คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากอายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงและให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ รับทรายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
1. สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดวันที่ (6 มกราคม 2548) โดยคิดเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2548
2. รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ แต่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (วันถวายสัตย์) ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะพ้นจากตำแหน่งอย่างแท้จริง ในวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ (วันถวายสัตย์ฯ)
3. แนวทางปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
3.1 คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยตามข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม 2533 ว่า "บทบัญญัติ มาตรา 154 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ตรงกับมาตรา 215 วรรคสองปัจจุบัน) มีผลทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งยังคงมีฐานะเดิมเพื่อรับผิดชอบในการบริหาราชการแผ่นดินอยู่ต่อไปอีกในช่วงเวลาที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ยังมิได้เข้ารับหน้าที่การลงชื่อตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดังกล่าวจึงต้องเป็นการลงชื่อในตำแหน่งเดิมมิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง
3.2 สำหรับข้าราชการการเมืองอื่น เช่น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แม้พระราชบัญญํติข้าราชการการเมือง พ.ษ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจะบัญญัติให้ออกจากตำแหน่งเมื่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งออกจากตำแหน่งแต่คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยเมื่อเดือนธันวาคม 2533 ว่า “คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ฉะนั้นแม้ว่าจะได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่แล้ว แต่ในขณะที่ยังมิได้มีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ ฐานะของนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีคณะเดิมจึงยังคงมีอยู่เดิม เช่นเดียวกับรัฐมนตรีอื่น ๆ ในคณะรัฐมนตรีคณะนั้น ข้าราชการการเมืองที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (พระราชบัญญัติข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน) จึงยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป และจะพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับการสิ้นสุดการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีผู้แต่งตั้ง ตามบทบัญญัติดังกล่าว” ดังนั้นข้าราชการการเมืองทั้งหลายที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งยังคงปฏิบัติหน้าที่และได้รับเงินตอบแทนต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ลงอย่างแท้จริง แต่ต้องไม่เกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
3.3 คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (23 พฤษภาคม 2538, 4 ตุลาคม 2539, 7 พฤศจิกายน 2543 และ 14 พฤศจิกายน 2543) กำหนดแนวทางปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่สรุปได้ดังนี้
(1) คณะรัฐมนตรีคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามปกติเว้นแต่เรื่องที่เห็นว่าเป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นใหม่และก่อให้เกิดผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ให้พึงละเว้นการดำเนินการส่วนนั้น
(2) การประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไปตามปกติ จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยจะพิจารณาจัดเฉพาะระเบียบวาระที่ด่วน หรือเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ หรือเมื่อรัฐมนตรีขอให้บรรจุวาระโดยไม่ใช่เรื่องผูกพันทางนโยบาย สำหรับเรื่องใดที่เห็นว่าเป็นนโยบายซึ่งจะมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เช่น การกำหนดนโยบายใหม่ การอนุมัติงบประมาณ การอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะกลั่นกรองไว้ชั้นหนึ่งแล้ว คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีควรมีมติหรือคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เว้นแต่เป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน หรือเรื่องต่อเนื่องจึงให้พิจารณาดำเนินการเป็นเรื่องๆ ไป
(3) การออกกฎหมายใหม่ ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ แต่จะเป็นการดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาของคระรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเท่านั้น หรือถ้ามีความจำเป็นที่อาจดำเนินการในรูปของพระราชกำหนดได้ แต่ต้องเป็นเรื่องฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเหลี่ยงได้และเข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นส่วนการตราพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ
(4) ในระหว่างนี้สมควรงดประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและสังคม (ปัจจุบัน คือ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี) เว้นแต่เป็นการประชุมเพื่อกลั่นกรองเรื่องที่ไม่ใช่นโยบายใหม่ให้มีความรอบคอบยิ่งขึ้น
(5) การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของรัฐมนตรี ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรณีการได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ในฐานะตำแหน่งรัฐมนตรี จะให้สัมภาษณ์ได้เฉพาะงานในตำแหน่งหน้าที่รัฐมนตรีเท่านั้น ไม่พึงให้ความเห็นในลักษณะที่เป็นคุณหรือโทษแก่พรรคการเมืองใด
4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 44 บัญญัติห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดจัดทำให้เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่บุคคลใด ชุมชน สมาคม สถาบันการศึกษาหรือสถาบันอื่นใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่นหรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ดังนั้น ในระหว่างที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ การอนุมัติงบประมาณลงพื้นที่ต่างๆ พึงละเว้นการดำเนินการในส่วนดังกล่าว เว้นแต่กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติหรือเรื่องอื่นที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วนก็ให้ดำเนินการได้โดยปฏิบัติตามมติคณะรัฐ-มนตรีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 โดยเคร่งครัด
5. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 กรกฎาคม 2547) ห้ามรัฐมนตรีและข้าราชการบริจาค มอบสิ่งของ หรือเงินช่วยเหลือใดๆ ในช่วงระยะเวลา 60 วัน ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินจำเป็นที่ ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งจะต้องให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน เช่น การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและภัยธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น หรือเป็นกรณีปฏิบัติราชการประจำตามระเบียบ กฎหมายที่กำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง ก็ให้เฉพาะข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
6. คณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยให้ความเห็นว่า กรณีรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง ให้ถือวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เป็นวันพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณและต้องยื่นภายใน 30 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--
1. สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดวันที่ (6 มกราคม 2548) โดยคิดเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2548
2. รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ แต่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (วันถวายสัตย์) ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะพ้นจากตำแหน่งอย่างแท้จริง ในวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ (วันถวายสัตย์ฯ)
3. แนวทางปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
3.1 คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยตามข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม 2533 ว่า "บทบัญญัติ มาตรา 154 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ตรงกับมาตรา 215 วรรคสองปัจจุบัน) มีผลทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งยังคงมีฐานะเดิมเพื่อรับผิดชอบในการบริหาราชการแผ่นดินอยู่ต่อไปอีกในช่วงเวลาที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ยังมิได้เข้ารับหน้าที่การลงชื่อตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดังกล่าวจึงต้องเป็นการลงชื่อในตำแหน่งเดิมมิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง
3.2 สำหรับข้าราชการการเมืองอื่น เช่น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แม้พระราชบัญญํติข้าราชการการเมือง พ.ษ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจะบัญญัติให้ออกจากตำแหน่งเมื่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งออกจากตำแหน่งแต่คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยเมื่อเดือนธันวาคม 2533 ว่า “คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ฉะนั้นแม้ว่าจะได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่แล้ว แต่ในขณะที่ยังมิได้มีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ ฐานะของนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีคณะเดิมจึงยังคงมีอยู่เดิม เช่นเดียวกับรัฐมนตรีอื่น ๆ ในคณะรัฐมนตรีคณะนั้น ข้าราชการการเมืองที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (พระราชบัญญัติข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน) จึงยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป และจะพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับการสิ้นสุดการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีผู้แต่งตั้ง ตามบทบัญญัติดังกล่าว” ดังนั้นข้าราชการการเมืองทั้งหลายที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งยังคงปฏิบัติหน้าที่และได้รับเงินตอบแทนต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ลงอย่างแท้จริง แต่ต้องไม่เกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
3.3 คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (23 พฤษภาคม 2538, 4 ตุลาคม 2539, 7 พฤศจิกายน 2543 และ 14 พฤศจิกายน 2543) กำหนดแนวทางปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่สรุปได้ดังนี้
(1) คณะรัฐมนตรีคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามปกติเว้นแต่เรื่องที่เห็นว่าเป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นใหม่และก่อให้เกิดผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ให้พึงละเว้นการดำเนินการส่วนนั้น
(2) การประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไปตามปกติ จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยจะพิจารณาจัดเฉพาะระเบียบวาระที่ด่วน หรือเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ หรือเมื่อรัฐมนตรีขอให้บรรจุวาระโดยไม่ใช่เรื่องผูกพันทางนโยบาย สำหรับเรื่องใดที่เห็นว่าเป็นนโยบายซึ่งจะมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เช่น การกำหนดนโยบายใหม่ การอนุมัติงบประมาณ การอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะกลั่นกรองไว้ชั้นหนึ่งแล้ว คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีควรมีมติหรือคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เว้นแต่เป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน หรือเรื่องต่อเนื่องจึงให้พิจารณาดำเนินการเป็นเรื่องๆ ไป
(3) การออกกฎหมายใหม่ ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ แต่จะเป็นการดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาของคระรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเท่านั้น หรือถ้ามีความจำเป็นที่อาจดำเนินการในรูปของพระราชกำหนดได้ แต่ต้องเป็นเรื่องฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเหลี่ยงได้และเข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นส่วนการตราพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ
(4) ในระหว่างนี้สมควรงดประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและสังคม (ปัจจุบัน คือ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี) เว้นแต่เป็นการประชุมเพื่อกลั่นกรองเรื่องที่ไม่ใช่นโยบายใหม่ให้มีความรอบคอบยิ่งขึ้น
(5) การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของรัฐมนตรี ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรณีการได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ในฐานะตำแหน่งรัฐมนตรี จะให้สัมภาษณ์ได้เฉพาะงานในตำแหน่งหน้าที่รัฐมนตรีเท่านั้น ไม่พึงให้ความเห็นในลักษณะที่เป็นคุณหรือโทษแก่พรรคการเมืองใด
4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 44 บัญญัติห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดจัดทำให้เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่บุคคลใด ชุมชน สมาคม สถาบันการศึกษาหรือสถาบันอื่นใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่นหรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ดังนั้น ในระหว่างที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ การอนุมัติงบประมาณลงพื้นที่ต่างๆ พึงละเว้นการดำเนินการในส่วนดังกล่าว เว้นแต่กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติหรือเรื่องอื่นที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วนก็ให้ดำเนินการได้โดยปฏิบัติตามมติคณะรัฐ-มนตรีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 โดยเคร่งครัด
5. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 กรกฎาคม 2547) ห้ามรัฐมนตรีและข้าราชการบริจาค มอบสิ่งของ หรือเงินช่วยเหลือใดๆ ในช่วงระยะเวลา 60 วัน ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินจำเป็นที่ ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งจะต้องให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน เช่น การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและภัยธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น หรือเป็นกรณีปฏิบัติราชการประจำตามระเบียบ กฎหมายที่กำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง ก็ให้เฉพาะข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
6. คณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยให้ความเห็นว่า กรณีรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง ให้ถือวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เป็นวันพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณและต้องยื่นภายใน 30 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 ธันวาคม 2547--จบ--