แท็ก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
งบประมาณแผ่นดิน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณแผ่นดินตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ได้เสนอรายงานต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 454 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนการบริการผู้โดยสารที่เดินทางผ่านเข้าออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระบบรางที่มีอยู่ให้ครอบคลุมทั่วถึงพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รฟท. ได้เร่งดำเนินการโครงการนี้ในการประกวดราคาหาผู้รับจ้างตามลำดับขั้นตอนและเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนพิจารณาข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา โดยคาดว่าจะได้ผู้ชนะการประกวดราคาสามารถเริ่มทำการก่อสร้างได้ในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2548
ดังนั้น รฟท. จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการจ้างที่ปรึกษาทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างของโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามสัญญาฯ และถูกต้องตามหลักวิชาชีพทางวิศวกรรมในระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการควบคุมงานสามารถเริ่มต้นได้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่ชนะการประกวดราคา โดยมิให้เป็นอุปสรรคต่องานก่อสร้างทำให้โครงการฯ ล่าช้าเสียหายได้ โดยขอให้รัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ของ รฟท.
1. รฟท. ได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทโชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นเงิน 15.948 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณปี 2547 เพื่อเป็นที่ปรึกษาประเมินและคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง
2. รฟท. ได้ประกาศเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547 เชิญชวนผู้สนใจก่อสร้างโครงการฯและเปิดขายเอกสารประกวดราคาระหว่างวันที่ 20 — 30 สิงหาคม 2547 ปรากฏว่ามีผู้ซื้อเอกสาร จำนวน 7 ราย โดยมีกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งได้มีผู้ยื่นข้อเสนอรวม 3 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--
ดังนั้น รฟท. จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการจ้างที่ปรึกษาทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างของโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามสัญญาฯ และถูกต้องตามหลักวิชาชีพทางวิศวกรรมในระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการควบคุมงานสามารถเริ่มต้นได้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่ชนะการประกวดราคา โดยมิให้เป็นอุปสรรคต่องานก่อสร้างทำให้โครงการฯ ล่าช้าเสียหายได้ โดยขอให้รัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ของ รฟท.
1. รฟท. ได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทโชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นเงิน 15.948 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณปี 2547 เพื่อเป็นที่ปรึกษาประเมินและคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง
2. รฟท. ได้ประกาศเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547 เชิญชวนผู้สนใจก่อสร้างโครงการฯและเปิดขายเอกสารประกวดราคาระหว่างวันที่ 20 — 30 สิงหาคม 2547 ปรากฏว่ามีผู้ซื้อเอกสาร จำนวน 7 ราย โดยมีกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งได้มีผู้ยื่นข้อเสนอรวม 3 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--