คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตตามที่กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยทำการปรับเปลี่ยนลดราคาค่าผ่านทางของทางยกระดับตลอดสายเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในอัตราค่าผ่านทาง 20 บาทต่อคัน สำหรับรถยนต์ที่มีล้อไม่เกิน 4 ล้อ และลดค่าผ่านทาง สำหรับรถยนต์ที่มีล้อเกินกว่า 4 ล้อลงเหลือไม่เกิน 50 บาทต่อคัน ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการดังนี้
1) แก้ไขกฎกระทรวง โดยยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 20 พ.ศ.2542 เพื่อยกเลิกการเก็บค่าผ่านทางในส่วนของกรมทางหลวง เมื่อผลการศึกษาได้ข้อยุติ กรมทางหลวงจะออกกฎกระทรวง กำหนดอัตราที่เหมาะสมตามผลการศึกษาต่อไป
2) เห็นชอบปรับเปลี่ยนค่าผ่านทางของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) สำหรับประเภทที่ 1 รถยนต์ที่มีล้อไม่เกิน 4 ล้อ เป็น 20 บาทต่อคัน ตลอดทั้งสาย และลดค่าผ่านทางสำหรับรถประเภทที่ 2 รถยนต์ที่มีล้อเกินกว่า 4 ล้อ ลงเหลือไม่เกิน 50 บาทต่อคัน ในช่วงเวลาทดลองดังกล่าวเป็นการชั่วคราว 3 เดือน
3) กรณีที่รายได้จากค่าผ่านทางของบริษัทฯ ตามข้อ 2) ลดลงต่ำกว่าวันละ 3.3 ล้านบาท รัฐจะต้องชดเชยในส่วนต่างให้กับบริษัทฯ ร้อยละ 80 ของส่วนต่าง โดยให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน จัดสรรเงินชดเชยให้ ส่วนกรณีรายได้สูงกว่าที่คาดหมายไว้ก็เห็นควรแบ่งรายได้กันคนละครึ่ง
กรมทางหลวงกระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ปัจจุบันสภาพการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครติดขัดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนถนนวิภาวดีรังสิต และถนนที่เชื่อมต่อกับถนนวิภาวดีมีปัญหาการจราจรติดขัดอย่างรุนแรง อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อการระบบคมนาคมขนส่งใน กทม.ทั้งระบบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รวมทั้งสูญเสียเงินตราในการสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น สภาพการจราจรที่ติดขัดบนถนนวิภาวดีรังสิตจะติดขัดในระดับพื้นราบมาก แต่ในส่วนที่เป็นทางยกระดับปริมาณการจราจรยังเบาบางสามารถรองรับปริมาณการจราจรเพิ่มได้อีก และถ้าสามารถจูงใจให้ผู้ใช้ทางในพื้นที่ราบขึ้นไปใช้บนทางยกระดับได้บางส่วนก็จะทำให้การจราจรในระดับพื้นราบเบาบางลง และมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ในการประชุมระหว่างกรมทางหลวงและบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 สรุปว่า ปัจจุบันการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตหนาแน่นในพื้นที่ราบประมาณ สองแสนห้าหมื่นคันต่อวัน ส่วนบนทางยกระดับมีปริมาณจราจรประมาณ หนึ่งแสนคันต่อวัน ยังสามารถรองรับได้อีก แปดหมื่นคันต่อวัน บริษัทมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 3.3 ล้านบาทเศษ ในอัตราที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบันสำหรับรถเก๋ง 4 ล้อ คือช่วงจากดินแดง — ดอนเมือง 30 บาทต่อคัน ส่วนที่เชื่อมต่อจากดอนเมือง — อนุสรณ์สถาน 13 บาทต่อคัน ในส่วนของกรมทางหลวงจัดเก็บช่วงอนุสรณ์สถาน — รังสิต 10 บาทต่อคัน รวมตลอดทั้งสาย 53 บาทต่อคัน ถ้าอัตราค่าผ่านทางลดลง ก็จะเป็นการจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ทางยกระดับมากขึ้น จากการศึกษาของกรมทางหลวง ถ้าค่าผ่านทางลดลงเหลือ 20 บาท จะเป็นการจูงใจประชาชนให้ใช้ทางยกระดับมากยิ่งขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าจะไม่อยู่ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนซึ่งการจราจรติดขัด แต่ถ้าหากปริมาณรถเพิ่มขึ้นน้อยกว่า เจ็ดหมื่นคันต่อวัน บริษัทฯ จะมีรายได้ลดลงจากเดิม รัฐก็ควรจะให้การสนับสนุนชดเชยในส่วนต่าง แต่หากรายได้รวมคงเดิมหรือมากกว่าเดิม ก็จะเป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของทุกฝ่าย
