบาท และกู้เพิ่มเติม 47,700 ล้านบาท
2. จากผลสรุปการพิจารณาตามข้อ 1 ทั้ง 4 หน่วยงาน จึงมีมติเห็นควรให้รัฐบาลสนับสนุนค่าก่อสร้างและค่าควบคุมของโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ร้อยละ 48.7 ของวงเงินที่จ่ายจริง (ประมาณ 3,262 ล้านบาท) และให้ กทพ. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. เนื่องจากในการดำเนินโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก รัฐบาลให้เงินอุดหนุนแก่ กทพ. ในลักษณะการเพิ่มทุนของภาครัฐ ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดเท่าที่จ่ายจริง ซึ่งประมาณการเบื้องต้นเป็นเงิน 7,011 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานร้อยละ 48.7 ของวงเงินที่จ่ายจริง (ประมาณ 3,262 ล้านบาท) ดังนั้น ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานส่วนที่เหลือ กทพ. จะพิจารณากู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ
4. ในปีงบประมาณ 2548 กทพ. มีแผนการเบิกจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 1,599 ล้านบาท จึงได้มีหนังสือถึงสำนักงบประมาณ เพื่อขอความอนุเคราะห์จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เพื่อจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว แต่เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด สำนักงบประมาณจึงให้ กทพ. ประสานกับ กค. เพื่อพิจารณากู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินที่มีเงื่อนไขเหมาะสมไปดำเนินการก่อน และจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อชำระคืนเงินต้น ค่าใช้จ่ายทางการเงิน และดอกเบี้ยเงินกู้ตามความจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--