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัดในถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการจราจรในกรุงเทพมหานคร ให้คล่องตัวยิ่งขึ้นและเพื่อให้การเจรจาแก้ไขรายได้ของบริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) สามารถดำเนินธุรกิจต่อเนื่องในระยะยาวโดยมีผลกำไรเยี่ยงธุรกิจที่ดีทั่วไป ผลการประชุมร่วมกันระหว่างกรรมทางหลวงกับบริษัทฯ จึงกำหนดให้มีการทดลองศึกษาปรับเปลี่ยนราคาค่าผ่านทาง(Price Elasticity ของผู้บริโภค) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(1) บริษัทฯ จะปรับค่าผ่านทางสำหรับรถเก๋งเป็น 20 บาทตลอดสาย ส่วนรถที่มีขนาดเกิน 4 ล้อ จะลดราคาลงเหลือไม่เกิน 50 บาทต่อคัน โดยกรมทางหลวงจะยกเลิกด่านเก็บเงินค่าผ่านทางในส่วนที่ต่อขยายจากอนุสรณ์สถาน - รังสิต
(2) ระยะเวลาในการทดลองศึกษา 3 เดือน
(3) จากการลดค่าผ่านทางในข้อ 1 กรณีที่มีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นไม่มาก มีผลทำให้รายได้ต่ำกว่า 3.3 ล้านบาทต่อวัน รัฐควรชดเชยให้กับบริษัทในส่วนต่างในอัตราร้อยละ 80
(4) ภายหลังการทดลองศึกษา ภาครัฐและบริษัทฯ จะพิจารณาปรับค่าผ่านทางในราคาที่เหมาะสม และจะพิจารณาช่วยเหลือชดเชยในรูปแบบอื่น อาทิ เช่น
(4.1) การขยายระยะเวลาสัมปทานให้กับบริษัทฯ
(4.2) การสร้างทางขึ้น — ลง เพิ่มเติมให้กับโครงการ
(4.3) การช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้
(4.4) การสร้างโครงข่ายเพื่อเชื่อมกับโครงการคมนาคมอื่นๆ
(5) หลังจากได้มีการทดลองดังกล่าวข้างต้นแล้ว ทั้งภาครัฐและบริษัทจะได้ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหารายได้ให้บริษัทโดยเร็วต่อไป
(6) การทดลองศึกษาในครั้งนี้ไม่ถือเป็นการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน แต่เป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ทางและจะไม่เป็นการผูกมัดบริษัทฯ และ/หรือนำไปใช้ในการโต้แย้งการประเมินความเสียหายตามที่บริษัทฯ ได้เรียกร้องต่อกรมทางหลวงที่ผ่านมา รวมทั้งนำไปใช้ให้มีผลต่อการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และ/หรือ รอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาสัมปทาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--
1) แก้ไขกฎกระทรวง โดยยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 20 พ.ศ.2542 เพื่อยกเลิกการเก็บค่าผ่านทางในส่วนของกรมทางหลวง เมื่อผลการศึกษาได้ข้อยุติ กรมทางหลวงจะออกกฎกระทรวง กำหนดอัตราที่เหมาะสมตามผลการศึกษาต่อไป
2) เห็นชอบปรับเปลี่ยนค่าผ่านทางของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) สำหรับประเภทที่ 1 รถยนต์ที่มีล้อไม่เกิน 4 ล้อ เป็น 20 บาทต่อคัน ตลอดทั้งสาย และลดค่าผ่านทางสำหรับรถประเภทที่ 2 รถยนต์ที่มีล้อเกินกว่า 4 ล้อ ลงเหลือไม่เกิน 50 บาทต่อคัน ในช่วงเวลาทดลองดังกล่าวเป็นการชั่วคราว 3 เดือน
3) กรณีที่รายได้จากค่าผ่านทางของบริษัทฯ ตามข้อ 2) ลดลงต่ำกว่าวันละ 3.3 ล้านบาท รัฐจะต้องชดเชยในส่วนต่างให้กับบริษัทฯ ร้อยละ 80 ของส่วนต่าง โดยให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน จัดสรรเงินชดเชยให้ ส่วนกรณีรายได้สูงกว่าที่คาดหมายไว้ก็เห็นควรแบ่งรายได้กันคนละครึ่ง
กรมทางหลวงกระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ปัจจุบันสภาพการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครติดขัดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนถนนวิภาวดีรังสิต และถนนที่เชื่อมต่อกับถนนวิภาวดีมีปัญหาการจราจรติดขัดอย่างรุนแรง อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อการระบบคมนาคมขนส่งใน กทม.ทั้งระบบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รวมทั้งสูญเสียเงินตราในการสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น สภาพการจราจรที่ติดขัดบนถนนวิภาวดีรังสิตจะติดขัดในระดับพื้นราบมาก แต่ในส่วนที่เป็นทางยกระดับปริมาณการจราจรยังเบาบางสามารถรองรับปริมาณการจราจรเพิ่มได้อีก และถ้าสามารถจูงใจให้ผู้ใช้ทางในพื้นที่ราบขึ้นไปใช้บนทางยกระดับได้บางส่วนก็จะทำให้การจราจรในระดับพื้นราบเบาบางลง และมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ในการประชุมระหว่างกรมทางหลวงและบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 สรุปว่า ปัจจุบันการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตหนาแน่นในพื้นที่ราบประมาณ สองแสนห้าหมื่นคันต่อวัน ส่วนบนทางยกระดับมีปริมาณจราจรประมาณ หนึ่งแสนคันต่อวัน ยังสามารถรองรับได้อีก แปดหมื่นคันต่อวัน บริษัทมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 3.3 ล้านบาทเศษ ในอัตราที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบันสำหรับรถเก๋ง 4 ล้อ คือช่วงจากดินแดง — ดอนเมือง 30 บาทต่อคัน ส่วนที่เชื่อมต่อจากดอนเมือง — อนุสรณ์สถาน 13 บาทต่อคัน ในส่วนของกรมทางหลวงจัดเก็บช่วงอนุสรณ์สถาน — รังสิต 10 บาทต่อคัน รวมตลอดทั้งสาย 53 บาทต่อคัน ถ้าอัตราค่าผ่านทางลดลง ก็จะเป็นการจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ทางยกระดับมากขึ้น จากการศึกษาของกรมทางหลวง ถ้าค่าผ่านทางลดลงเหลือ 20 บาท จะเป็นการจูงใจประชาชนให้ใช้ทางยกระดับมากยิ่งขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าจะไม่อยู่ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนซึ่งการจราจรติดขัด แต่ถ้าหากปริมาณรถเพิ่มขึ้นน้อยกว่า เจ็ดหมื่นคันต่อวัน บริษัทฯ จะมีรายได้ลดลงจากเดิม รัฐก็ควรจะให้การสนับสนุนชดเชยในส่วนต่าง แต่หากรายได้รวมคงเดิมหรือมากกว่าเดิม ก็จะเป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของทุกฝ่าย
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัดในถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการจราจรในกรุงเทพมหานคร ให้คล่องตัวยิ่งขึ้นและเพื่อให้การเจรจาแก้ไขรายได้ของบริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) สามารถดำเนินธุรกิจต่อเนื่องในระยะยาวโดยมีผลกำไรเยี่ยงธุรกิจที่ดีทั่วไป ผลการประชุมร่วมกันระหว่างกรรมทางหลวงกับบริษัทฯ จึงกำหนดให้มีการทดลองศึกษาปรับเปลี่ยนราคาค่าผ่านทาง(Price Elasticity ของผู้บริโภค) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(1) บริษัทฯ จะปรับค่าผ่านทางสำหรับรถเก๋งเป็น 20 บาทตลอดสาย ส่วนรถที่มีขนาดเกิน 4 ล้อ จะลดราคาลงเหลือไม่เกิน 50 บาทต่อคัน โดยกรมทางหลวงจะยกเลิกด่านเก็บเงินค่าผ่านทางในส่วนที่ต่อขยายจากอนุสรณ์สถาน - รังสิต
(2) ระยะเวลาในการทดลองศึกษา 3 เดือน
(3) จากการลดค่าผ่านทางในข้อ 1 กรณีที่มีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นไม่มาก มีผลทำให้รายได้ต่ำกว่า 3.3 ล้านบาทต่อวัน รัฐควรชดเชยให้กับบริษัทในส่วนต่างในอัตราร้อยละ 80
(4) ภายหลังการทดลองศึกษา ภาครัฐและบริษัทฯ จะพิจารณาปรับค่าผ่านทางในราคาที่เหมาะสม และจะพิจารณาช่วยเหลือชดเชยในรูปแบบอื่น อาทิ เช่น
(4.1) การขยายระยะเวลาสัมปทานให้กับบริษัทฯ
(4.2) การสร้างทางขึ้น — ลง เพิ่มเติมให้กับโครงการ
(4.3) การช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้
(4.4) การสร้างโครงข่ายเพื่อเชื่อมกับโครงการคมนาคมอื่นๆ
(5) หลังจากได้มีการทดลองดังกล่าวข้างต้นแล้ว ทั้งภาครัฐและบริษัทจะได้ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหารายได้ให้บริษัทโดยเร็วต่อไป
(6) การทดลองศึกษาในครั้งนี้ไม่ถือเป็นการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน แต่เป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ทางและจะไม่เป็นการผูกมัดบริษัทฯ และ/หรือนำไปใช้ในการโต้แย้งการประเมินความเสียหายตามที่บริษัทฯ ได้เรียกร้องต่อกรมทางหลวงที่ผ่านมา รวมทั้งนำไปใช้ให้มีผลต่อการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และ/หรือ รอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาสัมปทาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--